8 ธ.ค. 2022 เวลา 02:41 • หุ้น & เศรษฐกิจ
✅Morning Update 08.12.2022
Asia
1.ตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียโดยรวมปรับตัวในแดนลบ ความกังวลเศรษฐกิจโลกถดถอยที่มีโอกาสสูงขึ้น ได้บดบังปัจจัยบวกจากคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจีน (NHC) ประกาศผ่อนปรนการบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคโควิด-19 โดยรวมถึงการอนุญาตให้ผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงหรือไม่แสดงอาการของโรคกักตัวที่บ้านแทนการถูกส่งตัวไปยังสถานที่กักตัวที่ภาครัฐจัดเตรียมไว้ให้
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลง นำโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของญี่ปุ่นที่ร่วงตามทิศทางหุ้นกลุ่มเทคฯ ของสหรัฐเมื่อวานนี้ อย่างไรก็ดี นิกเกอิปิดลบเพียงเล็กน้อยเนื่องจากมีแรงซื้อหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคและกลุ่มอื่น ๆ ที่อ่อนไหวต่อดีมานด์ในประเทศโดย Topix ปิดที่ 1,948.31 จุด (-0.10%)
ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดลบเป็นวันที่ 4 ในวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนยังคงกังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจดำเนินมาตรการคุมเข้มทางการเงินต่อไป หลังข้อมูลเศรษฐกิจออกมาแข็งแกร่ง โดย Kospi ปิดที่ 2,382.81 จุด (-0.43%)
ตลาดหุ้นจีน และฮ่องกงปรับตัวลง เนื่องจากนักลงทุนกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย ซึ่งบดบังปัจจัยบวกจากรายงานที่ว่ารัฐบาลจีนประกาศผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคโควิด-19โดยดัชนีปิดตลาดดังนี้ CSI300 3,958.44 (-0.25%) / HSCEI 6,432.95 (-3.31%) / และ HSI 18,814.82 (-3.22%)
ตลาดหุ้นไทยปิดลบ เคลื่อนไหวออกข้างในทิศทางปรับลง โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลเศรษฐกิจโลกถดถอย ส่งผลให้มีแรงขายออกมาในกลุ่มพลังงานและอิเล็กทรอนิกส์ ดัชนีเคลื่อนเข้าใกล้กลุ่มเส้นค่าเฉลี่ยที่บริเวณ 1,615 จุด โดย SET index ปิดที่ 1,622.28 จุด (-0.65%)
ตลาดหุ้นเวียดนามปรับตัวลดลง โดยเป็นแรงขายทำกำไรที่ยังคงค้างอยู่ในตลาด ทั้งนี้แรงขายเริ่มชะลอตัวลง หุ้นปส่วนใหญ่ยังปรับตัวลดลง แต่ก็ยังมีหุ้นสำคัญอย่าง Vingroup ที่ปิดบวกเกือบ 7% VNI index ปิดที่ 1,041.02 จุด (-0.73%)
Europe
2. ตลาดหุ้นยุโรปปิดลดลงเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน โดยหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มธนาคารร่วงลง เนื่องจากนักลงทุนมีความวิตกมากขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย แต่การปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มเฮลท์แคร์ได้ช่วยพยุงตลาด โดย Stoxx 600 ปิดที่ 436.20 จุด (-0.62%)
3.ตัวเลข GDP ยุโรป ที่จัดทำโดย Eurostat ออกมาดีกว่าคาดการณ์ โดยเทียบปีต่อปี ยังโตได้ที่ 2.3% สูงกว่านักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 2.1% แต่ลดลงจากปีที่แล้วที่เคยโต 4.2% ส่วนเทียบไตรมาสต่อไตรมาส โตขึ้น 0.3% สูงกว่าที่คาดไว้ที่ 0.2%
US
4.ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลง ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน เนื่องจากนักลงทุนยังคงกังวลว่าการใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน โดยดัชนีปิดตลาดดังนี้ Dow Jones; 33,597.92 (+1.58) จุด (+0.00%) / S&P 500; 3,933.92 (-7.34) จุด (-0.19%) / และ Nasdaq 100; 11,497.39 (-52.29) จุด (-0.45%)
5. หุ้นที่ Outperform ตลาด 3 อันดับสูงสุด ได้แก่ หุ้นกลุ่ม Health Care (+0.85%) หุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค +0.38% และหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ +0.26%
หุ้นที่ Underperform ตลาด 3 อันดับสูงสุด ได้แก่ หุ้นกลุ่มสื่อสาร (-0.93%) กลุ่ม Information Technology (-0.51%) และกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย (-0.48%)
6. กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ประสิทธิภาพในการผลิตของแรงงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.8% ในไตรมาส 3 และสูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 0.3% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 0.6% นอกจากนี้ ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยเพิ่มขึ้น 2.4% ในไตรมาส 3 เมื่อเทียบรายไตรมาส แต่ต่ำกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 3.5% และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 3.1%
7. สมาคมนายธนาคารเพื่อการจำนอง (MBA) ของสหรัฐ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ยื่นขอสินเชื่อเพื่อการจำนองลดลง 1.9% ในสัปดาห์ที่แล้ว แม้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองปรับตัวลง จำนวนผู้ยื่นขอสินเชื่อเพื่อการซื้อที่อยู่อาศัยลดลง 3% ในสัปดาห์ที่แล้ว และดิ่งลง 40% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
8. CME Fedwatch ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้พิจารณาความเห็นของนักลงทุนต่อการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดบ่งชี้ว่า นักลงทุนส่วนใหญ่ (73.5%) ยังคงมองว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 0.50%
9.หุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ปรับตัวผสมผสาน / หุ้น Innovation ปรับตัวลง / หุ้น Semiconductor ปรับตัวลงเล็กน้อย / ETF ด้าน Technology & Innovation ปรับตัวลง / ADRs หรือหุ้นจีนและเอเชียที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลง
10. S&P500 VIX Index ปรับตัวเพิ่มขึ้นปิดที่ 22.68 จุด / Nasdaq 100 VIX ปรับตัวเพิ่มขึ้นปิดที่ 28.11 จุด
11. Bond Yield หรืออัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับตัวลดลง 9.20 bps ปิดที่ 3.421%
12. ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง โดยล่าสุดอยู่ที่ 105.150 จุด / ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยล่าสุดอยู่ที่ 34.92 บาทต่อดอลลาร์
13. ราคาทองคำปรับตัวเพิ่ม โดยล่าสุดอยู่ที่ 1,786.19 ดอลลาร์ต่อออนซ์ +15.12 $/oz. (+0.85%)
14. ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวลดลง โดยล่าสุดอยู่ที่ 77.44 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (-2.41%) ด้าน WTI ปิดที่ 72.40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (-2.49%)
15. ราคาบิทคอยน์ปรับตัวลดลง โดยราคาล่าสุดของบิทคอยน์อยู่ที่ 16,828.7 ดอลลาร์ต่อบิทคอยน์
ที่มาภาพ :
#LHBankAdvisory

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา