15 ธ.ค. 2022 เวลา 14:31 • หนังสือ
52​ เคล็ดวิชา​ เปลี่ยนคนธรรมดาให้เป็นอัจฉริยะ​ (Daniel Coyle)
EP1:52 เคล็ดวิชา เปลี่ยนคนธรรมดาให้เป็นอัจฉริยะ (Daniel Coyle)
เราเป็นสิ่งที่เราทำซ้ำๆ ดังนั้นความเป็นเลิศจึงไม่ใช่
การกระทำเพียงครั้งเดียว
แต่มันคือ นิสัยต่างหาก
อริสโตเติล
📚 ส่วนที่​ 1 : จับตาดู​ ขโมย​ และยอมโง่
📔 เคล็ดวิชาที่ 1 จับจ้องคนที่คุณอยากจะเป็น
➡️ การที่เราจ้องมองภาพในสิ่งที่เราอยากจะเป็นในทุกวัน​ จะทำให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างตัวเรากับคนที่เราอยากจะเป็น​ และสามารถกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจได้อย่างมากโดยที่เราไม่รู้ตัว
📙 เคล็ดวิชาที่ 2 ใช้เวลาวันละ 15 นาที​ เพื่อประทับทักษะลงในสมอง
➡️ การตั้งใจดูและฟังจนกระทั่งจินตนาการได้ว่า​ การทำสิ่งนั้นทำให้ความรู้สึกเช่นไร​ ซึ่งหมายถึง​ การตั้งใจเฝ้าดูทักษะที่ต้องการฝึกฝนซ้ำแล้วซ้ำเล่า​ จนภาพของมันประทับลงในความทรงจำอย่างชัดเจน
📗 เคล็ดวิชาที่ 3 อย่าอายที่จะขโมย
➡️ การตั้งใจดูในสิ่งที่เราอยากจะเป็น​ เวลาที่จะขโมย​ ให้พุ่งเป้าไปยังรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจง​ แล้วระบุออกมาให้ชัดเจน​ เช่น​ การเคลื่อนไหวที่สำคัญที่สุดในที่นี้คืออะไร​ แล้วจดลงในกระดาษทุกรายละเอียด
📘 เคล็ดวิชาที่ 4 จดบันทึก
➡️ เราควรจดบันทึกในสิ่งที่ฝึกฝนทุกวัน​ และนำมาทบทวน​ ซึ่งช่วยให้คุณมองเห็นภาพชัดขึ้น
📔 เคล็ดวิชาที่ 5 ยอมดูเหมือนเป็นคนโง่
➡️ การยอมดูเหมือนเป็นคนโง่นั้นไม่สนุกแต่มีความจำเป็น​ เพราะเมื่อเราดิ้นรน​ พยายาม​ ล้มเหลว​ และลุกขึ้นมาพยายามอีกครั้ง​ สมองเราจะสร้างความเชื่อมโยงขึ้นมา​ ความผิดพลาดไม่ใช่ความล้มเหลว​ แต่เป็นหนทางสู่ความเก่งกาจต่างหาก
📙 เคล็ดวิชาที่ 6 เรียบง่ายดีกว่าหรูหรา
➡️ ความหรูหราเป็นตัวบั่นทอนแรงจูงใจ​ ส่วนสถานที่เรียบง่ายจะช่วยให้เรามีสมาธิในการฝึกฝนอย่างเต็มที่​ อีกทั้งยังเป็นการขัดเกลาเซลล์ประสาทอีกด้วย
📗 เคล็ดวิชาที่ 7 ก่อนจะเริ่มฝึก​ หาคำตอบให้ได้เสียก่อนว่า​ ทักษะนั้น​ เป็นทักษะทางตรงหรือทางอ้อม
➡️ ทักษะทางตรง คือ การกระทำที่ถูกต้องและเสมอต้นเสมอปลาย ทำซ้ำได้ มีผลลัพธ์เพียงอย่างเดียวเช่น ท่องสูตรคูณ
➡️ ทักษะทางอ้อม คือ มีหลายวิธีการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ ความคล่องแคล่วและการตอบสนองสถานการณ์ เช่น นักฟุตบอล
📘 เคล็ดวิชาที่ 8 หากต้องการพัฒนาทักษะทางตรง​ จงสวมวิญญาณช่างไม้ฝีมือประณีต
➡️​ คือ การฝึกฝนอย่างช้าๆ ใส่ใจกับความผิดพลาด และต้องทำซ้ำๆ จนกว่าจะชำนาญ พยายามฝึกฝนทีละอย่างจนชำนาญ ก่อนที่จะข้ามไปฝึกอย่างอื่น
📔 เคล็ดวิชาที่ 9 หากต้องการพัฒนาทักษะทางอ้อม​ จงสวมวิญญาณนักสเก็ตบอร์ด
➡️ ทักษะทางอ้อมจะก่อตัวขึ้นจากการสำรวจสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา​ ซึ่งจะช่วยให้คุณประเมินสถานการณ์มองเห็นแบบแผน​ และตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว​ ในการฝึกฝนจงจดจ่อกับการทำซ้ำในหลากหลายรูปแบบ
📗 เคล็ดวิชาที่ 10 ยกย่องทักษะทางตรง
➡️​ จงให้ความสำคัญกับทักษะทางตรงมากกว่าทางอ้อม​ เพราะมันส่งผลต่อความเก่งกาจในระยะยาวมากกว่า​ และทักษะทางตรง​ คือ​ รากฐานของทุกสิ่งทุกอย่าง
📙 เคล็ดวิชาที่ 11 อย่าเชื่อเรื่องเก่งแต่เกิด
➡️​ มีผลการวิจัยว่า​ การฉายแววตั้งแต่อายุยังน้อยไม่ได้บ่งชี้ถึงความสำเร็จ​ แต่ความสำเร็จเกิดจากการฝึกฝนและการฟูมฟักมันขึ้นมาทุกวันต่างหาก
📘 เคล็ดวิชาที่ 12 กฎ 5 ข้อในการเลือกผู้ฝึกสอนหรือครูที่จะช่วยคุณได้มากที่สุด
➡️​1.อย่าเลือกคนที่ชวนให้นึกถึง
บริกรผู้นอบน้อม
➡️​2.เลือกคนที่ทำให้คุณรู้สึกหวั่นเกรงนิดๆ
➡️​3.เลือกคนที่ให้คำแนะนำสั้นๆ​ แต่ชัดเจน
➡️​4.มองหาคนที่ชอบปูพื้นฐาน
➡️​5.ถ้ามีคุณสมบัติเท่าเทียมกันทุกด้าน​ ให้เลือกคนที่มีอายุมากที่สุด
📚 ส่วนที่ 2 พัฒนาทักษะ​ : ค้นหาจุดกลมกล่อม แล้วดิ้นรนพยายาม
📔 เคล็ดวิชาที่ 13 ค้นหาจุดกลมกล่อม
➡️​ จุดกลมกล่อม​ คือ​ บริเวณตรงจุดสุดขอบความสามารถของคุณ​ คุณรู้สึกต่อสู้อย่างเต็มที่​ เอื้อมจนสุดตัวเพื่อที่จะไขว่คว้าอะไรบางอย่าง​ จนถึงสัมผัสได้แค่ปลายนิ้ว​ จากนั้นก็พยายามไขว่คว้าซ้ำอีกครั้ง​ และนี่คือ​ จุดกลมกล่อม
📗 เคล็ดวิชาที่ 14 ลืมเรื่องเวลาไปซะ
➡️​ การฝึกไม่ได้วัดการที่ระยะเวลาในการฝึก​ แต่เป็นจำนวนครั้งที่คุณได้ดิ้นรนและทำซ้ำอย่างถูกต้อง​ คือ​ ต้องวัดกันว่าคุณสร้างความเชื่อมโยงใหม่ๆ​ ขึ้นมาในสมอง​ ได้มากแค่ไหน
2
📙 เคล็ดวิชาที่ 15 แบ่งทักษะออกเป็นส่วนย่อยๆ
➡️​ เราควรแบ่งทักษะออกเป็นส่วนย่อยๆ​ โดยแต่ละส่วนก็จะมีความเชื่อมโยงกัน​ ฝึกฝนจนชำนาญ​ แล้วนำมาประกอบเข้าด้วยกัน​ และฝึกฝนซ้ำแล้วซ้ำเล่า
📘 เคล็ดวิชาที่ 16 พยายามขัดเกลาทักษะให้สมบูรณ์แบบวันละ 1 ส่วนย่อย
➡️​ ให้เลือกส่วนย่อยที่เล็กที่สุดของทักษะออกมา​ แล้วทำให้สมบูรณ์แบบ 100% ทุกครั้ง​ เพราะการพัฒนาขึ้นวันละนิด​ จะพัฒนาความเก่งกาจที่ยั่งยืนขึ้นมาได้
📔 เคล็ดวิชาที่ 17 จงตะเกียกตะกาย
➡️​ การตะเกียกตะกายและความรู้สึกคับข้องใจ​ เมื่อคุณถึงจุดสุดขอบความสามารถ​ เป็นสัญญาณเกิดความเชื่อมโยงใหม่ๆ​ ในสมอง​ ยิ่งเจ็บปวดก็ยิ่งแข็งแกร่ง
📗 เคล็ดวิชาที่ 18 ซ้อมวันละ 5 นาที​ ดีกว่า​ ซ้อมสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง
➡️​ การซ้อมทุกวันจะกลายเป็นนิสัญ​ และเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดด้วย
📙 เคล็ดวิชาที่ 19 อย่าคิดว่ามันเป็น​ "การฝึกซ้อม" ให้คิดเสียว่ามันเป็นเกม
➡️​ การฝึกซ้อมทำให้รู้สึกจำเจและน่าเบื่อหน่าย​ แต่ถ้าเราเปลี่ยนการฝึกซ้อมให้เป็นเกม​ ก็จะเป็นอะไรที่สนุกต่อเนื่อง​ และน่าตื่นเต้น​ เราจึงพัฒนาทักษะได้ไวถ้าหากมองว่าเป็นเกม
📘 เคล็ดวิชาที่ 20 ฝึกซ้อมตามลำพัง
➡️​ การฝึกซ้อมตามลำพัง​ทำให้เราค้นพบจุดกลมกล่อมของตัวเราเอง​ และสร้างวินัยในตัวคุณเองด้วย
📔 เคล็ดวิชาที่ 21 คิดเป็นภาพ
➡️​ การคิดเป็นภาพง่ายต่อการทำความเข้าใจ​ จดจำ​ และทำตาม​ เพราะสมองมีวิวัฒนาการให้จดจำภาพได้ชัดเจนกว่าแนวคิดที่จับต้องได้ยาก
📗 เคล็ด​วิชาที่ 22 เมื่อเกิดข้อผิดพลาด​ ให้แก้ไขทันที
➡️​ ให้เราเลือกใส่ใจกับความผิดพลาด​ เพราะถ้าเราจัดการกับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นทันทีจนเป็นนิสัย​ เราจะเรียนรู้ได้มากกว่า​ จงใส่ใจกับความผิดพลาดแต่อย่าฝังใจ
📙 เคล็ดวิชาที่ 23 นึกภาพว่าสายส่งข้อมูลในสมองของคุณกำลังสร้างความเชื่อมโยงใหม่ๆ
➡️​ ยิ่งคุณใส่ใจกับความผิดพลาดและหาทางแก้ไขมากเท่าไหร่​ สมองของคุณก็จะสร้างความเชื่อมโยงที่ถูกต้องได้มากขึ้นเท่านั้น
📘 เคล็ดวิชาที่ 24 นึกภาพว่าสายส่งข้อมูลในสมองทำงานเร็วขึ้น
➡️​ ทุกครั้งที่คุณฝึกฝนอย่างล้ำลึก​ สายส่งข้อมูลในสมองจะทำงานเร็วขึ้น​ ดังนั้น​ การนึกภาพว่าสายส่งข้อมูลในสมองทำงานเร็วขึ้น​ จะช่วยให้มีแรงจูงใจและความก้าวหน้ามากขึ้น
📔 เคล็ดวิชาที่ 25 ฝึกในที่แคบๆ
➡️​ พื้นที่แคบๆ​ ช่วยให้เป้าหมายชัดเจนกว่าเดิม​ และเปิดโอกาสให้คุณฝึกซ้อมได้เข้มข้น​ และบ่อยครั้งขึ้นด้วย
📗 เคล็ดวิชาที่ 26 ฝึกซ้อมแบบเต่าคลาน
➡️​ จงฝึกซ้อมอย่างช้าๆ​ จะทำให้เรามองเห็นข้อผิดพลาดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น​ สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าคุณทำได้เร็วแค่ไหน​ แต่อยู่ที่ว่าคุณทำอย่างถูกต้องได้ช้าแค่ไหนต่างหาก
📙 เคล็ดวิชาที่ 27 หลับตา
➡️​ เพื่อพัฒนาประสาทสัมผัสและความถูกต้องแม่นยำ​ การหลับตาจะดันคุณเข้าสู่จุดกลมกล่อม​ และเปิดโอกาสให้ประสาทสัมผัสส่วนอื่นๆ​ ได้รับข้อมูลใหม่
📘 เคล็ดวิชาที่ 28 ทำท่าเหมือนแสดงละครใบ้
➡️​ คือ​ การฝึกฝนอย่างล้ำลึก​ การตัดทุกอย่างทิ้งไปจนเหลือแต่สิ่งที่จำเป็นจริงๆ​ และเราจะได้จดจ่ออยู่กับสิ่งที่มีความสำคัญที่สุด
📔 เคล็ดวิชาที่ 29 ทุกครั้งที่ทำได้ถูกต้องให้ทำเครื่องหมายเอาไว้
➡️​ การทำเครื่องหมายทุกครั้งเพื่อ​ ให้จดจำความรู้สึก​ จังหวะ​ สัมผัสทางกายและใจเอาไว้ทุกครั้ง​ และนี่คือ​ จุดเริ่มต้นในการขัดเกลาทักษะ​ จนกว่าจะทำแบบนั้นได้โดยอัตโนมัติ
📗 เคล็ดวิชาที่ 30 หลับสักงีบ
➡️​ การงีบหลับจะช่วยให้สมองเรียนรู้ได้ดีขึ้น​ การ​งีบหลับจำเป็นต่อการเรียนรู้​ เพราะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับความเชื่อมโยงที่สร้างขึ้นมาระหว่างการฝึกซ้อม​ และช่วยเตรียมสมองให้พร้อมรับการฝึกครั้งต่อไป
📙 เคล็ดวิชาที่ 31 ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ​ ให้ทำแบบสุดโต่ง
➡️​ เพราะการทำอะไรแบบสุดโต่ง​ จะช่วยให้เราเข้าใจว่า​ ขอบเขตที่เหมาะสมอยู่ตรงไหน​ จากนั้นจึงค่อยสร้างทักษะขึ้นมาด้วยความแม่นยำ
📘 เคล็ดวิชาที่ 32 จดจ่อกับเป้าหมาย
➡️​ คุณควรจดจ่อกับเป้าหมายไม่ใช่ความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น​ เพราะการจดจ่อกับเป้าหมาย​ ได้ผลดีกว่าการจดจ่อกับสิ่งที่คุณต้องการหลีกเลี่ยง
📔 เคล็ดวิชาที่ 33 ถ้าอยากเรียนรู้จากหนังสือให้ปิดหนังสือ
➡️​ การปิดหนังสือแล้วสรุปเนื้อหาออกมา​ จะบีบให้คุณขับประเด็นที่สำคัญ​ การประมวลผลและการจัดระเบียบประเด็นดังกล่าว​ ให้อยู่ในรูปแบบที่สมเหตุสมผล
📗 เคล็ดวิชาที่ 34 ใช้เทคนิคประกบคู่
➡️​ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน​ คือ​ ทำสิ่งที่ถูกต้อง​ ทำ​ผิดพลาด​ และทำสิ่งที่ถูกต้องอีกครั้ง​ เป้าหมายคือ​ เพื่อเน้นย้ำในสิ่งที่ถูกต้อง​ และมองเห็นข้อผิดพลาดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
1
📙 เคล็ดวิชาที่ 35 ใช้เทคนิคฝึก 3 พัก 10
➡️​ คือ​ การซ้อม 1 รอบ​ แล้วพัก 10 นาที​ ทำแบบนี้จนครบ 3 รอบ​ สมองจะทำให้เกิดความทรงจำ​ และการเรียนรู้ได้ดีขึ้น
📘 เคล็ดวิชาที่ 36 คิดค้นแบบฝึกหัดประจำวัน
➡️​ คือ​ การคิดค้นแบบฝึกหัดในแต่ละวันด้วยตัวคุณเอง​ หรือผู้ฝึกสอนก็ตาม​ เพื่อคิดค้นแบบฝึกหัดที่เหมาะสม​ เพื่อ​ช่วยผู้เรียนให้เกิดความกระตือรือร้น​ เพิ่มแรงจูงใจต่างๆ​ ในการเรียนรู้
📔 เคล็ดวิชาที่ 37 ใช้เกณฑ์ R. E. P. S เพื่อเลือกกลยุทธ์ในการฝึกฝน
➡️​ R = การดิ้นรนพยายามและทำซ้ำ
➡️​ E = การดึงความสนใจ
➡️​ P = ความสอดคล้อง
➡️​ S = ข้อมูลป้อนกลับที่รวดเร็วและชัดเจน
➡️​ สิ่งสำคัญในบทนี้ คือ คุณต้องให้ความสำคัญกับการออกแบบในการเรียนรู้
📗 เคล็ดวิชาที่ 38 หยุดฝึกซ้อมก่อนที่จะหมดแรง
➡️​ เรื่องของการเรียนรู้ควรฝึกฝนในช่วงเช้า​ เพราะผู้เรียนจะกระปรี้กระเปร่า​ แต่เมื่อเรียนจนเหนื่อยล้ามากพอแล้วก็​ ควรหยุดฝึกซ้อม
📙 เคล็ดวิชาที่ 39 ฝึกซ้อมทันทีหลังจากพึ่งแข่งขันเสร็จ
➡️​ ถ้าเราแข่งขันเสร็จแล้วยังพอมีแรงเหลืออยู่แล้ว​ เรากลับไปซ้อมทันที​ เราจะสามารถหาทางแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นได้ทันที​ เพราะมันจะช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดได้ตรงจุด
📘 เคล็ดวิชาที่ 40 ก่อนเข้านอนให้ฉายภาพยนตร์ในหัวคุณสักรอบ
➡️ โดยนึกว่าตัวเองใช้ทักษะอย่างสมบูรณ์แบบก่อนนอน​ นี่เป็นการเร่งเครื่องจิตใต้สำนึกของคุณ​ เพื่อจดจ่อกับการพุ่งไปสู่เป้าหมาย
📔 เคล็ดวิชาที่ 41 ปิดท้ายการฝึกซ้อมด้วยของที่คุณโปรดปราน
➡️​ คือ​ การให้รางวัลเล็กๆ​ น้อยๆ​ กับตัวเอง
📗 เคล็ดวิชาที่ 42 6หนทางสู่การเป็นครูหรือผู้ฝึกสอนที่ดี
➡️​1.สร้างความเชื่อใจในไม่กี่วินาทีแรกที่พบกับผู้เรียน
➡️​2.อย่าพูดอะไรยืดยาว​ จงให้ข้อมูลที่กระชับและชัดเจน
➡️​3.อย่าใช้คำพูดที่คลุมเครือ
➡️​4.กำหนดตัวชี้วัดการเรียนรู้
➡️​5.สร้างสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดการดิ้นรนพยายาม
➡️​6.ตั้งเป้าว่าจะทำให้ผู้เรียนยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง
📚 ส่วนที่ 3 : รักษาความก้าวหน้า​ : เปิดใจรับการทำซ้ำ​ บ่มเพาะความทรหด​ และเก็บเป้าหมายของคุณเป็นความลับ
📙 เคล็ดวิชาที่ 43 เปิดใจรับการทำซ้ำ
➡️​ การทำซ้ำเป็นเครื่องมือพัฒนาทักษะ​ เพราะกระตุ้นกลไกตามธรรมชาติที่ทำให้สายส่งข้อมูลในสมองทำงานได้รวดเร็ว​ และถูกต้องแม่นยำมากขึ้น
📘 เคล็ดวิชาที่ 44 มองว่าตัวเองเป็นคนใช้แรงงาน
➡️​ คนที่เก่งพวกเขาจะทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับการฝึกฝนทักษะอย่างจริงจัง​ อีกทั้งไม่เคยอวดเก่ง​ พวกเขาต้องตื่นไปทำงานทุกเช้าไม่​ ​ ว่าจะรู้สึกอยากหรือไม่ก็ตาม
📔 เคล็ดวิชาที่ 45 ใช้อัตราส่วน 5 : 1
➡️​ คือ การฝึกฝน 5 ชั่วโมง ต่อการแข่งขันหรือการขึ้นแสดงจริง 1 ชั่วโมง เพื่อลดความกดดัน และความประมาทของผู้เรียน
📗 เคล็ดวิชาที่ 46 อย่ามัวเสียเวลาแก้ไขนิสัยแย่ๆ​ แต่ให้สร้างนิสัยดีๆ​ ขึ้นมาแทน
➡️​ เลิกสนใจนิสัยแย่ๆ​ แล้วหันมาทุ่มเทพลังเพื่อสร้างนิสัยดีๆ​ ขึ้นมาแทนที่​ อาจจะใช้เวลานานหน่อย​ แต่ก็จะสร้างนิสัยใหม่ขึ้นมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
📙 เคล็ดวิชาที่ 47 ถ้าต้องการเรียนรู้ให้ลึกซึ้ง​ จงฝึกฝนด้วยการสอนผู้อื่น
➡️​ระหว่างที่คุณถ่ายทอดทักษะให้กับใครบางคน​ ตัวคุณเองจะเข้าใจมันอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นด้วย
📘 เคล็ดวิชาที่ 48 ทักษะใหม่ๆ​ ต้องการเวลาอย่างน้อย 8 สัปดาห์
➡️​ แผนการฝึกอบรมระดับโลกล้วนใช้เวลาประมาณ 8 สัปดาห์​ ในการบ่มเพาะทักษะใหม่ๆ​ เพื่อประทับลงในตัวผู้เรียนซึ่ง​ ความยืดหยุ่นและความอดทนเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย
📔 เคล็ดวิชาที่ 49 เมื่อคุณติดหล่ม​ จงเปลี่ยนเกียร์
➡️​ ถ้าเราฝึกฝนจนแตะระดับที่ใช้ทักษะได้โดยอัตโนมัติ​ จะทำให้เกิดภาวะย่ำอยู่กับที่​ ดังนั้น​ เราจึงเปลี่ยนวิธีฝึกฝน​ เช่น​ อาจจะทำเร็วกว่าหรือช้ากว่าปกติ​ เพื่อเอาชนะกลไกอัตโนมัติในสมอง​ และเข้าสู่จุดกลมกล่อม
📗 เคล็ดวิชาที่ 50 บ่มเพาะความทรหด
➡️​ ความทรหด​ คือ​ ทักษะที่จะสร้างความแตกต่างในระยะยาวได้อย่างแท้จริง
📙 เคล็ดวิชาที่ 51 เก็บเป้าหมายของคุณเป็นความลับ
➡️​ เพราะการบอกให้คนอื่นรู้ถึงเป้าหมาย​ จะทำให้คุณมีโอกาสประสบความสำเร็จน้อยลง​ เพราะมันเหมือนคุณกระซิบบอกสมองโดยไม่รู้ตัวว่า​ คุณบรรลุเป้าหมายเรียบร้อยแล้ว
📘 เคล็ดวิชาที่ 52 "คิดแบบคนสวน ทำแบบช่างไม้"
➡️​ คือ ให้คิดอย่างใจเย็นและไม่ด่วนตัดสินใจ ในขณะเดียวกัน ก็ให้ทำอย่างต่อเนื่องและมีกลยุทธ์ ให้ระลึกไว้เสมอว่า ชิ้นส่วนต่างๆ จะประกอบกันเป็นภาพรวมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
-หนังสือ​เรื่อง : 52​ เคล็ดวิชาเปลี่ยนคนธรรมดาให้เป็นอัจฉริยะ
-ผู้เขียน​ : Daniel Coyle
-ผู้แปล​ : พรเลิศ​ อิฐฐ์
-จัดพิมพ์​โดย​ : สำนักพิมพ์​วีเลิร์น
-ราคา​ 150 บาท
-สรุปโดย​ : Inspiration​ Channel
-สามารถฟังเสียงได้ที่
🙏ขอบคุณมากครับ
โฆษณา