21 ธ.ค. 2022 เวลา 11:00 • อสังหาริมทรัพย์
ตลาดที่อยู่อาศัย หลังสิ้นสุดการผ่อนปรน LTV
ปี 2565 เครื่องชี้กิจกรรมตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยให้ภาพฟื้นตัวดีขึ้นแต่ยังไม่ทั่วถึง ซึ่งจากความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังโควิดคลี่คลายและการฟื้นตัวด้านการท่องเที่ยว
ทำให้ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยกลับมาเร่งลงทุนโครงการใหม่มากขึ้น แต่ในส่วนของกิจกรรมซื้อขายที่อยู่อาศัยใหม่ยังฟื้นตัวไม่ทั่วถึง เนื่องจากกำลังซื้อยังเปราะบาง
แม้ว่าในช่วง 2 เดือนสุดท้ายปี 2565 อาจจะเห็นการเร่งตัวของยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยมากขึ้นก่อนที่มาตรการผ่อนปรน LTV จะสิ้นสุดลงในปีนี้ แต่ก็ยังคงต้องขึ้นอยู่กับความสามารถและคุณสมบัติของผู้ซื้อด้วย
สำหรับตลาดที่อยู่อาศัยปี 2566 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เพิ่มมุมมองเชิงระวังมากขึ้น จากปัจจัยหนุนที่เริ่มเบาบาง โดยตลาดต้องติดตามว่าทางการจะต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมในการซื้อที่อยู่อาศัยหรือไม่
ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง กำลังซื้อยังเปราะบาง อัตราดอกเบี้ยอยู่ในทิศทางขาขึ้น ต้นทุนธุรกิจปรับขึ้น การแข่งขันในธุรกิจสูงและจำนวนที่อยู่อาศัยรอขายสะสมสูง ซึ่งล้วนกดดันการซื้อและการลงทุนที่อยู่อาศัยในระยะข้างหน้า
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาด ปี 2566 ยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (รวมนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา) จะอยู่ที่ราว 1.75-1.82 แสนหน่วย หรือหดตัว 2.8% ถึงขยายตัว 1.1% เทียบกับที่คาดว่าจะขยายตัว 7.5% ในปี 2565
ขณะที่การเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล อาจจะลดลงเป็น 8.9-9.6 หมื่นหน่วย หรือหดตัว 6.3% ถึง ขยายตัว 1.1% เทียบกับที่เติบโตราว 57.1% ในปี 2565
#KResearch #KBankLive
อ่านต่อได้ที่: http://bit.ly/3EOdfOQ
ขอบคุณภาพจาก Shutterstock.com
โฆษณา