21 ธ.ค. 2022 เวลา 08:16 • สุขภาพ
มือ-เท้าเย็นไม่ใช่แค่อุณหภูมิร่างกายที่เปลี่ยนไปเท่านั้น แต่เกิดจากการไหลเวียนเลือดบริเวณมือและเท้าลดลง ซึ่งตามปกติการไหลเวียนโลหิตบริเวณนี้จะน้อยกว่าส่วนอื่น ทั้งนี้หากมีอาการมือ-เท้าเย็นต่อเนื่อง จะก่อให้เกิดอาการชาจากเนื้อเยื่อขาดเลือดได้
อาการมือ-เท้าเย็นในทางแพทย์แผนปัจจุบันมองว่ามีสาเหตุเกิดจาก การอยู่ในที่อุณหภูมิเย็นตลอดเวลา ปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ เครียด กังวล แม้กระทั่งการสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่เรื้อรัง ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการมือเท้าเย็นได้ หรืออาจมีสาเหตุมาจากโรคอื่นได้อีกด้วย เช่น โลหิตจาง โรคเบาหวาน โรคของหลอดเลือด ไทรอยด์ โรคของระบบประสาท และโรคหัวใจ เป็นต้น
มือ-เท้า เย็น กับแพทย์แผนจีน
สำหรับอาการมือ-เท้าเย็น ในมุมมองของแพทย์แผนจีน มองว่าเกิดจาก 2 สาเหตุหลักๆ คือ ภาวะหยางพร่อง (阳气不足) และ ภาวะลมปราณตับติดขัด (肝气郁结)
1. ภาวะหยางพร่อง (阳气不足) ส่วนใหญ่มักมีอาการ กลัวหนาว มือ-เท้าเย็น รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลียไม่มีแรง หน้าขาวซีด ปากซีด ไม่กระหายน้ำ หรือ กระหายน้ำแต่ชอบดื่มน้ำอุ่น เหงื่อออกง่ายเวลากลางวัน ปัสสาวะใส อุจจาระเหลวไม่เป็นก้อน
ภาวะหยางพร่องนี้มักพบได้ใน ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ ผู้ที่อยู่ในห้องแอร์นานๆ และผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มีฤทธิ์เย็นมากเกินไป (อาหารที่มีฤทธิ์เย็น เช่น น้ำแข็ง น้ำเย็น ผักสด ปลาดิบ ไอศกรีม)
4
วิธีการดูแลตนเองสำหรับผู้ที่มีภาวะหยางพร่อง
1
1) เข้านอนก่อน 23.00 น. และตอนเช้าให้ตื่นนอนไม่เกิน 09.00 น. (ช่วงเวลาในการบำรุงหยางตอนกลางคืน คือ เวลาตั้งแต่ 21.00 – 03.00 น.)
2) ช่วงกลางวันแนะนำให้นอนพัก หรือ นั่งขัดสมาธิ ประมาณ 10 – 15 นาที
3) ออกกำลังกายตอนเช้า เพื่อเสริมสร้างพลังหยาง
4) ดื่มน้ำอุ่น หรือ น้ำอุณหภูมิห้อง
5) รับประทานอาหารที่มีฤทธิ์อุ่น เช่น ขิง ต้นหอม กุยช่าย กระเทียม กระเจี๊ยบ ฟักทอง พริกไทย เกาลัด เป็นต้น
2. ภาวะลมปราณตับติดขัด (肝气郁结) มักมีอาการ ฝ่ามือ-เท้าเย็น ขี้ร้อน ขี้หงุดหงิด โมโหง่าย อุจจาระเหลวไม่เป็นก้อน บางรายอาจมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย เช่น เจ็บชายโครง ปวดศีรษะไมเกรน มีความรู้สึกเหมือนมีก้อนอะไรติดอยู่ในคอ ในผู้หญิงมักมีอาการคัดตึงเต้านม ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดท้องน้อยช่วงมีประจำเดือน ภาวะลมปราณตับติดขัด มักพบได้ในผู้ที่มีอาการขี้หงุดหงิด โมโหง่าย และผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
3
วิธีการดูแลตนเองสำหรับผู้ที่มีภาวะลมปราณตับติดขัด
1) เข้านอนก่อน 23.00 น. และกลางคืนควรนอนหลับให้ได้วันละ 7 - 8 ชั่วโมง
2) หลังตื่นนอนตอนเช้าให้รีบไปปัสสาวะ เนื่องจากจะเป็นการช่วยขับสารพิษที่สะสมในร่างกายตอนกลางคืนออกมา เพื่อไม่ทำให้เกิดการเก็บสารพิษในร่างกายและทำให้เกิดพิษต่อตับ
3) รับประทานอาหารที่มีฤทธิ์ในการช่วยกระจายลมปราณตับ เช่น สะระแหน่ ขึ้นฉ่าย ตั้งโอ๋ มะเขือเทศ แรดิช ส้ม ส้มโอ และชาที่มีกลิ่นหอม เช่น กุหลาบ เก๊กฮวย มะลิ เป็นต้น
2
4) อาหารมื้อเช้ามีความจำเป็น เพราะมีส่วนช่วยให้กรดในกระเพาะเป็นกลาง และมีส่วนช่วยในการดูแลตับ
5) ไม่ควรทานยาเยอะ โดยเฉพาะยาแก้ปวด เนื่องจากทำให้เป็นพิษต่อตับและทำลายตับ ทำให้เกิดตับอักเสบ
6) ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เครียดจนเกินไป
7) พักผ่อนให้เพียงพอ
สำหรับผู้ที่มีอาการมือ-เท้าเย็น เบื้องต้นให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตและการรับประทานอาหารตามคำแนะนำข้างต้น และหากปฏิบัติตามแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น สามารถพบแพทย์แผนจีน เพื่อรับการรักษาตามแบบฉบับของแพทย์จีน โดยทางแพทย์จะแมะ เพื่อตรวจดูว่าอาการดังกล่าว เกิดจากสาเหตุใด และทำการรักษาด้วยการ ฝังเข็ม ครอบแก้ว รมยา และยาจีน ซึ่งวิธีการรักษาจะเป็นตามความเหมาะสมของอาการแต่ละบุคคล
โดย แพทย์จีน จุฑารัตน์ บุญสุธารมณ์ แพทย์แผนจีนประจำโรงพยาบาลเอกชัย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ แผนกแพทย์แผนจีน โรงพยาบาลเอกชัย 🏥
☎️โทร.034-417999 หรือ 1715 ต่อ 201
โฆษณา