8 ม.ค. 2023 เวลา 00:00 • สิ่งแวดล้อม

รู้หรือไม่? แต่ละปีมีปริมาณขยะหลายพันล้านตันทั่วโลก 🌍🔥

📌 เป็นอีกตัวการสำคัญที่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะขยะจากภาคธุรกิจ มาเปิดสถิติดูกันว่า ธุรกิจไหนบ้างที่สร้างขยะให้กับโลก และนี่คือ โฉมหน้า 4 ขยะตัวร้าย! ที่มีแนวโน้มเพิ่มปริมาณสูงขึ้นทุกปี
ถ้าธุรกิจคุณไม่อยากเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มปริมาณขยะให้กับโลกใบนี้ อาจต้องเริ่มคิดแล้วว่า ทำอย่างไรที่จะลดปริมาณขยะในธุรกิจได้ ♻️
🤝 มาช่วยกันลดสร้างขยะและกำจัดอย่างถูกวิธีกันนะครับ
ทุกวันนี้ทั่วโลกมีปริมาณขยะจากอาหารเกิดขึ้นมากถึง 1.3 ล้านตันต่อปี 😮
เรียกได้ว่ามากกว่า 1 ใน 3 ของปริมาณอาหารที่ผลิตได้ในแต่ละปีจะกลายเป็นขยะ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าหลายแสนล้านดอลลาร์ และยังก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก 11.8% ซึ่งปริมาณเศษอาหารมากกว่า 50% เกิดจากกระบวนการผลิต และการจัดเก็บ รองลงมาคือ เกิดจากร้านค้า ร้านอาหาร และครัวเรือน
ที่มา : เว็บไซต์ CompareCamp , เว็บไซต์ PostHarvest
ปัจจัยที่ทำให้ปริมาณขยะเพิ่มขึ้น คือ เทรนด์ Fast Fashion 👚
เสื้อผ้าตามกระแสที่ซื้อมาใส่ในช่วงเวลาสั้นๆ ทำให้มีขยะมากถึง 92 ล้านตันต่อปี นอกจากนี้อุตสาหกรรมแฟชั่นยังปล่อยก๊าซคาร์บอนสูงถึง 10% และในการผลิตเสื้อ cotton 1 ตัวต้องใช้น้ำ 700 แกลลอน ขณะเดียวกันต้องใช้น้ำมากถึง 2,000 แกลลอน ในการผลิตกางเกงยีนส์ 1 ตัว
ที่มา : เว็บไซต์ EARTH.ORG
แม้จะไม่มีตัวเลขยืนยันว่าทั่วโลกมีขยะจากแพ็กเกจจิ้งเกิดขึ้นเท่าไร?
แต่แค่ 79 ล้านตันต่อปีที่มาจากแพ็กเกจจิ้ง ทั้งพลาสติกและกล่องกระดาษในสหภาพยุโรป ก็พอจะทำให้เห็นแล้วว่า Packaging Waste นั้นมีจำนวนมหาศาลแค่ไหน แน่นอนว่าส่วนหนึ่งเป็นขยะที่มาจากธุรกิจ E-commerce และการสั่งอาหาร Delivery ที่มีการเติบโตอย่างมาก เชื่อหรือไม่! ในการสั่งอาหาร Delivery 1 ครั้ง สร้างขยะอย่างน้อย 5 ชิ้น
ที่มา : เว็บไซต์ Eurostat
Electronic Waste ถือเป็นขยะที่สร้างความอันตรายได้มากที่สุด 🚨
ทั้งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ เนื่องจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มักมีสารอันตรายผสมอยู่ และเมื่อหมดอายุการใช้งานมักถูกทิ้งแบบผิดวิธี ทำให้สารอันตรายเหล่านั้นสะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น ดิน น้ำ หรือในอากาศ
ที่มา : เว็บไซต์ Geneva Environment Network
📌 ธุรกิจอาหาร : การช่วยลดปริมาณขยะจากอาหาร ทำได้ง่ายๆ ด้วยการซื้ออาหารในปริมาณที่พอดี ไม่กักตุน และอ่านฉลากวันหมดอายุก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า ส่วนร้านอาหารจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการสต็อกวัตถุดิบที่ดี เพื่อลดของเสีย และวางแผนการขายที่พอดีกับความต้องการลูกค้า เพื่อจะได้ไม่มีสินค้าอาหารเหลือทิ้งเป็นขยะ
📌 ธุรกิจแฟชั่น : เลือกซื้อเสื้อผ้าที่สามารถสวมใส่ได้ในทุกโอกาส รวมถึงการบริจาคเสื้อผ้าที่เหลือใช้ในผู้ที่ขาดแคลน ด้านภาคธุรกิจก็ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เลือกใช้วัสดุรีไซเคิล หรือมองหานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อช่วย Save โลกใบนี้
📌 แพคเกจจิ้ง : เลือกไม่รับช้อน/ซ้อมพลาสติก, ใบเสร็จ หรือถุงพลาสติก ส่วน E–commerce สามารถเลือกใช้กล่องพัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ และเลือกใช้กล่องพัสดุที่ขนาดพอดีกับสินค้า
📌 อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ : ทุกวันนี้มีขยะอิเล็กทรอนิกส์เพียง 18% เท่านั้นที่ถูกกำจัดแบบถูกวิธี ควรศึกษาวิธีการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำไปสู่การรีไซเคิลหรือการกำจัดอย่างถูกวิธี
#KBankLive #KSME
1
โฆษณา