31 ธ.ค. 2022 เวลา 00:51 • ประวัติศาสตร์

ความดับทุกข์มี เพราะความดับไป แห่งนันทิ

ปุณณะ ! รูป ที่เห็นด้วย ตา ก็ดี,
เสียง ที่ฟังด้วย หู ก็ดี,
กลิ่น ที่ดมด้วย จมูก ก็ดี,
รส ที่ลิ้ม ด้วย ลิ้น ก็ดี,
โผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วย กาย ก็ดี,
ธรรมารมณ์ ที่รู้แจ้งด้วย ใจ ก็ดี,
อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ
เป็นที่ ยวนตายวนใจให้รัก
เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่;
ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ
ไม่เมาหมกซึ่งอารมณ์ มีรูปเป็นต้นนั้น.
เมื่อภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ
ไม่เมาหมกซึ่งอารมณ์ มีรูปเป็นต้นนั้นอยู่,
นันทิ (ความเพลิน) ย่อมดับไป.
ปุณณะ ! เรากล่าวว่า
“ความดับไม่มีเหลือของทุกข์มีได้
เพราะความดับไม่เหลือของความเพลิน”
ดังนี้ แล.
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๔๘๑/๗๕๖.
โฆษณา