26 ม.ค. 2023 เวลา 11:54 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

ค่าไฟฟ้าแพง ... ชาวบ้านอย่างเราทำอย่างไรดี ?

ค่าไฟฟ้า คำนวณจาก …
หน่วยการใช้ไฟฟ้า คูณด้วย ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย
(ประกอบด้วย : ค่าไฟฟ้าฐาน และค่า FT)
โดยอัตราค่าไฟฟ้าของบ้านเราจะเป็นแบบก้าวหน้า ..
เป็นแบบขั้นบันได .. ใช้มาก จ่ายมาก
และยังมีค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม .. อยู่ด้วยครับ
ปัจจัยค่าไฟฟ้าแพง หากพูดกันแบบชาวบ้าน แพงเพราะ ?
1️⃣ เหตุจากเราเอง ใช้ไฟฟ้ามาก
เชื่อว่า ทุกๆบ้านพยายามที่จะประหยัดกันมากที่สุดแล้ว
ไม่ว่าจะเป็น …
▪️ตัวไปไฟดับ (ปิดสวิทช์ไฟที่ไม่ได้ใช้งาน) หรือ เลือกเปลี่ยนหลอด
ไฟเป็นแบบ LED (ประหยัดได้ราวครึ่งนึงของหลอดไฟปกติ)
▪️ลดการรีดเสื้อผ้า (เลือกชนิดผ้าที่ไม่ต้องรีด)
▪️ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ หรือ เลือกเปิดเฉพาะอากาศร้อน
▪️เปลี่ยนพฤติกรรมการอาบน้ำอุ่นให้น้อยลง
(เครื่องทำน้ำอุ่นกินไฟมากที่สุดในบ้าน!!)
1
เชื่อว่าชาวบ้านอย่างเราๆ
คงได้ลองวิธีทุกอย่างเพื่อลดค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือน
กันครบทุกวิธีแล้ว
2️⃣ เหตุจากแพงเพราะค่าไฟฟ้าต่อหน่วยแพง ?
(ชาวบ้านควบคุมไม่ได้ล่ะ)
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับค่าไฟฟ้าจะแพงหรือจะถูก มีใครบ้าง เริ่มจากหน่วยงานยอดภูเขา (ผู้ออกนโยบาย)จนถึง ฐานภูเขา (ผู้ปฎิบัติ)
🔸หน่วยงานระดับนโยบาย
▪️คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ : ตัวย่อ (กพช.)
มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยมีคณะกรรมการอีกชุดนึงที่นำเรื่องเสนอคณะกรรมการชุดนี้ คือ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ตัวย่อ (กบง.) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธาน
🔸หน่วยงานระดับกำกับ
▪️คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน : ตัวย่อ กกพ. ทำหน้าที่กำกับกิจการพลังงานให้เป็นไปตามแนวนโยบายที่กำหนด (จาก กพช.)
กกพ. มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการกำกับกิจการพลังงานในเรื่องต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด (ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550)
🔸หน่วยงานในระดับปฏิบัติ
▪️กลุ่ม 3 การไฟฟ้า : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง
▪️กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน : IPP SPP VSPP
หากเราเห็นภาพหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ ค่าไฟฟ้าจะเห็นได้ว่า มีหลายหน่วยงานที่มีส่วนทำให้ค่าไฟฟ้าถูก - ค่าไฟฟ้าแพง
3️⃣ ค่าไฟฟ้าต่อหน่วยตอนนี้ เป็นอย่างไร ?
▪️ค่าไฟฟ้าฐาน : มีการปรับในทุก 3- 5 ปี
▪️ค่า FT : จะมีการปรับทุก 4 เดือน (ปีละ3 ครั้ง)
ขอโฟกัสที่ค่า FT เพราะการปรับค่า FT 4 ครั้ง
(ตั้งแต่ ต้นปี 2565 มีการปรับขึ้นตลอด : มติจาก กกพ)
ครั้งที่ 1 : 2565 ปรับจาก -13.52 สตางค์ต่อหน่วย
เป็น 1.39 สตางค์ต่อหน่วย
ครั้งที่ 2 : 2565 ปรับจาก 1.39 สตางค์ต่อหน่วย
เป็น 24.77 สตางค์ต่อหน่วย
ครั้งที่ 3 : 2565 ปรับจาก 24.77 สตางค์ต่อหน่วย
เป็น 93.43 สตางค์ต่อหน่วย
🚩ครั้งที่ 1 : 2566 พิเศษจากทุกครั้ง คือ ตรึงคงที่สำหรับบ้านที่อยู่อาศัย 93.43 สตางค์ต่อหน่วย และเพิ่มกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ เป็น 154.92 สตางค์ต่อหน่วย
จากผลการปรับขึ้นค่า FT ครั้งที่ 1 ของปี 2566 ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าในกลุ่มธุรกิจ อุตสาหกรรมเฉลี่ยที่ 5.33 บาทต่อหน่วย และแน่นอนค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นแบบนี้ ต้นทุนสินค้าต่างๆ ก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วย
สำหรับชาวบ้านอย่างเราๆ ในกลุ่มบ้านที่อยู่อาศัย
ค่าเฉลี่ยที่ 4.72 บาท ต่อ หน่วย
4️⃣ ภาครัฐช่วยชาวบ้านยังงัยบ้างแล้ว ?
▪️กลุ่มภาคอุตสาหกรรม
ก่อนหน้าที่จะเป็นค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่ 5.33 บาทต่อหน่วย เดิมคือเฉลี่ยอยู่ที่ 5.69 บาทต่อหน่วย
ลดไปได้ 36 สตางค์ เกิดจากการพิจารณาเพิ่มเติมอีกครั้งระหว่าง กฟผ. และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ทบทวนองค์ประกอบที่เกี่ยวกับต้นทุนค่า FT ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นประมาณการราคาก๊าซธรรมชาติ ราคาน้ำมันดีเซล อัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงภาระหนี้คงค้างของ
กฟผ.
▪️ภาคประชาชน
ค่าบริการรายเดือนจะลดลง ตั้งแต่มกราคม 2566 เป็นต้นไป
🔸ประเภทบ้านอยู่อาศัย ใช้มากกว่า 150 หน่วย ลดลงจากเดิม 13.6 บาท ต่อเดือน(จากเดิมที่เคยจ่าย 38.22 บาท)
🔸กิจการขนาดเล็ก : แรงดันต่ำ ลดลงจากเดิมที่เคยจ่าย 12.87 บาท ต่อเดือน(จากเดิมต้องจ่าย 46.16 บาท)
 
🔸กิจการสูบน้ำเพื่อการเกษตร อัตรา TOU ลงจากเดิมที่เคยจ่าย 24.1 บาทต่อเดือน (จากเดิมต้องจ่าย 228.17 บาท)
ทั้งหมดนี้คือ ความพยายามบริหารจัดการของภาครัฐ ในการที่จะบรรเทาค่าไฟฟ้าแพงของประเทศไทย ในระยะสั้นที่ได้ผลทันที (ใน แบบประคับประคอง)
5️⃣ จะทำให้ค่าไฟฟ้าถูกลงอีก .. ได้มั้ย?
โดยโครงสร้างการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยราว 53,000
เมกะวัตต์ สามารถพอที่จะเห็นคำตอบของคำถามนี้ได้
ในมิติเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า :
🔸ก๊าซธรรมชาติ : ร้อยละ 53
🔸ถ่านหิน : ร้อยละ 16
🔸นำเข้า : ร้อยละ 17
🔸พลังงานหมุนเวียน : ร้อยละ 10
🔸พลังน้ำ : ร้อยละ 3
🔸น้ำมัน : ร้อยละ 0.8
ผลจากก๊าซธรรมชาติ ขึ้นราคา … ค่าไฟฟ้าของประเทศไทยก้อได้รับผลกระทบแล้ว (ต้องหาแหล่งก๊าซธรรมชาติราคาถูก)
🔳 เกร็ดเสริม :
ค่าไฟฟ้าของประเทศเพื่อนบ้าน : เวียดนาม ในระนาบของภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมค่าไฟฟ้าราว 2 บาทกว่าๆ นั่นเป็นเพราะส่วนนึงจากสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าผลิตมาจากพลังน้ำมากถึง ร้อยละ 36 และใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าเพียงร้อยละ 10
1
ในมิติผู้ผลิตไฟฟ้า
🔸การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย : ร้อยละ 32
🔸IPP : ร้อยละ 31
🔸SPP : ร้อยละ 17
🔸นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน : ร้อยละ 12
🔸VSPP : ร้อยละ 8
ปริมาณความต้องการสูงสุดของปี 2565 : ราว 33,000 เมกะวัตต์
จากกำลังการผลิตตามสัญญา 53,000 เมกะวัตต์ ซึ่งดูเหมือนว่าส่วนต่างในส่วนนี้ค่อนข้างสูง
การรับซื้อไฟฟ้าจากส่วนต่างที่ค่อนข้างสูงนี้ เป็นอีกตันทุนหนึ่งของค่าไฟฟ้าเนื่องจากในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้ระบุราคา และเงื่อนไขต่างๆ แล้ว เช่น ค่าความพร้อมจ่าย(Availability Payment) ที่ยังคงต้องจ่ายตามที่ระบุไว้ในสัญญา เป็นต้น
จบโพสต์ :
▪️ชาวบ้านอย่างเรา สิ่งที่ช่วยตนเองได้คือ การประหยัดไฟฟ้าใน
ทุกวิธีที่จะพึงทำได้
▪️บุคคลที่มีกำลังทรัพย์ อาจพิจารณาติดตั้ง Solar roof ติด
หลังคาเพื่อลดค่าไฟฟ้าของตนเอง
2
▪️จะดีมากๆ หากการเลือกตั้งครั้งที่จะมาถึงนี้ พรรคการเมืองต่างๆ
จะนำเสนอแนวทางนโยบายในการลดต้นทุนค่าไฟฟ้าของ
ประเทศ ในแบบยั่งยืน … (เจอวิกฤตสงคราม อูเครน - รัสเซีย
กระทบไปถึงราคาก๊าซธรรมชาติ)
ทั้งภาคประชาชน และภาคอุตสาหกรรมต้องการรับฟัง
เนื่องจากเป็นปัญหาระดับที่รัฐบาลต้องเข้ามาแก้ไข เพราะทุกภาคส่วนได้รับผลกระทบ เช่น อาจพิจารณา revise แผน PDP ใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน หรือสัดส่วนของชนิดเชื้อเพลิง หรือชนิดของโรงไฟฟ้า หรือ ราคารับซื้อไฟฟ้า ฯลฯ ตามบริบทที่จะทำได้ และการแก้ปัญหานี้ต้องใช้มิติของเวลาด้วย (ต้องใช้เวลา)
ทั้งนี้ทุก องคาพยพ ณ ปัจจุบันพยายามที่จะปรับตัว
และหาวิธีที่ดีที่สุด เพื่อให้ค่าไฟฟ้าไม่แพงไปกว่านี้ ..
-
-
-
เป็นกำลังใจให้ทุกภาคส่วนครับ
หลังเขียนบทความนี้เสร็จ ..
ขอไปดูบิลค่าไฟฟ้าของเดือนนี้หน่อยครับ
เรียนรู้ .. ไปพร้อมๆกัน : เรียบเรียง
26 มกราคม 2566
อ้างอิง
โฆษณา