11 ม.ค. 2023 เวลา 12:24
ฎีกาที่ 7779/2561
แม้คดีนี้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 367/2549 ของศาลชั้นต้น แต่ข้อเท็จจริงตามสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 367/2549 ของศาลชั้นต้นที่นำมาผูกรวมกับคดีนี้
พิพากษได้ความว่านายประจิมกับนายอุดรเคยฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนพินัยกรรมของนายอุทัยด้วยเหตุผลว่าข้อความในพินัยกรรมขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706 (3) ตกเป็นโมฆะเช่นเดียวกัน ประเด็นปัญหาว่าฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 367/2549 ของศาลชั้นต้นหรือไม่แม้จะไม่มีประเด็นข้อพิพาทในศาลชั้นต้น แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252 ได้ความว่า โจทก์ฟ้องจำเลยโดยอ้างเหตุว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะเพราะนางฉวีวรรณและนายอุทัยทำพินัยกรรมโดยมีเจตนาลวงเพื่อหลีกเลี่ยงบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706 (3) โดยข้อเท็จจริงได้ความว่านายประจิมและนายอุดรฟ้องจำเลยเป็นคดีหมายเลขแดงที่ 5493/2549
ของศาลแพ่งและคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 367/2549 ของศาลชั้นต้น แต่ละสำนวนต่างอ้างเหตุเหมือนกันว่า ข้อความในพินัยกรรมข้อ 1 ของนางฉวีวรรณและนายอุทัยเจ้ามรดกทั้งสองขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706 (3) อันเป็นการกล่าวอ้างว่าข้อกำหนดในพินัยกรรมตกเป็นโมฆะ คดีนี้และในสองคดีก่อนจึงมีประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกันว่า พินัยกรรมของนางฉวีวรรณและนายอุทัยเจ้ามรดกทั้งสองตกเป็นโมฆะเพราะขัดหรือหลีกเลี่ยงต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706 (3) หรือไม่
แม้ศาลแพ่งจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทแต่เพียงว่า นางฉวีวรรณเจ้ามรดกมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ขณะทำพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 30 กันยายน 2537 หรือไม่ และพินัยกรรมดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้เพียงใด และวินิจฉัยว่าขณะทำพินัยกรรมนางมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ พินัยกรรมจึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ แต่ศาลแพ่งได้วินิจฉัยข้อความในพินัยกรรมต่อไปว่าข้อความที่ระบุไว้ในพินัยกรรมข้อ 1 ไม่ขัดต่อกฎหมายไม่ตกเป็นโมฆะ ส่วนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 367/2549 ของศาลชั้นต้น
ศาลฎีกาได้วินิจฉัยคดีถึงที่สุดว่าข้อกำหนดในพินัยกรรมของนายอุทัยไม่เป็นโมฆะมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706 (3) ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าพินัยกรรมตกเป็นโมฆะจึงได้รับการวินิจฉัยจากศาลในคดีก่อนและถึงที่สุดแล้วว่าไม่เป็นโมฆะ โจทก์และนายประจิมและนายอุดรต่างเป็นบุตรของนายอุทัยและนางฉวีวรณจึงเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันและมีส่วนได้เสียในทรัพย์ของนายอุทัยและนางฉวีวรรณด้วยกัน
เมื่อนายประจิมและนายอุดรฟ้องจำเลยกล่าวอ้างว่าข้อกำหนดในพินัยกรรมของนายอุทัยและนางฉวีวรรณขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706 (3) ตกเป็นโมฆะถือได้ว่าเป็นการฟ้องเพื่อพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของนายอุทัยและนางฉวีวรรณทุกคนรวมถึงโจทก์ด้วย เพราะหากพินัยกรรมทั้งสองฉบับตกเป็นโมฆะบรรดาทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมย่อมตกทอดได้แก่ทายาทโดยธรรมทุกคนรวมถึงโจทก์ด้วย
ถือเป็นการใช้สิทธิยื่นฟ้องจำเลยเพื่อประโยชน์แก่ทายาทโดยธรรมทุกคน โจทก์ต้องผูกพันกับการกระทำของนายประจิมและนายอุดรในสองคดีดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์เป็นคู่ความเดียวกับนายประจิมกับนายอุดรในสองคดีก่อน
โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยอ้างว่าพินัยกรรมของนายอุทัยและนางฉวีวรรณเป็นโมฆะเช่นเดียวกับสองคดีก่อนที่ศาลวินิจฉัยถึงที่สุดว่าพินัยกรรมไม่เป็นโมฆะมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย จึงเป็นฟ้องซ้ำ ส่วนที่โจทก์อ้างเหตุเปลี่ยนแปลงไปว่านายอุทัยและนางฉวีวรรณทำพินัยกรรมโดยมีเจตนาลวงเพื่อหลีกเลี่ยงบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706 (3) นั้น
เห็นว่า ในสองคดีก่อนนายประจิมและนายอุดรฟ้องจำเลยโดยกล่าวอ้างว่าข้อความในพินัยกรรมขัดต่อบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย์มาตรา 1706 (3) เป็นการยอมรับว่านายอุทัยงฉวีวรรณมีเจตนาทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่จำเลยจริง แต่กลับอ้างเหตุว่านายอุทัยและนางฉวีวรรณทำพินัยกรรมโดยเจตนาลวง
อันกล่าวอ้างว่านายอุทัยและนางฉวีวรรณไม่ได้มีเจตนาทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้จำเลยคำฟ้องของโจทก็จึงขัดกับคำฟ้องของนายประจิมและนายอุดรในสองคดีก่อนทั้งเป็นข้ออ้างที่โจทก์ยกขึ้นใหม่ภายหลังจากศาลในคดีก่อนมีคำพิพากษายกฟ้องจึงเป็นการฟ้องคดีเพียงเพื่อให้ศาลต้องวินิจฉัยในประเด็นเดิมว่าพินัยกรรมตกเป็นโมฆะหรือไม่
ถือเป็นการอ้างเหตุในการฟ้องคดีโดยไม่สุจริต ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแฟงและพาณิชย์ มาตรา 5 และไม่มีอำนาจฟ้อง คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาในประเด็นอื่นของโจทก์ เพราะไม่ทำให้ผลคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย (พิพากษายืน (ยกฟ้อง))

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา