25 ม.ค. 2023 เวลา 12:58 • ข่าวรอบโลก

“กัมพูชา” ปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือด้านทหารแก่ “ยูเครน”

ที่มาของข่าวก่อนหน้านี้คือ ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดของกัมพูชา (CMAC) ได้มีการฝึกภาคทฤษฎีและปฏิบัติให้กับนักเก็บกู้ทุ่นระเบิดของ “ยูเครน” จำนวน 15 คน ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ การฝึกจบไปได้เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ก่อน
เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว รัฐบาลกัมพูชาได้ส่งผู้เชี่ยวชาญ CMAC สามคนไปยัง “ยูเครน” เพื่อให้การฝึกอบรมผู้เก็บกู้ทุ่นระเบิดในท้องถิ่น ตามคำมั่นสัญญาของนายกรัฐมนตรี “ฮุน เซน” ของกัมพูชาในการประชุมสุดยอดอาเซียนในกรุงพนมเปญเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565
รมต.ต่างประเทศยูเครน Dmytro Kuleba พบกับ นายกรัฐมนตรี “ฮุน เซน” ในการประชุมสุดยอดอาเซียนในพนมเปญเมื่อ พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เครดิตภาพ: สถานทูตยูเครนในประเทศไทย
  • 25 มกราคม พ.ศ. 2566: สื่อท้องถิ่นของกัมพูชา Khmer Times รายงานว่า
กระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศของกัมพูชาคัดค้านอย่างเด็ดขาดต่อการที่ประเทศ [กัมพูชา] มีรายชื่ออยู่ในกลุ่มประเทศที่ให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครน โดยปรากฏอยู่ในอินโฟกราฟิกของ Telegram Channel “Demografiya upala” โดยระบุท่าทีและการวางตัวของประเทศต่างๆ เกี่ยวกับสงครามในยูเครน
ภาพที่เป็นสาเหตุของการคัดค้าน ที่มา: Telegram Channel “Demografiya upala"
...
  • จากภาพแผนที่ด้านบนจะเห็นว่า “กัมพูชา” ถูกจัดว่าเป็นประเทศที่ให้ความช่วยเหลือด้านทหารกับยูเครน
สำหรับไทยเอง เราถูกจัดว่าเป็นประเทศที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยชนกับยูเครน เหมือนกับจีน
กระทรวงฯ ให้เหตุผลว่าการฝึกหน่วยเก็บกู้ทุ่นระเบิดของยูเครนในกัมพูชาเป็นไปเพื่อมนุษยธรรมมากกว่าความช่วยเหลือทางทหาร และอธิบายถึงเหตุผลในการคัดค้านไม่พอใจต่อสื่อดังกล่าวในถ้อยแถลง ดังนี้
  • “กระทรวงฯ ขอย้ำว่าการตัดสินใจจัดหลักสูตรฝึกอบรมพิเศษเกี่ยวกับการกวาดล้างทุ่นระเบิดสำหรับนักเก็บกู้กับระเบิดในยูเครนในกัมพูชาโดยความร่วมมือกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นนั้น ‘เป็นไปเพื่อมนุษยธรรมอย่างแท้จริง’ ก่อนหน้านี้เราให้การสนับสนุนที่คล้ายกันระหว่าง ภารกิจรักษาสันติภาพจำนวนมากภายใต้การอุปถัมภ์ของสหประชาชาติในแอฟริกาและในตะวันออกกลาง”
1
  • “ข้อมูลดังกล่าวไม่เพียงเป็นเท็จเท่านั้น แต่ยังเป็นอันตรายต่อกัมพูชา ซึ่งเป็นประเทศที่สงบสุขซึ่งยึดมั่นอย่างเคร่งครัดต่อความเป็นกลางในนโยบายต่างประเทศซึ่งกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ”
กัมพูชามีประสบการณ์ครั้งใหญ่ในการกวาดล้างทุ่นระเบิดซึ่งหลงเหลือจากสงครามกลางเมืองหรือความขัดแย้งทางการเมืองที่ยาวนานหลายปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา
มีการค้นพบทุ่นระเบิดและปลอกกระสุนมากกว่า 3 ล้านชิ้นในประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 กัมพูชาได้ส่งทีมเก็บกู้ทุ่นระเบิดภายใต้การอุปถัมภ์ของสหประชาชาติไปยัง ชาด ไซปรัส มาลี ซูดานใต้ ซูดาน ซีเรีย และเยเมนเป็นประจำ
2
เรียบเรียงโดย Right SaRa
25th Jan 2023
  • แหล่งข่าวอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: (บน) - AP Photo/Heng Sinith (ล่าง) - AFP>
โฆษณา