25 ม.ค. 2023 เวลา 15:25 • การศึกษา
“ทักษะด้านการสื่อสาร” คือ ทักษะที่มีความสำคัญสูงสุดทักษะหนึ่งของมนุษย์ นับตั้งแต่ยุคที่ ‘มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์’ สื่อสารกันในขณะที่พวกเขาร่วมกันล่า “ช้างแมมมอธ” มาเป็นอาหาร จวบจนยุคที่เราเริ่มสื่อสารกับ “จักรกล AI” และเราสื่อสารกันเองผ่าน “social media” และแม้กระทั่ง การสื่อสารบน “metaverse” ในอนาคต
“The Oracle of Omaha” เป็นฉายาที่มีผู้มอบให้ คุณปู่ Warren Buffett, นักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล
มูลค่าของทรัพย์สินที่ท่านและทีมงานช่วยกันดูแลนั้น คงเปรียบได้กับมูลค่าของ GDP ของประเทศเล็กๆประเทศหนึ่งเลยทีเดียว! และมูลค่าต่อหนึ่งหุ้นของกลุ่มกิจการของท่านมีมูลค่าสูงถึง
$400,000+ เหรียญดอลลาร์ (USD)!
และว่ากันว่า ถ้าคุณอยาก “นั่งกินข้าวเที่ยง” กับท่าน คุณต้องชนะการประมูลการกุศลเพื่อให้ได้นั่งคุยกับท่านระหว่างกินข้าวเที่ยงกับท่านด้วยเงินประมูลราว
$19 ล้านเหรียญดอลลาร์ (USD) เลยทีเดียว!
ครับ ท่าน Buffet ได้ให้ความสำคัญกับ “ทักษะการสื่อสาร” ถึงขั้นที่ท่าน “ลงทุน” เป็นเงิน $100 ไปกับการเข้าอบรม “ทักษะการสื่อสาร” ในราวๆปี ค.ศ. 1952 ในช่วงที่ท่านเองรับผิดชอบด้าน “งานขาย” โดยที่ตัวท่านเองก็ยอมรับว่าท่านไม่มีทักษะด้านนี้ และการขาดทักษะในการสื่อสารทำให้ท่านถึงกับกลัวการพูดต่อหน้าสาธารณะชนเลยทีเดียว!
และ ท่าน Buffett เองก็มีคำกล่าวที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของทักษะการสื่อสารไว้ เช่น
> “The one easy way to become worth 50 percent more than you are now — at least — is to hone your communication skills — both written and verbal,”
และคำกล่าวของท่านที่ผมชื่นชอบมากที่สุดคือ
> “If you can’t communicate, it’s like winking at a girl in the dark — nothing happens!
2
You can have all the brainpower in the world, but you have to be able to transmit it,” Buffett continues.
“And the transmission is communication,”
และ
> “If you can’t communicate and talk to other people and get across your ideas,” Buffett said,
“you’re giving up your potential.”
และ
> “What’s really essential is being able to get others to follow your ideas. If you’re a salesperson, you want people to follow your advice.
If you’re a management leader, you want them to follow you in business.”
โดย เทคนิคในการสื่อสารที่ท่านแนะนำไว้ คือ
-authenticity:
คือ ความตรงไปตรงมาในการสื่อสารด้วยความซื่อตรงตามแบบฉบับ
ของคุณ
-plain language:
คือ ใช้ภาษาง่ายๆที่ชาวบ้านสามารถเข้าใจได้
-admitting mistakes when they happen
คือ ถ้าคุณสื่อสารผิดพลาดไป คุณก็ต้องแก้ไขความผิดพลาดนั้น
ครับ “แก้ไข” ไม่ใช่ “แก้ตัว”
สำหรับผม
ผมมองว่า “การนำเสนองาน” เป็นทักษะในการสื่อสารขั้นสูงที่เราทุกคนสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ และมันยังเป็นภาพสะท้อนถึง “ความทุ่มเท” และ “ความหลงใหล” ในสิ่งที่เรากำลังจะนำเสนอ
1
หากเรามี “ความสนใจ” อย่างลึกซึ้งต่องานที่เรากำลังจะนำเสนอ เราจะมี “คำถาม” ในใจมากมายที่จะทำให้เราอยากที่จะหาคำตอบ และคำถามเหล่านั้นวันหนึ่งในวันที่เรากำลังนำเสนองานอยู่ ผู้ฟังเองก็อาจมีคำถามคล้ายๆกับที่เราเคยถามตัวเองไว้ หรือมีคำถามแปลกใหม่ที่จะช่วยชี้ทางให้เราพัฒนางานชิ้นนั้นไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้
เมื่อเรา “มีใจ” ให้กับงานที่เราทำอยู่แล้ว นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ส่วนทักษะในการ “storytell” เราสามารถเรียนรู้เทคนิคได้ในเวลาต่อมา ซึ่งมันจะช่วยให้การนำเสนองานเป็นการ “ขายงาน” ไปในตัว และถ้าคุณ “ขายงาน” เก่งๆ นั่นจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทั้งงานและทั้งตัวคุณในที่สุด
ผมชอบเทคนิคการนำเสนอของ Steve Jobs เป็นอย่างมาก
จนผมได้รวบรวมเทคนิคของท่านไว้ใน post นี้ของผมครับ
แม้แต่ท่าน Sir Richard Branson ผู้ก่อตั้งอาณาจักร “Virgin” ก็ได้ให้ความสำคัญกับ “ทักษะการสื่อสาร” ไว้ว่า
“Today, if you want to succeed as an entrepreneur, you also have to be a storyteller,”
“Of course, it is no use being a good storyteller if your product or idea is rubbish. But it is not enough to create a great product; you also have to work out how to let people know about it.”
และเทคนิคการ “storytell” ของผมคือ
โฆษณา