30 ม.ค. 2023 เวลา 03:00

8 บุคคลอ้างอิงที่จะทำให้ Reference ในการสมัครงานของคุณดูมืออาชีพมากยิ่งขึ้น

หากใครที่กำลังสมัครงานอยู่แล้วสามารถผ่านกระบวนการคัดกรองจนได้สัมภาษณ์งานกับ HR ขั้นตอนสุดท้ายที่ผู้สมัครไม่ควรมองข้าม เพราะอาจทำให้คุณพลาดโอกาสได้ก็คือ การที่ HR ถามหา Reference หรือ บุคคลอ้างอิงในการสมัครงานของคุณ
แน่นอนว่าหลายคนอาจมีปัญหาในการหา Reference โดยเฉพาะเด็กจบใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์การทำงานมาก่อน แต่ในกรณีของผู้สมัครที่มีประสบการณ์การทำงานมาบ้างแล้ว อาจไม่ใช่เรื่องยากในการหาบุคคลอ้างอิงที่จะมาให้การรับรองความสามารถในการทำงานของคุณ เพราะฉะนั้นวันนี้ ConNEXT จะมาบอก 8 บุคคลที่คุณสามารถนำไปเป็น Reference ในการสมัครงานได้จะมีใครบ้าง ไปดูกันเลย!
🟥 1. หัวหน้างานเก่า-ปัจจุบัน
หัวหน้างานของคุณ ถือว่าเป็นหนึ่งในบุคคลลำดับแรกๆ ที่คุณควรขอ Reference เพราะว่าเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคุณมากที่สุด
แต่ถ้าคุณมีความสัมพันธ์ไม่ดีกับหัวหน้างาน คุณไม่จำเป็นต้องนำเขามาอ้างอิงเป็น Reference ในการสมัครงานของคุณ เพราะอาจส่งผลในทางลบ และอาจทำให้ HR เกิดความไม่ประทับใจในตัวคุณได้
ฉะนั้นสิ่งที่คุณควรทำ คืออธิบายเหตุผลว่าเพราะอะไรคุณถึงไม่เลือกหัวหน้างานเก่าหรือปัจจุบันมาเป็น Reference ตัวอย่างเช่น คุณอาจอธิบายเหตุผลว่าคุณไม่อยากให้หัวหน้าคนปัจจุบันรู้ว่าคุณกำลังหางานใหม่อยู่ ซึ่งถ้าในกรณีนี้คุณควรหา Reference อย่างน้อย 1 คนจากที่ทำงานใหม่ที่คุณรู้จักมารองรับความสามารถในการทำงานของคุณ เพื่อให้ HR เชื่อมั่นในตัวคุณมากขึ้น
2
🟥 2. เพื่อนร่วมงาน
นอกจากหัวหน้างานแล้ว อีกหนึ่ง Reference ที่ดีคือเพื่อนร่วมงานของคุณ แต่ทั้งนี้ควรเลือกเพื่อนร่วมงานที่ทำงานแผนกเดียวกันกับคุณ เพราะเขาจะเข้าใจรายละเอียดของงาน และหน้าที่ความรับผิดชอบของคุณมากที่สุดรองจากหัวหน้า
🟥 3. อาจารย์ที่ปรึกษาหรืออาจารย์ที่มหาวิทยาลัย
สำหรับคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์การทำงานมาก่อนโดยเฉพาะเด็กจบใหม่ คุณสามารถติดต่อขอให้อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ประจำภาควิชา หรืออาจารย์ที่มีตำแหน่งในมหาวิทยาลัยมาเป็น Reference ในการอ้างอิงการสมัครงานของคุณได้ แต่คุณควรเลือกติดต่ออาจารย์ที่คุ้นเคยกับคุณ และสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวคุณได้
🟥 4. เพื่อนของคุณที่เชื่อถือได้
โดยส่วนใหญ่แล้วบุคคลที่ไม่ควรนำมาเป็น Reference ในการสมัครงาน คือเพื่อน แต่มี 3 กรณีหลักๆ ที่คุณสามารถให้เพื่อนมาเป็น Reference ได้ คือ
👉 เพื่อนของคุณทำงานในองค์กรที่คุณกำลังจะสมัคร
👉 เพื่อนของคุณเป็นหัวหน้างานของคุณ
👉 เพื่อนที่เคยทำวิทยานิพนธ์หรือโปรเจกต์ร่วมกัน
เพราะฉะนั้นนอกเหนือจาก 3 กรณีนี้ คุณควรหลีกเลี่ยงการนำเพื่อนมาเป็น Reference ในการสมัครงานให้ได้มากที่สุด เพราะ HR จะมองว่าคุณไม่มีความน่าเชื่อถือได้ในทันที
🟥 5. สมาชิกในกลุ่มที่ทำวิทยานิพนธ์หรือโปรเจกต์ร่วมกันในช่วงมหาวิทยาลัย
ในช่วงที่กำลังเรียนจบ แน่นอนว่าคุณต้องทำวิทยานิพนธ์เพื่อจบการศึกษา คุณสามารถให้เพื่อนที่ทำโปรเจกต์ร่วมกับคุณเป็น Reference ในการสมัครงานได้ แต่ทั้งนี้คุณต้องมั่นใจในตัวเองด้วยว่าคุณสามารถรับผิดชอบงานในส่วนของคุณได้ดีเช่นกัน
🟥 6. หน่วยงานที่คุณเคยเป็นอาสาสมัคร
ในการไปเป็นอาสาสมัครแต่ละครั้ง คุณสามารถติดต่อขอให้หน่วยงานเหล่านั้นเป็น References ในการสมัครงานของคุณได้ เพราะนอกจากการเป็นอาสาสมัครจะสร้างความประทับใจที่ดีต่อ HR แล้ว องค์กรอย่าง Corporation of National and Community Service (CNCS) ยังกล่าวเสริมว่า การเป็นอาสาสมัครจะสามารถช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณถูกรับเข้าทำงานได้มากถึง 27% อีกด้วย
🟥 7. พี่เลี้ยงที่ดูแลคุณในช่วงทำงานเสริมหรืองาน Part-time
ถ้าคุณเคยทำงานเสริมหรืองาน Part-time ในช่วงมัธยมหรือมหาวิทยาลัยคุณสามารถติดต่อขอให้พี่เลี้ยงมาเป็น Reference ในการสมัครงานของคุณได้
🟥 8. คุณครูประจำชั้นในสมัยมัธยมของคุณ
ถ้าหากคุณไม่รู้จะหา Reference ในการสมัครงานของคุณจากที่ไหน อีกหนึ่งทางเลือกที่ดีคือครูของคุณนั่นเอง แม้ว่าครูอาจไม่รู้ข้อมูลเชิงลึกในการทำงานของคุณมากนัก แต่ในทางกลับกันครูของคุณสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวคุณได้ดีไม่น้อยไปกว่าคนอื่นเช่นกัน
หลังจากอ่านมาถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า Reference ค่อนข้างมีผลต่อการสมัครงานเป็นอย่างมาก แต่ทั้งนี้การมี Reference ก็ไม่ได้การันตีว่าคุณจะได้งาน เพราะสุดท้ายแล้ว HR จะดูประวัติการทำงาน และความสามารถของคุณเป็นหลักมากกว่าว่าคุณเหมาะสมกับตำแหน่งงานนี้หรือไม่ เพราะฉะนั้นการมี Reference จะช่วยทำให้คุณดูเป็นมืออาชีพ และน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
อ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3wuu5xm
มาร่วม CONNEXT THE DOT ก้าวสู่โลกการทำงานอย่างมั่นใจไปด้วยกัน
——————————————————

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา