27 ม.ค. 2023 เวลา 09:16 • สุขภาพ

ยาที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยโรคไต

🧞‍♂️ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรเลือกใช้ยาอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะยาที่ใช้บรรเทาอาการไม่สบายเบื้องต้น เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาระบาย ยาแก้แพ้ลดน้ำมูก อาหารเสริมต่างๆ ซึ่งยาเหล่านี้อาจทําให้เกิดอันตรายต่อไตในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังได้
❗ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal anti-inflammatory drugs; NSAIDs) เช่น Ibuprofen, Mefenamic acid, Naproxen, Diclofenac, Meloxicam, Celecoxib, Etoricoxib
ยากลุ่มนี้ทําให้เลือดไปเลี้ยงไตลดลง ทำให้การทำงานของไตแย่ลง ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจึงไม่ควรใช้
 
❗ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ที่มีส่วนประกอบของอะลูมิเนียมหรือแมกนีเซียม เช่น Aluminium hydroxide, Magnesium hydroxide อาจทำให้เกิดการสะสมของเกลือแร่ในร่างกาย เนื่องจากไตไม่สามารถกำจัดเกลือแร่เหล่านี้ออกจากร่างกายได้ตามปกติ
❗ยาระบาย ทั้งที่เป็นยากินและยาสวนที่มีแมกนีเซียมหรือฟอสเฟตเป็นส่วนประกอบ เช่น Magnesium hydroxide, Sodium phosphate อาจทําให้ร่างกายสูญเสียน้ำ รวมถึงเกิดการสะสมของเกลือแร่และฟอสเฟตในร่างกายได้
❗ยาผงฟู่ที่มีส่วนประกอบของโซเดียมที่ต้องละลายน้ำก่อนกิน ยาเหล่านี้อาจมีเกลือเป็นส่วนประกอบในปริมาณสูง จึงอาจทําให้เกิดภาวะโซเดียม น้ำ และเกลือแร่ ในร่างกายเกิน
❗ยาแก้แพ้​ การกินยาแก้แพ้บางชนิดในขนาดยาปกติ เช่น Cetirizine, Loratadine, Levocetirizine อาจทำให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีโอกาสเกิดอาการข้างเคียงได้มากกว่าคนที่การทำงานของไตปกติ เนื่องจากไตกำจัดยาออกจากร่างกายลดลง เกิดการสะสมของยาในร่างกายมากขึ้น
❗อาหารเสริม บางชนิดไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เนื่องจากมีส่วนประกอบบางอย่างในปริมาณที่มากเกินไป เช่น มีโปรตีนในปริมาณสูง ซึ่งอาจทำให้การทำงานของไตลดลง หรือมีเกลือแร่บางอย่างในปริมาณสูง เช่น โพแทสเซียม ทำให้เกิดการสะสมในร่างกายได้
❗สมุนไพร บางชนิด เช่น
น้ำลูกยอ (Noni juice) ทำให้โพแทสเซียมในเลือดสูง
ชะเอมเทศ (Licorice) ทำให้ความดันโลหิตสูง
โสม (Ginseng) ทำให้ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว
แปะก๊วย (Ginkgo) ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด อาจทําให้เกิดเลือดออกได้ง่าย
มะเฟือง (Star fruit) ทำให้สะอึก สับสน และชัก
👳‍♂️ในกรณีที่ญาติมาซื้อยาให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง​ ควรแจ้งให้เภสัชกรทราบทุกครั้ง​ และถ้าให้ดีควรพบแพทย์เพื่อที่แพทย์จะได้ประเมินอาการ​ และปรับขนาดการใช้ยาได้ถูกต้องตามสภาวะของโรค
😀มีปัญหา​เรื่อง​การ​ใช้​ยา​เชิญ​ปรึกษา​เภสัชกร​
.
.
💢
.
ภาพจาก
การใช้ยาในผู้ป่วยไตเรื้อรัง​ สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย
ยาแก้ปวดที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยโรคไต
ยาหรือกลุ่มยาที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยโรคไต
.
สรุป #ยาพึงระวังในคนไข้โรคไต ใน 1 หน้ากระดาษ
เหมาะกับ ชาว รพช. หรือ รพท.
ที่นึกอะไรไม่ค่อยได้
หมายเหตุ : #เอะใจ ยังไม่ได้หมายความว่า #ห้ามใช้ แค่ให้บุคลากรที่ร่วมดูแลคนไข้ เฝ้าระวังเพิ่มขึ้น
GFR 59 ลงมา : เริ่มเอะใจ กวาดตามองยา หาข้อมูลว่า #ปรับไม่ปรับ
GFR 45 ลงมา : เบรคตัวเอง ให้เริ่มทวนยาเพิ่มขึ้น ละเอียดขึ้น
GFR 30 ลงมา : เพิ่มความ เอะใจ อีก #สองสามเท่า สกรีนยาอย่างละเอียด ปรับยาอย่างเหมาะสม
การเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันจากการใช้ยาแก้ปวด
.
การใช้ยาระงับปวดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง Analgesic Dru - ThaiJo
.
การใช้ยาที่ไม่เหมาะสมในผู้สูงวัยที่เป็นโรค ( - : ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์
อ่านเพิ่มเติม
ยาที่ใช้ในภาวะไตเสื่อม และ แนวทางการดูแลรักษา เพื่อชะลอการเสื่อมของไต
POSTED 2023.01.27
บทความอื่น
💊กินยาอย่างไร ไตไม่พัง?
NSAIDS กับโรคไต
ไ ต เ สื่ อ ม
การใช้ยาต้านฮิสทามีนรุ่นที่สอง (second generation antihistamine) ในกรณีที่เป็นโรคตับหรือโรคไต
โฆษณา