28 ม.ค. 2023 เวลา 16:58 • สุขภาพ

การใช้ยาแก้แพ้ในโรคตับโรคไต

💊การใช้ยาต้านฮิสทามีนรุ่นที่สอง (second generation antihistamine) ในกรณีที่เป็นโรคตับหรือโรคไต
🦄BILASTINE
การกำจัดยาไม่เกี่ยวข้องกับ cytochrome P450 และไม่ได้เกี่ยวข้องกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงอื่นๆในร่างกาย
โดย​ 66.5% ขับออกทางอุจจาระ และที่เหลือ​ 28.3%​ ขับออกทางปัสสาวะ
🔹ผู้ที่เป็นโรคตับ​ โรคไต​ สามารถใช้ยาบิลาสตีนในขนาด​ 20​ มิลลิกรัม​ได้อย่างปลอดภัย​ โดยไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยา
DESLORATADINE​ และ​ LORATADINE
Loratadine จะถูกเปลี่ยนแปลงที่ตับ​โดยอาศัยเอนไซม์​ CYP3A4​ เป็นหลัก​ได้เป็น Desloratadine (ซึ่งมีฤทธิ์​แรงกว่า​ลอราทาดีน​ 4 เท่า)​
🐈ลอราทาดีน​ 40% ขับออกทางปัสสาวะ​ และอีก​ 42% ขับออกทางอุจจาระ
การใช้ยา ลอราทาดีน​▪️ในผู้ป่วยไตบกพร่อง (CrCl <30 mL/min)​ รวมทั้งผู้ที่เป็นโรคตับ จำเป็นต้องมีการปรับขนาดยา โดยผู้ที่มีน้ำหนักเกินกว่า​ 30​ กิโลกรัม​ กินยาขนาด 10 มิลลิกรัม ทุก 48 ชั่วโมง (การล้างไตหรือฟอกเลือดไม่ได้กำจัดยาออกไปด้วย)​
🦁Desloratadine ถูกขับออกทางอุจจาระ​และปัสสาวะในปริมาณ​ที่เท่าๆกัน​ ▪️ผู้ที่เป็นโรคตับหรือไตบกพร่อง​ (CrCl <50 mL/min)​ จำเป็นต้องมีการปรับขนาดยา โดยกินยาขนาด 5 มิลลิกรัม วันเว้นวัน​ (การล้างไตหรือฟอกเลือดไม่ได้กำจัดยาออกไปด้วย)​
🐄FEXOFENADINE
ยาถูกเปลี่ยนแปลงที่ตับเพียงเล็กน้อย​ (5%)
โดย​ 80% ถูกขับออกทางอุจจาระ​ และ​ 11% ถูกขับออกทางปัสสาวะ
🔹ผู้ที่เป็นโรคตับไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยา
▪️ผู้ที่เป็นโรคไต (CrCl <80 mL/min) ที่มีอายุมากกว่า12ปี​ ให้ใช้ยาขนาด 60 mg วันละครั้ง​ (บางแหล่งระบุว่า​ ไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยาในผู้ที่เป็นโรคไต)
LEVOCETIRIZINE และ​ CETIRIZINE
🐱Cetirizine จะถูกเปลี่ยนแปลงที่ตับ​ โดย​ 70-85% ถูกขับออกทางปัสสาวะ​ และ​ 10% ถูกขับออกทางอุจจาระ
▪️ผู้ที่เป็นโรคตับ​ และผู้ที่เป็นโรคไต (CrCl <30 mL/min) รวมทั้งผู้ที่ล้างไต​ ที่มีอายุมากกว่า​ 6 ปี​ ให้ใช้ยาขนาด 5 mg วันละครั้ง​ ส่วนในกรณีที่​ฟอกเลือด​ ให้ใช้ยาขนาด 5 mg อาทิตย์​ละ​ 3 ครั้ง​ (หรือวันละครั้งแล้วแต่กรณี)​ (ถึงแม้ว่าการล้างไตหรือฟอกเลือดไม่ได้กำจัดยาออกไปด้วย​ แต่ก็ควรติดตามผลทางด้าน​ antihistaminic side effects อื่นๆด้วย)​
🦊L​evocetirizine เป็น​ภาพสะท้อน (R enantiomer) ของ cetirizine ทำให้มีประสิทธิภาพ​มากกว่า​ ส่วนใหญ่จะถูกขับออกในรูปเดิม​ โดย 80% ถูกขับออกทางปัสสาวะ​ และ​ 10% ถูกขับออกทางอุจจาระ
🔹ผู้ที่เป็นโรคตับไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยา​
(บางแหล่งระบุว่า​ ถึงแม้จะเปลี่ยนที่ตับ​ <15% แต่จำเป็นต้องปรับขนาดยาในผู้ที่เป็นโรคตับ)
▪️ผู้ที่เป็นโรคไตปรับขนาดยาตามความสามารถของไต
⛔ห้ามใช้ในผู้ที่่มี​ CrCl <10 mL/min และผู้ที่ต้องฟอกเลือด​ (ไม่มีข้อมูลสำหรับการล้างไตทางหน้าท้อง)​
การใช้ยาในผู้ป่วยกรณีพิเศษ​ เช่น​ ผู้ที่เป็นโรคตับ​ โรคไต​ ผู้ที่ฟอกเลือด​ ผู้ที่ล้างไตทางช่องท้อง​ คนสูงอายุ​ รวมทั้งเด็กทารก​ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของ​แพทย์​ และภายใต้การแนะนำการใช้ยาของเภสัชกร
.
ภาพจาก Antihistamine therapy for allergic rhinitis and urticaria: An Asia-Pacific perspective 01 Nov 2018 https://specialty.mims.com/topic/antihistamine-therapy-for-allergic-rhinitis-and-urticaria--an-asia-pacific-perspective .
.
ภาพจาก Use of second generation H1 antihistamines in special situations. Jan 2013 https://www.semanticscholar.org/paper/Use-of-second-generation-H1-antihistamines-in-D%C3%A1vila-Cuvillo/8e03721ce7f138ba56747a467d65f50507561922
.
.
.
เพิ่มเติม​
ยาแก้แพ้ที่ใช้ในหญิงมีครรภ์​
ภาพจาก Use of second generation H1 antihistamines in special situations. https://www.semanticscholar.org/paper/Use-of-second-generation-H1-antihistamines-in-D%C3%A1vila-Cuvillo/8e03721ce7f138ba56747a467d65f50507561922
.
ยาแก้แพที่ใช้ในหญิงให้นมบุตร
ภาพจาก https://www.facebook.com/431458607617090/posts/pfbid0YSTrY2KMtq3ZCkANJGQVfChd1vqWmFfVgLU3nysfVLRUpKV1kAaKCAX4KruwcKPcl/
.
POSTED 2023.01.28
บทความ​อื่น
ยารักษาฮิสตามีนรุ่นใหม่ VS ยาพ่นจมูกสเตียรอยด์
⛔ห้ามใช้ยาต้านฮิสตามีนรุ่นที่1ในเด็กอายุต่ำกว่า2ปีทุกกรณี⛔
Experts Warn Antihistamines Can be Dangerous for Infants When Used Improperly
ยาที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยโรคไต
💊กินยาอย่างไร ไตไม่พัง?
NSAIDS กับโรคไต
ยาแก้ปวดที่ผู้ป่วยโรคไตใช้ได้​ มีอะไรบ้าง
โฆษณา