30 ม.ค. 2023 เวลา 09:47 • สุขภาพ

ถ้าเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ ... คุณจะเป็นบ้าเข้าจริงๆนะคะ!

ในบางวัน...สถานการณ์ในชีวิตก็ลากเราขึ้นโรลเลอร์โคสเตอร์อารมณ์
จนคิดว่าถ้าเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อย ฉันต้องป่วยแน่ๆ
อดทนได้ก็อดทนไปก่อน...แต่ลืมไปว่าบางทีมันสะสมหมักหมมซะเหมือนท้องผูก!
เข้มแข็ง อดทน พยายามทำทุกอย่างให้ดีที่สุด! ใช่! ทุกอย่างจริงๆ
รวมถึงพยายามยิ้ม พยายามหัวเราะ พยายามมีความสุขด้วย!
จนถึงวันที่รู้สึกว่า นี่เรายิ้มอยู่ เราหัวเราะอยู่ จริงๆ หรือพยายามกันแน่?
โดยเวลาที่ไม่ต้องอยู่ต่อหน้าใคร หรืออยู่ในช่วงเวลาที่ไม่ต้องสนใจใคร
บางทีก็รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความรู้สึกอะไรเลยกับทุกเรื่อง ...
เหมือนมันชินชากับทุกอย่าง....ยิ้มยากหัวเราะยาก
เริ่มมองสิ่งรอบตัวแบบแค่ใช้หางตาปรายตามองอย่างไม่ได้ใส่ใจ
บางทีนอนดูทีวีหัวเราะคิกคักอยู่ที่บ้าน... อยู่ดีดีก็นิ่งไปด้วยความคิดที่ว่า
นาทีนี้หัวเราะไปก่อนเพราะยังมีเวลาหัวเราะ เพราะอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้าก็จะอยากอยากร้องไห้แล้ว
พอเริ่มสำรวจตัวเองดีดี .... ก็เริ่มรู้สึกว่าน่ากลัวว่า
ก็แอบคิดอยู่ว่านี่เราป่วยรึเปล่า?
แต่ก็ยังทะเลาะกับตัวเองอยู่ว่า ไม่หรอก... แค่ burn out!
Anhedonia โรคไม่ยินดียินร้าย หรือ ภาวะสิ้นยินดี
เพิ่งรู้ว่าอาการแบบนี้มันเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งได้ด้วย!
อาการผิดปกติที่ จะเฉยชาต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เอาตัวออกจากสังคม
ไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ส่วนใหญ่มักจะเจอในคนที่เป็นโรคซึมเศร้าหรือโรคไบโพลาร์อยู่แล้ว แต่ก็อาจพบในคนปกติทั่วไปได้เช่นเดียวกัน
แถมอาการอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
และเพศหญิงจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดได้มาก
พอเริ่มเห็นความเสี่ยงก็ต้องหาวิธีเยียวยาตัวเองก่อน
โชคดีที่เคยมีปัญหาด้านสภาวะจิตใจมาก่อน เลยค่อนข้างมีวิธีรับมือได้อย่างถูกต้องที่เหมาะกับเรา .... แต่ถ้าไม่ดีขึ้นก็คงต้องกลับไปซบอกคุณหมออีกครั้ง
ใดๆ คือ คงต้องยอมรับตัวเองก่อนว่าตอนนี้อยู่ในภาวะมีความเสี่ยง
ในเวลาที่ไม่แฮปปี้กับอะไร ก็ต้องยอมรับว่า เราไม่มีความสุข
หาที่พึ่งเพื่อพูดคุยบ้าง ถ้าเป็นคนไม่ค่อยมีเพื่อนสนิทจริงๆ
(อายุเกิน 20) ลองไปนั่งจิบเบาๆ คุยกับบาร์เทนเดอร์ หรือคนแปลกหน้าบ้างก็ได้
เวลาอึดอัดมากๆ พยายามปล่อยความรู้สึกออกบ้าง โกรธก็บอกโกรธ
อยากร้องไห้ก็ร้อง (แต่วิธีที่ว่ามาอาจจะไม่ได้เหมาะกับทุกคนนะ)
สำหรับใครที่ไม่เคยได้รับคำแนะนำในการจัดการกับความรู็สึกตัวเองมาก่อน
โทรหาเบอร์ hotline กรมสุขภาพจิต หรือ ลองไปนั่งคุยกับคุณหมอดูก็ไม่แย่นะ
รักและห่วงใย
อดีตผู้ป่วย
โฆษณา