20 ก.พ. 2023 เวลา 14:17 • การเมือง

การสูญเสียครั้งสำคัญและการเปลี่ยนแปลงในอดีตเมื่อปี 2540 ที่ควรรู้

หากถ้าใครยังจำกันได้เมื่อย้อนกลับไปเมื่อปี พศ.2540 ประเทศไทยได้สูญเสียบุคคลที่มีบทบาทสำคัญทางการเมืองของประเทศท่านหนึ่ง เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2540 ท่านผู้นั้นคือ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี 4 สมัยของไทย ซึ่งถึงแก่อสัญกรรม รวมอายุได้ 92 ปี สำหรับ
ประวัติคราวๆ นั้นม.ร.ว. เสนีย์ เป็นโอรสในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง (บุนนาค) เป็นพี่ชายชอง ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช จบการศึกษานิติศาสตร์จาก The Inns of Court School of Law (Grey’s Inn Place) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อเดินทางกลับมายังประเทศไทยก็ได้ศึกษาวิชากฎหมายไทยเพิ่มเติมจนได้รับเนติบัณฑิตไทย แล้วได้เป็นผู้พิพากษา การงานก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ
จนได้รับการแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้ประกาศนโยบายเป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับรัฐบาลในประเทศไทย คือ รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเข้าร่วมกับญี่ปุ่นและประกาศสงครามฝ่ายพันธ์มิตร ท่านได้รวบรวมคนไทยในอเมริกาจัดตั้ง ขบวนการเสรีไทย ขึ้นเพื่อต่อต้านญี่ปุ่นอย่างลับ ๆ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง
ท่านเดินทางมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 6 ของไทยเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2488 ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งท่านได้เจรจาให้การประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตรเป็นโมฆะ และดำเนินการเจรจาให้ไทยหลุดพ้นจากการเป็นอาณัติของอังกฤษ
ส่งผลให้ไทยไม่ตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 และไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ท่านหมุนเวียนเป็นนายกฯ อยู่ 4 ครั้ง ครั้งสุดท้าย ได้เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเข้ายึดอำนาจ หลังจากพ้นตำแหน่ง ท่านได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และวางมือจากการเมือง ใช้ชีวิตสงบเงียบตลอดมา ท่านได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่เป็นสุภาพบุรุษ เล่นการเมืองด้วยความบริสุทธิ์ โปร่งใสคนหนึ่ง
แต่เนื่องจากท่านและนายควงในฐานะผู้นำพรรคประชาธิปัตย์ มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากกับการใส่ร้าย นายปรีดี พนมยงค์ ต่อกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 อีกทั้งในพรรคก็มักจะเกิดความวุ่นวาย ท่านไม่สามารถควบคุมบริหารพรรคและรัฐบาลได้ สื่อมวลชนจึงตั้งฉายาว่า "ฤๅษีเลี้ยงลิง" หรือ "พระเจ้าตา"
จนลำดับมาถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกครั้งของประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 คือวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 ของประเทศไทย รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” ฉบับที่ดีที่สุด โดยในขณะนั้นผู้ผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คือ นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของประเทศไทย
1
ซึ่งหลังจากรัฐธรรมนูญ 2540 สิ้นสุดประเทศไทยก็มีรัฐธรรมนูญเพิ่มอีก 4 ฉบับ ปัจจุบันมีรัฐธรรมนูญ 2560 เป็นฉบับที่ 20 หลังรัฐธรรมนูญ 2540 ถูกยกเลิกตลอด 12 ปี เรามีกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ 2 ครั้ง คือ รัฐธรรมนูญ 2550 และรัฐธรรมนูญ 2560 และมีแนวโน้มที่อนาคตเรากำลังจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ซึ่งการจัดทำรัฐธรรมนูญในละยุคแต่ละสมัยมักจะมีการกล่าวถึงรัฐธรรมนูญ 2540 ทั้งๆ เป็นรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุด เหตุผลที่รัฐธรรมนูญ 2540 ถูกขนานนามว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เนื่องมาจากเป็นรัฐธรรมนูญที่มีส่วนร่วมจากประชาชนมากที่สุด บรรยากาศของสังคมไทยก่อนหน้ามีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540 นับว่าประชาชนมีความตื่นตัวเกี่ยวกับบ้านเมืองอย่างมาก ไม่เพียงแต่ในกรุงเทพฯ
แต่ยังกระจายไปยังทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยทำให้เกิดบรรยากาศชู “ธงเขียว” รณรงค์ให้รัฐสภารับร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ส.ส.ร. พบว่าประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากกว่า 800,000 คน ยังไม่รวมการมีส่วนร่วมที่ภาคประชาชน องค์กรธุรกิจ และพรรรคการเมืองจัดขึ้นกันเอง ซึ่งนี่คือสาเหตุสำคัญที่รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นที่ยอมรับของประชาชนโดยทั่วไปอย่างมาก
จนมาถึงปัจจุบันประชาชนยังคงเรียกร้องให้นำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ปี 2540 ฉบับนี้กลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็มีพรรคการเมืองที่รับลูกต่อที่จะพยายามผลักดันนำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 กลับมาใช้อีกครั้ง นั้นคือ พรรคชาติไทยพัฒนา โดยนายวราวุธ ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค ที่ได้ใส่เรื่องนี้ไว้ใน นโยบายการหาเสียงตั้งที่ใกล้จะเข้ามาถึงในเร็วๆนี้อีกด้วย เพราะอย่างไร นายบรรหาร ศิลปอาชา ผู้เป็นบิดา ก็ได้สร้างไว้เห็นผลและทำได้จริงมาแล้วด้วย
โฆษณา