28 ก.พ. 2023 เวลา 13:00 • ประวัติศาสตร์

ถอดบทเรียน การช่วงชิงทวีปแอฟริกา สุสานของคนขาว ตอนที่ 1/2

แอฟริกามีพื้นที่ใหญ่อันดับ 2 ของโลก รองจากเอเชีย
 
แต่คนไม่ค่อยรู้จัก จะมีแค่แอฟริกาตอนเหนือ ที่ติดกับเมดิเรเนียน
ส่วนหนึ่งเพราะแอฟริกายากต่อการเข้าถึง เพราะตอนบนเป็นทะเลทรายซาฮารา
เรามักได้ยินเรื่องราวแอฟริกาจากชาวตะวันตกหรือไม่ก็ตะวันออก
นักสำรวจโลกชาวจีน แม่ทัพเรือเจิ้งเหอ เคยเดินเรือจากจีน ข้ามสมุทรอินเดียไปเจอแอฟริกาตะวันออก ในสมัยของจักรพรรดิองค์ที่ 3 ของราชวงศ์หมิง คือ จักรพรรดิหย่งเล่อตี้
จนศตวรรษที่ 18 เราก็ยังรู้จักแอฟริกาเป็นพื้นที่แคบๆ แค่ 10%ของพื้นที่ทั้งหมด
เพราะแอฟริกามีมวลแผ่นดินขนาดใหญ่ ชาวยุโรปจะรู้จักก็เมื่อทำการค้าขาย กับชาวแอฟริกาที่อยู่ตามชายฝั่ง ไม่มีใครพูดถึงแอฟริกาตอนใน
สิ่งที่คนภาพนอก รู้จักแอฟริกมี 2 เรื่อง
1.เต็มไปด้วยสัตว์ร้าย
2.เป็นดินแดนของคนไม่มีอารยธรรม จนได้รับการขนานามว่าเป็น “สุสานของคนขาว”, “ทวีปแห่งความตาย” หรือ “กาฬทวีป” ทำให้ไม่ค่อยมีนักสำรวจเดินทางเข้าไปใจกลางของทวีปแอฟริกามากนัก
1884 มีการประชุม The Berlin Conference of 1884
ทั่วโลกได้รู้จักกับทวีปแอฟริกามากขึ้น ในฐานะทวีปที่ชาวตะวันตกผิวขาว 14 ชาติ จะเข้าไปแบ่งเค้ก จัดสรรพื้นที่กัน
จนปี 1885 มีเสนาบดีรัสเซีย เป็นประธาน และองค์ประชุม ที่ประกอบด้วยชาวยุโรป 13 ชาติ และสหรัฐ มาคุยเรื่องการแบ่งพื้นที่แอฟริกา แต่ไม่มีตัวแทนของคนแอฟริกาเข้าไปแม้แต่คนเดียว
การประชุมครั้งนั้น มีชื่อเรียกว่า The Scramble for Africa หรือ การช่วงชิงแอฟริกา บางคนเรียกว่าเป็นการล่าจักรวรรดินิยมระลอกที่ 2
ถามว่า การล่าจักรวรรดินิยมระลอกที่ 1 และ2 ต่างกันอย่างไร
สำหรับจักรวรรดินิยมครั้งที่ 1 เริ่มจากอาณาจักรออตโดมันครอบครองคอนสแตนติโนเปิลในปี 1453 เป็นการปิดทางการเดินเรือทิศตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ยุโรปยุคนั้นจึงเหมือนถูกบีบให้หาเส้นทางการค้าใหม่ ราชอาณาจักรโปรตุเกส สเปน ลงทุนกับการตั้งกองเรือสำรวจโลก ประสบความสำเร็จมากจากการค้นพบมวลแผ่นดินในอเมริกา
พอค้นพบก็ครอบครองแผ่นดินใหม่ กลายเป็นที่มาของลัทธิล่าจักรวรรดินิยมระลอกที่ 1 ตั้งแต่ ศตวรรณที่ 16-18
ตอนนั้นอเมริกากลาง อเมริกาใต้ ตกเป็นของสเปนและโปรตุเกส
อเมริกาเหนือ ตกเป็นของอังกฤษและฝรั่งเศส
พอสเปน โปรตุเกส เสื่อมบารมี อังกฤษก็เข้ามาครองโลก
หลังสงครามนโปเลียน มหาอำนาจอย่างฝรั่งเศส ขยายอำนาจต่อเนื่อง
ส่วนอังกฤษ ขยายจักรวรรดิตัวเองมาที่เอเชีย ครองอินเดียผ่าน The East India Company (EIC) ท้าทายราชสำนักต้าชิง ด้วยการชนะในสงครามฝิ่น
ตลอดเส้นทางนี้ โลกของเทคโนโลยีควบคู่ไปด้วย
ในศตวรรษ ที่19 เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม
วิทยาการใหม่ๆ ถูกพัฒนาขึ้น มีเครื่องจักรไอน้ำ รถไฟ อาวุธยุทโธปกรณ์ และวิทยาการทางการแพทย์
กลับมาที่แอฟริกา ยุโรป รู้ว่าทางใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีมวลแผ่นดินขนาดใหญ่คือ แอฟริกา
ศตวรรษที่ 17-18 ชาวยุโรปผิวขาวเริ่มกระบวนการค้าทาส ด้วยการจับชาวพื้นเมืองแอฟริกันในพื้นที่ชายฝั่งตะวันตก ส่งไปขายในดินแดนของพวกเขารวมทั้งในสหรัฐ
ทุกอย่างเกิดขึ้นจากการรู้จักแอฟริกาแค่ 10% ยังไม่ได้เข้าไปที่พื้นที่ใจกลางของแอฟริกา เพราะเคยมีคนไปแล้วต้องทิ้งชีวิตไว้ที่นั่น เพราะป่วยเป็นโรคมาเลเรีย จากยุงแอฟริกา
จนกษัตริย์​เบลเยียม Leopold2 อยากจะมีเมืองขึ้น เลยว่าจ้างนักสำรวจชาวเวลล์ให้ไปสำรวจใจกลางแอฟริกา เพื่อหวังส่งกองกำลังเข้าไปยังดินแดนที่ยังไม่มีใครกล้าเข้าไปยึดครอง
การเดินทางของทีมนี้ ต่างจากทีมนักสำรวจอื่นๆ เขาคิดว่า โลกนี้น่าจะมีกลไกปกป้องตัวเองจากไข้ป่า ลดอัตราการตายจากยุงแอฟริกา เลยไปนำยาควินินที่สกัดจากใบซิงโคนา ทำให้ชาวยุโรปมีเกราะป้องกัน
ผลของการค้นพบดังกล่าว ทำให้คณะสำรวจนี้ไม่ป่วยหนัก และไม่ตายจากไข้ป่าอีกต่อไป และทำให้เบลเยี่ยมสามารถ ยึดพื้นที่แห่งหนึ่ง ที่มีพื้นที่กว่า 2 ล้านตารางกิโลเมตร
จากจุดเริ่มต้นดังกล่าว ทำให้ยุโรปผิวขาว ทะลุทลวงเข้าใจกลางแอฟริกาได้
ใช้เรือไอน้ำ แทนเรือใบหรือเรือแจว ที่ต้องอาศัยลมและกำลังคน
ที่สำคัญพอเป็นเครื่องจักร ไม่ต้องห่วงเรื่องระยะทาง
ชาวยุโรป เข้ามาในแอฟริกาได้สะดวกและรวดเร็ว
คำถามคือ แล้วชาติยุโรปจะแบ่งเค้กกันอย่างไร
ให้ได้ดินแดนที่ดี แถมไม่ต้องมารบกันเอง
ติดตามตอนหน้า..
ที่มา : 8 Minute History EP.189
โฆษณา