Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
What?
•
ติดตาม
1 มี.ค. 2023 เวลา 07:00 • ประวัติศาสตร์
ถอดบทเรียนการช่วงชิงแอฟริกา สุสานของคนผิวขาว ตอนที่ 2/2
ความเดิมตอนแล้ว ได้เกริ่นไว้ถึงการประชุมของคนผิวขาว เพื่อแบ่งพื้นที่แอฟริกา ซึ่งในอดีตฝรั่งขาวยุโรปรู้จักแอฟริกาแค่ 10% จากพื้นที่ทั้งหมดกว่า 30 ล้านตารางกิโลเมตร อีก 90% เป็นพื้นที่ที่เข้าไม่ถึง
เพราะด้วยภูมิประเทศที่มีผืนทรายซาฮารา และไข้ป่า ซึ่งมาจากยุงแอฟริกา ที่ถือว่าผนังทองแดง กำแพงเหล็ก แต่หลังจากค้นพบยาควินิน ซึ่งเป็นสารสกัดจากใบซิงโคนา ทำให้ชาวยุโรปมีเกราะป้องกันการเดินหน้าเข้าไปสำรวจแอฟริกา
จนทำให้พระเจ้า Leopold ที่ 2 แห่งเบลเยียม สามารถยึดครองพื้นที่กว่า 2 ล้านตารางกิโลเมตร เป็นเมืองขึ้นส่วนพระองค์
จุดชนวนให้ยุโรปทั้งทวีปมองว่า เบลเยียมเข้าไปได้ เราก็เข้าไปได้
เพราะเป็นช่วงที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการผลิตสินค้า
เลยยิ่งต้องการวัตถุดิบธรรมชาติจากแอฟริกา เช่น ยาง ปาล์มน้ำมัน งาช้าง เพชร ชา ดีบุก
คำถามคือ แต่ละชาติทำอย่างไร?
1
ต้องบอกว่า ฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับยุคสาธารณรัฐที่ 3 ส่งนักสำรวจเข้าไปบริเวณแม่น้ำคองโก เลยจับจองพื้นที่ตรงคองโก ในปัจจุบัน
ส่วนอังกฤษ-ยึดตอนใต้สุด ตรงเคปทาวน์ จากดัตซ์ ส่วนตอนเหนือ ก็มีอียิปต์ เป็นส่วนหนึ่งมาเป็นเวลาหนึ่งแล้ว ยังร่วมกับออตโตมันและฝรั่งเศส ขุดคลองสุเอซ ในปี 1869
เพราะฉะนั้น พอชาติอื่นจะมาแบ่งเค้กแอฟริกา เลยนิ่งเฉยไม่ได้
และต้องเข้าร่วมประชุม
แต่เพราะคิดว่า ไม่อยากให้แอฟริกา เป็นสมรภูมิในการสู้รบ
เลยเป็นที่มาของการประชุมแบ่งเค้กแอฟริกาที่เบอร์ลิน (Scramble of Africa)
เกิดขึ้นที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ในปี 1884
องค์ประชุมประกอบด้วยชาวยุโรปทั้ง 13 ประเทศและสหรัฐ รวมเป็น 14 ประเทศโดยที่ชาวพื้นเมืองไม่ได้มีส่วนรับรู้ถึงการประชุมครั้งนี้แม้แต่น้อย
การประชุมครั้งนั้นกินเวลา 3 เดือน กว่าจะแบ่งพื้นที่ลงตัว
หลังจากนั้น 30 ปี ชาวตะวันตก 7 ชาติ เข้าไปแบ่งพื้นที่ในแอฟริกาเกือบสมบูรณ์ ประมาณ 95%
เหลือ 2 พื้นที่ คือ ไลบีเรีย อยู่ทางตะวันตก เพราะมีความสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐ ในฐานะรัฐบริวาร อีกพื้นที่คือ เอธิโอเปียในปัจจุบัน
แต่ท้ายสุด หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็ถูกเขมือบอยู่ดี
การยึดครองพื้นที่ทุรกันดารนี้ก็ไม่ง่าย เพราะคนในท้องถิ่นก็ไม่ได้รู้เห็น
แต่เพราะยุโรปเองก็เข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้สามารถใช้เรือกลไฟ แล่นได้เร็ว ไม่ต้องอาศัยฝีพาย
มีเครือข่ายรถไฟที่ยุโรปนำมาติดตั้ง และลำเลียงกำลังพลเข้าไปได้หลักพันหลักหมื่น
เข้าครอบครองพื้นที่ต่างๆ ของแอฟริกาได้อย่างง่ายดาย
เช่น Cape to Cairo Network เชื่อมโยงระยะทาง 5000 กิโลเมตร จากเคปทาวน์ทางตอนใต้ไปไคโรทางตอนเหนือ
เครือข่ายรถไฟของชาติยุโรป ทำให้ลำเลียงกำลังคนและยุโธปกรณ์ได้สะดวก
ยุคนั้นเกิด Maxim Gun ยิงได้ทีละเป็นสิบนัด ทำให้สยบคนพื้นเมืองได้
ผลจากการแบ่งเค้ก
ฝรั่งเศสได้พื้นที่ไปมากที่สุด แต่เป็นพื้นที่ที่ทะเลทรายซาฮารา ครอบครองบริวาร 17% รองจากอังกฤษ แต่ครองบริวาร มากที่สุด 30%
ปิดท้ายด้วยเกร็ดที่น่าสนใจ
เมื่อชาติตะวันตกเข้าไปมีอำนาจ ก็มีการใช้เแรงงานคนพื้นเมือง
แต่ละชาติมีวิธีการต่างกันไป ที่โหดสุด คือ พระเจ้า Leopold ที่ 2 แห่งเบลเยียม
ที่ต้องการให้แรงงานกรีดยางให้ได้จำนวนที่ตั้งเป้า จะตัดมือคนงานทั้งมือ เพื่อตักเตือน
ถ้าหากทำไม่ได้อีก จะเอาลูกแรงงานมาตัดมือ ทำไม่ได้อีกก็ตัดเท้า เพื่อข่มขู่พ่อแม่ให้หลาบจำถึงการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ
ที่มา : สรุปมาจาก การแบ่งเค้กแอฟริกาที่เบอร์ลิน (Scramble of Africa Part 2/2) | 8 Minute History EP.190
ประวัติศาสตร์
ธุรกิจ
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ถอดบทเรียนความรู้ดีๆ จาก 8 Minute history
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย