8 มี.ค. 2023 เวลา 12:25 • ธุรกิจ

ศิลปะการต่อรอง ตอน 6 กลยุทธ์ในการโน้มน้าวใจ

หากคุณกำลังต้องการอะไรบางอย่างจากผู้อื่นอยู่ ความรู้ในวันนี้ ได้มาจากคลิปวีดีโอของ London Business School ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการทำงาน การลงทุน และการทำธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง หากได้รับการฝึกฝนประยุกต์ใช้ หรือแม้กระทั่งนำความรู้ได้มาสร้างแนวทางเพื่อเพิ่มความได้เปรียบให้ตัวคุณเอง ได้อย่างแน่นอน
หากพูดถึงหลักในการเจรจาต่อรองแน่นอนว่า การเจรจาต่อรองโดยการโน้มน้าวใจ จะสามารถให้ผลลัพธ์ที่น่าประทับใจและมีความยั่งยืน มากกว่าการเจรจาฆ่าฟันเพื่อเอาชนะเป็นแน่
แล้วกลยุทธ์ในการโน้มน้าวใจ ทั้ง 6 นั้นมีอะไรบ้าง?
สร้าง/ตอบแทน บุญคุณ (เป็นผู้ให้ และ ผู้รับ)
1. การสร้าง/ตอบแทน บุญคุณ
หลักการโดยรวมของข้อนี้ คือ การแลกเปลี่ยน เป็นผู้ให้ และ ผู้รับ
คุณเคยรู้สึกไหมว่า เมื่อคุณได้รับการร้องขอความช่วยเหลือ จากผู้ที่มีพระคุณกับคุณ หรือผู้ที่เคยให้ความช่วยเหลือคุณมา หากความช่วยเหลือนั้นมันไม่ได้หนักหนาเกินไป คุณมักยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือ ทำ หรือ ให้ ในสิ่งที่เขาต้องการ เพื่อตอบแทนบุญคุณ
นอกจากนี้ เมื่อคุณทำอะไรบางอย่างเพื่อตอบแทนบุญคุณไปแล้ว ผู้ที่เคยมีพระคุณก็มีแนวโน้มที่จะอยากช่วยเหลือเพื่อตอบแทนน้ำใจให้คุณอีก
📌 ตัวอย่างกลยุทธ์ในการสร้าง/ตอบแทนบุญคุณ
  • มอบกระเช้าของขวัญ
  • เลี้ยงอาหารลูกค้า
  • การให้ของสมนาคุณ/ของที่ระลึก
  • การให้ความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะในเรื่องเงิน การช่วยเหลืองานศพ งานมงคล ของนักการเมือง
การประกาศเจตนารมณ์/รักษาจุดยืน
2. การประกาศเจตนารมณ์/รักษาจุดยืน
จุดยืนจะเป็นอะไรก็ได้ เช่น พรรคการเมืองที่สนับสนุน สถาบันที่จบการศึกษา แนวทางการลงทุน บุคคลที่ชอบ พฤติกรรมการบริโภค ทีมกีฬา ฯลฯ คุณสามารถแสดงจุดยืนของคุณตั้งแต่ต้น หากรักษาจุดยืนนั้นให้ได้ จะเป็นผลดีกับคุณต่อไปในอนาคต เพราะจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ น่าเกรงขามให้ตัวคุณเอง
นอกจากนี้ การโน้มน้าวใจผู้ที่เห็นด้วย หรือ มีจุดยืนเดียวกับคุณ จะมีโอกาสสำเร็จมากกว่าด้วย
📌 ตัวอย่างกลยุทธ์การประกาศเจตนารมณ์/รักษาจุดยืน
  • การสร้างชมรม
  • การสร้างผลิตภัณฑ์ภัณฑ์เฉพาะกลุ่ม เช่น รักษ์โลก
  • การแจกสติกเกอร์หรือผลิตภัณฑ์เพื่อรณรงค์อะไรบางอย่าง (เพื่อในอนาคตเราอาจขอความอนุเคราะห์ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้าง จากคนที่รับสติกเกอร์นั้น)
  • การปักป้ายพรรคการเมืองตามบ้าน
https://www.express.co.uk/life-style/science-technology/604588/iPhone-6S-Apple-Store-iOS-App-Skip-Queue-Pre-Order
3. คนหมู่มาก/การยอมรับในสังคม
ข้อนี้อ้างอิงพื้นฐานทางจิตวิทยาของมนุษย์ที่ต้องการการยอมรับในสังคม ไม่ต้องการเป็นผู้ที่แปลกแยก เห็น ผู้อื่น/คนดัง ทำ ก็อยากทำบ้าง คือ การใช้คนหมู่มาก หรือ วัฒนธรรมความเชื่อทางสังคม มาชวนเชื่อ สร้างคุณค่า หรือแม้กระทั่ง กดดัน โดยคนหมู่มากนี้ แท้จริงแล้วอาจเป็นหน้าม้าก็ได้
📌 ตัวอย่างกลยุทธ์ใช้คนหมู่มาก
  • การประมูล (ทำให้รู้สึกว่าคนอื่นก็ต้องการสินค้า)
  • การให้แสดงผลลัพธ์ทางการทดลองในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
  • การให้คนต่อแถวหน้าร้านอาหาร
  • อ้างอิงคนส่วนใหญ่ก็ทำกัน
  • เสียงหัวเราะในซีรี่ย์ตลก
  • ธุรกิจเกี่ยวกับการแต่งงาน
ความชื่นชอบ
4. ความชื่นชอบ
เชื่อหรือไม่ว่า บุคลิกภาพ การแต่งกาย หรือแม้กระทั่งหน้าตา ก็มีผลต่อผู้ที่ถูกโน้มน้าวจิตใจทั้งสิ้น หรือแม้กระทั่งความมีชื่อเสียง รวมถึงความชื่นชอบในตัวบุคคลที่ผู้ถูกโน้มน้าวมี
ดังนั้น หากคุณลักษณะภายนอกหรือภายในของคุณยังไม่เหมาะ คุณอาจใช้วิธีให้คนอื่นมาเจรจาแทนคุณก็ได้
📌 ตัวอย่างกลยุทธ์ใช้ความชื่นชอบ
  • การให้นักร้อง/ดารา/อินฟลูเอนเซอร์ มาโปรโมทสินค้า
  • การคัดรูปร่างหน้าตาของบุคลากรเพื่อทำหน้าที่ในฝ่ายขาย
รู้หรือไม่ ‼️
เคยมีงานวิจัยสรุปผลออกมาว่า ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ผู้สมัครที่ตัวสูงกว่า มักจะได้รับเลือก
ใช้เครื่องแบบ
5. เครื่องแบบ
อีกกลยุทธ์ในการโน้มน้าวใจให้ผู้อื่นทำตามที่คุณต้องการ ก็คือการใช้บุคคลในเครื่องแบบเข้ามาช่วยเจรจา โดยเครื่องแบบที่ว่า ไม่ใช่เพียงแค่ตำรวจเท่านั้น แต่รวมถึงแพทย์ นักบิน ครู ฯลฯ ที่มีความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ยังมีความหมายรวมไปถึงการแต่งกายให้ดูภูมิฐาน น่าเชื่อถืออีกด้วย ซึ่งแน่นอนว่าแท้จริงแล้วบุคคลในเครื่องแบบ อาจไม่ได้มีอาชีพนั้นจริงๆก็ได้ ดังนั้นระวังให้ดี
📌 ตัวอย่างกลยุทธ์การใช้เครื่องแบบ
  • การใช้นักแสดงใส่ชุดแพทย์ในผลิตภัณฑ์โฆษณาต่างๆ หรือมีการบอกว่าทันตแพทย์แนะนำ ทั้งที่ไม่สามารถแนะนำได้ตามหลักจรรยาบรรณแพทย์
  • การอ้างอิงบุคคล ผู้บริหาร หรือ แหล่งข้อมูล ที่น่าเชื่อถือ
คำถามชวนคิด❓
หากมีคนใส่เสื้อโปโลมีตราพนักงานการไฟฟ้า เดินเรียกเก็บค่าบริการพิเศษรายเดือนตามบ้าน คุณจะยอมชำระเงินหรือไม่
การใช้ข้อจำกัด
6. การใช้ข้อจำกัด
ข้อจำกัด ทำให้ข้อเสนอ หรือ ผลิตภัณฑ์ของคุณมีคุณค่ามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดทางด้านปริมาณ ทรัพยากร หรือ แม้กระทั่งระยะเวลาในการตัดสินใจ นอกจากนี้ยังรวมถึงการใช้ความยากในกระบวนการผลิตอีกด้วย
ตัวอย่างกลยุทธ์การใช้ข้อจำกัด
  • การประมูล(ทำให้รู้สึกว่าคนอื่นจะแย่งไป)
  • ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ/เหมืองแร่/น้ำมัน
  • การกำหนดวันหมดเขต / จำนวนสิทธิ์
รู้หรือไม่ ‼️
เพชร เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กลยุทธ์ข้อจำกัด ร่วมกับการทำการตลาด ในการสร้างคุณค่าให้ตัวผลิตภัณฑ์ ได้อย่างชาญฉลาด เนื่องจากผู้ผลิตได้ทำการ ควบคุม/จำกัด ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องในการผลิต ให้ผลิตออกมาได้ยาก ทั้งที่จริงๆแล้วทรัพยากรไม่ได้มีจำกัดอย่างที่คุณคิด ควบคู่กับการโฆษณาสร้างความพิเศษ ความหรูหรา ว่าเป็นของที่ต้องใช้ให้คู่ควรกับหญิงสาวในงานแต่งงาน
อ่านแล้วเป็นอย่างไรบ้าง หากบทความนี้มีประโยชน์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของคุณได้ อย่าลืมส่งต่อ และ กดติดตาม เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้สรุปได้ที่
หากชื่นชอบบทความนี้ สามารถสมทบทุนค่ากาแฟให้ผู้สรุปได้ที่นี่
สมทบทุนค่ากาแฟให้ผู้สรุปได้ที่นี่
โฆษณา