9 มี.ค. 2023 เวลา 08:41 • ประวัติศาสตร์

ถอดบทเรียนอินเดีย-ปากีสถาน โศกนาฏกรรมที่เกิดจากความต่างทางศาสนา

ความเดิมตอนที่แล้ว หลังจากกลุ่มแกนนำในอินเดียเสียงแตก
ในการหารือถึงอนาคตของอินเดียหลังได้รับเอกราช
ผู้นำทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่
-Lord Louis Mountbatten อุปราชคนสุดท้ายของ British Empire
- Muhammed Ali Jinnah ผู้นำของกลุ่มที่เป็นอิสลาม ที่ต้องการแบ่งแยกประเทศให้ชาวมุสลิม
- Jawaharlal Nehru ซึ่งอยาให้อินเดียเป็นรัฐเดี่ยว
สุดท้าย ลงเอ่ยด้วยการเห็นพ้องว่า​ ถ้าอยู่ด้วยกัน อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงในอนาคตอันใกล้ เลยตัดสินใจให้มีการแยกประเทศ โดยวางแนวพรมแดนใหม่ภายใต้ข้อจำกัดด้านความแตกต่างทางศาสนาของชาวอินเดีย
หลังจากได้ข้อสรุป​ รัฐบาลลอนดอน ได้แต่งตั้ง Sir Cyril Radcliffe ซึ่งเป็นนักกฎหมาย เข้ามาทำหน้าที่แบ่งพื้นที่
โดยเขามีเวลาที่จะทำแผนที่สองประเทศ เพียงแค่ 1 เดือน ก่อนที่อังกฤษจะมอบเอกราชให้ปากีสถาน ในวันที่ 14 สิงหาคม 1947 และอินเดีย ในวันถัดมา คือ 15 สิงหาคม 1947
ทั้งสองชาตินี้จึงการฉลองวันชาติติดกัน
ด้วยเวลาที่สั้น โจทย์ของ Sir Cyril Radcliffe คือ ทำอย่างไรเพื่อลดความขัดแย้งให้ได้มากที่สุด
หลักในการเขียนเส้นแบ่งระหว่างประเทศเบื้องต้น เขาเน้นว่า ต้องคำนึงถึงความแตกต่างของชุมชนที่นับถือศาสนาต่างกัน
หลังจากนั้นต้องมาดูลักษณะภูมิประเทศ (ภูเขา แม่น้ำ ลำคลอง) โครงสร้างพื้นฐาน เพื่อประกอบแนวทางในการกำหนดเส้นเขตแดน
1
แต่ปัญหา คือ ไม่ว่าจะวางเส้นแบ่งอย่างไร Sir Cyril Radcliffe พบว่า ชุมชนทั้งสามศาสนา อยู่คละกันทุกที่ จนแยกจะออกแยกได้ชัดเจน
แถมไม่ว่าวางเส้นตรงไหน โอกาสที่เพื่อนบ้านที่นับถือศาสนาต่างกัน จะลุกขึ้นมาจับอาวุธและฆ่ากัน ก็เป็นไปได้มาก
ความสงบที่หวังว่าจะเกิดขึ้น จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย..
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น Sir Cyril Radcliffe ก็ทำหน้าที่ของตัวเองจนสำเร็จลุล่วง ตามกำหนดเวลา และบินกลับลอนดอน
หลังจากนั้น เขาไม่เคยบินกลับมาอินเดียอีกเลย จนวาระสุดท้ายของชีวิต
แล้วเส้นแบ่งพรมแผนที่ Sir Cyril Radcliffe ขีดไว้เป็นอย่างไร?
ถ้าไปดูจากแผนที่จะเห็นว่า เส้นแบ่งนั้น ทำให้อินเดีย ตัดแบ่งออกเป็นสองส่วน
โดยอินเดีย อยู่ตรงกลาง มีขนาดใหญ่ที่สุด
ส่วนปากีสถานเป็นรัฐเกิดใหม่ ที่ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนแยกจากกัน
โดยไม่มีพื้นที่เชื่อมกันเลย ทั้งที่อยู่ภายใต้รัฐบาลเดียวกัน
ปากีสถานทั้งสอง แบ่งเป็น ปากีสถานตะวันตก ​ และ ปากีสถานตะวันออก ซึ่งในปี 1971 ได้แยกตัวออก และเป็นบังกลาเทศ ในปัจจุบัน
โดยคำว่า บังกลาเทศ หมายถึง ประเทศแห่งเบงกอล
ลักษณะภูมิประเทศ คือ ที่พื้นที่ 3 ด้านติดกับอินเดีย อีกด้านติดกับอ่าวเบลกอล
ประชากรกว่า 90% นับถือศาสนาอิสลาม
หลังประกาศแผนที่ ทำให้ต้องเกิดการอพยพครั้งใหญ่
ชาวมุสลิมในอินเดีย ต้องอพยพไปอยู่ปากีสถาน
ส่วนชาวฮินดูและซิกข์ในปากีสถาน ต้องอพยพมาอยู่อินเดีย
โดยคนทั้งสามศาสนาที่ต้องโยกย้ายเพื่อไปอยู่ในพื้นที่คิดว่าปลอดภัย มีจำนวนถึง 15 ล้านคน ที่น่ากังวลว่า ต่างฝ่ายต่างตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ไว้เนื้อเชื้อใจกัน
ระหว่างการอพยพ จึงมีเหตุการณ์ทางมีการทำร้าย สังหารกัน
จนคร่าชีวิตคนไปกว่า 1 ล้านคน ทั้งที่ไม่ใช่สงคราม
ขณะที่สภาพโดยรวมของอินเดียในเวลานั้น ก็เต็มไปด้วยความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน
รุนแรงถึงขั้นในปี 1948 มหาตมะ คานธี บุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นพ่อของประเทศ ถูกลอบสังหารโดยชาวฮินดู ที่มองว่ามหาตมะ คานธี ไม่ได้คุ้มครอง ปกป้องประเทศเพื่อชาวฮินดูอย่างดีที่สุด
และนี่คือ ความเป็นมาของประวัติศาสาตร์ การมอบเอกราชคืนแก่อินเดีย ที่ดูเหมือนน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของความผาสุก แต่กลับนำไปสู่ความสูญเสียมากที่สุดของมวลมนุษยชาติไม่ต่างจากสงครามอื่นๆ ที่เคยเกิดขึ้นทั่วโลก
ที่มา ถอดบทเรียนอินเดีย-ปากีสถาน โศกนาฏกรรมที่เกิดจากความต่างทางศาสนา | 8 Minute History EP 137
โฆษณา