Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
What?
•
ติดตาม
20 เม.ย. 2023 เวลา 05:03 • ประวัติศาสตร์
รวมข้อพิพาทของนักประวัติศาสตร์ มาร์โค โปโล มีตัวตนจริงหรือไม่? (2/2)
ความเดิมตอนที่แล้ว พูดถึงหนังสือ Il Milione รวมเรื่องโม้หนึ่งล้านครั้งของ มาร์โค โปโล ซึ่งถือเป็นหนังสือที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์โลกเป็นอย่างยิ่ง แต่กลับเป็นหนังสือที่นักประวัติศาสตร์หลายสำนักต่างตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องราวในหนังสือเล่มนี้ว่ามีความเป็นจริงมากแค่ไหน?
ย้อนไปสู่ที่มาของหนังสือเล่มนี้ ซึ่งมีการเขียนขึ้นในต้นศตวรรษที่ 14
ซึ่งเป็นยุคยุคก่อนที่โยฮันเนส กูเทนเบิร์กจะประดิษฐ์แท่นพิมพ์ ในปี 1440 หรือ 150 ปีก่อนหน้านั้น
เพราะฉะนั้น หนังสือ Il Milione ที่มีด้วยกัน 150 ฉบับจึงเป็นหนังสือที่ถูกคัดลอกมือ
โดยหนังสือเล่มนี้เขียนด้วยภาษาออริจินัล เพราะยุคนั้นยังไม่มีภาษาอิตาเลียน
รุสติเชลโล ดา ปิซา เป็นคนปิซา เลยเขียนภาษาฝรั่งเศสเวเนเชียน
หลังจากนั้นมีการนำไปแปลไปในภาษาอื่นๆ เช่นภาษาเวนิส ซึ่งเป็นฉบับนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยม ต่อมาถูกแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสและภาษาลาติน ซึ่งเป็นฉบับที่สำคัญที่สุด และมีการอ้างอิงเยอะที่สุด โดยแปลหลังจากเวอร์ชันออริจินัล 3 ปี
โดยในแต่ละเวอร์ชั่นอาจจะมีข้อมูลบางอย่างที่แตกต่างกันไปบ้าง
วิธีที่นักประวัติศาสตร์ใช้พิสูจน์มีหลายวิธีด้วยกัน โดย 2 หัวข้อหลักๆ คือ
1.มาร์โค โปโลเดินทางไปยังประเทศจีนจริงหรือไม่?
2.มาร์โค โปโลมีตัวตนจริงในฐานะพลเมืองของสาธารณเวนิชจริงหรือไม่?
แนวทางของนักประวัติศาสตร์คือกลับไปดูบันทึกของสำนักวาติกันว่า สิ่งต่างๆ ที่มาร์โค โปโลอ้างถึงวาติกัน มีบันทึกไว้หรือไม่ เพราะศาสนจักรเวลานั้น มีการบันทึกที่ละเอียดและต่อเนื่อง
เพราะฉะนั้นถ้ามีอะไรที่เกี่ยวกับบัญชาของพระสันตประปา เช่น การส่งนักบวช 2 รูปไปยังต้าหยวน ถ้ามีจริงก็ต้องถูกบันทึก
นอกจากนี้ การตรวจหาชื่อของนักบวขแห่งราชสำนักหยวนที่เป็นชาวเวนิชก็น่าจะมีการจดบันทึกในพงศาวดารจีนอยู่บ้าง
แต่ปรากฏว่า แหล่งจีนไม่ได้บันทึกเอาไว้เลยว่ามีคนชื่อ มาร์โค โปโล หรือฝรั่งที่มีลักษณะเหมือนเขาเอาไว้ในบันทึกของจีนฉบับใดๆเลย
สำหรับบันทึกของสาธารณรัฐเวนิส ที่มีระบบสำมโนประชากรชัดเจนตั้งแต่ยุคนั้น ก็ไม่มีบันทึกคนที่ชื่อมาร์โค โปโล
ขณะที่สำนักวาติกันก็ไม่มีบันทึกเกี่ยวกับการส่งนักบวชไปมองโกล
นอกจากนี้ยังมีการพิสูจน์สิ่งที่มาร์โค โปโล พูดถึงแผ่นดินจีน
จุดที่น่าสนใจคือ หนังสือทั้ง 4 เล่มของมาร์โค โปโล ไม่ได้พูดถึงกำแพงเมืองจีน ตะเกียบ การรัดข้อเท้าของหญิงสูงศักดิ์ชาวจีน ทั้งที่ใครไปที่จีนช่วงนั้น น่าจะมีการจดบันทึก 3 สิ่งนี้เอาไว้
เพราะกำแพงเมืองจีนยักษ์ใหญ่ จนไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์จะสร้างได้
ชาวยุโรปกินอาหารด้วยช้อนและส้อม แต่คนจีนกินด้วยตะเกียบ
การรัดข้อเท้าของหญิงสูงศักดิ์ชาวจีน เป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ยุโรป
ดังนั้น คนที่ไม่เชื่อว่า มาร์โค โปโลไปเมืองจีน หรือ มีตัวตนจริง
คิดว่า เขาน่าจะประมวลผลจากพ่อค้าชาวอาหรับ จากเอเชียกลางที่เดินทางไปค้าขายที่เวนิซ แล้วนำมาประมวลเพื่อเล่าให้รุสติเชลโล ดา ปิซา ฟัง
แต่ถึงอย่างนั้น หากจะฟันธง และสรุปเช่นนั้น ก็อาจจะไม่สมเหตุสมผล
เพราะ ยังมีรายละเอียดอีกหลายจุด และข้อโต้แย้งบางอย่างที่ทำให้น่าเชื่อว่า มาร์โค โปโลไปเมืองจีน หรือ มีตัวตนจริง
ประเด็นแรก คือ การที่มาร์โค โปโล พูดถึงการใช้ตั๋วแลกเงินหรือธนบัตรในจีน
ต้องบอกว่า เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นในยุโรปในช่วงเวลาของเขามาก่อน เพราะยุโรปยังใช้โลหะหลอมเป็นเงิน
ดังนั้น ที่มาร์โค โปโล เล่าได้ อาจเพราะเคยไปจีนหรือประเทศที่ใช้ธนบัตรหรือตั๋วแลกเงิน ไม่เช่นนั้น จะนำจินตนาการมาจากไหน
นอกจากนี้การที่พูดถึงคลองใหญ่ขนาดยักษ์ ที่ใช้เดินทางจากตอนเหนือไปตอนใต้
ก็เป็นคลองที่มีอยู่จริงในจีน ซึ่งไม่เคยถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ยุโรป
อีกเรื่อง คือ การพูดถึงสถาปัตยการในการสร้างสะพานเพื่อชะลอน้ำของหยางโจว
เขาได้บรรยายรูปลักษณ์ และตรงกับความเป็นจริงที่มีที่หยางโจว
ส่วนประเด็นที่มาร์โค โปโล ซึ่งเดินทางไปถึงจีนตอนอายุ 21 ปี เล่าว่าได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าหลวง เดินทางไปตรวจราชการทางตอนใต้ที่เจียงหนาน ที่หลายคนมองว่าไม่สมเหตุสมผลอย่างยิ่ง
แต่ถ้าไปดูบันทึกและวิธีการบริหารราชการของราชวงศ์หยวนหรือมองโกลในเวลานั้น จะพบว่า สอดคล้องกับสิ่งที่มาร์โค โปโลเล่า
เพราะชาติมองโกลรู้ดีว่าตัวเองเกิดมาเป็นชาตินักรบ ไม่ได้เกิดมาเพื่อปกครอง จึงใช้คนต่างชาติทุกชาติที่พบเจอ ยกเว้นชาวฮั่นในการปกครองแผ่นดินจีน
ดังนั้น ข้าหลวงในราชสำนักของมองโกล ก็จะมีชาวชิตัน ชาวต้าเหลียวมาเป็นข้าราชบริพารไม่ใช่เรื่องแปลก การนำเอาชาวหนี่เจินบางส่วนที่แพ้สงครามมาปกครองชาวฮั่นก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น
พอไปทำสงครามที่เอเชียกลาง ก็ได้นักปราชญ์ชาวอารบิก มุสลิม เข้ามาช่วยบริหารแผ่นดิน
ที่สำคัญ มองโกลเป็นพวกยอมรับความต่างทางศาสนาและความเชื่อทุกรูปแบบ เปิดโอกาสให้คนที่นับถือศาสนาแตกต่างกันอยู่ร่วมกันในจักรวรรดิ
ไม่ว่าจะเป็น อิสลาม พุทธ คริสต์ เลยไม่แน่แปลก ถ้าขอให้นักบวชวาติกันเข้าไปช่วยบริหารราชการแผ่นดิน เมื่อไม่ได้นักบวชเลยให้ มาร์โค โปโลเป็นผู้ตรวจราชการแผ่นดิน
อีกจุดที่ไม่ได้พูดถึงกำแพงเมืองจีน มีนักประวัติศาสตร์บอกว่า เบื้องต้นกำแพงเมืองจีนมีไว้เพื่อป้องกันการรุกรานอาณารยชนทางเหนือเข้าสู่แผ่นดินฮั่น
ในเมื่อยุคมองโกล กำแพงเมืองจีนไม่ได้ทำหน้าที่นี้ ราชสำนักมองโกลไม่ได้มองว่ากำแพงเมืองจีนเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ยิ่งใหญ่แต่มองว่าเป็นความล้มเหลวมากกว่า เลยยากที่จะตัดสินใจว่า มาร์โค โปโล ไม่ได้ไปจีน
เช่นเดียวกับการที่ชื่อของ มาร์โค โปโล ไม่ได้ถูกบันทึก ก็เป็นไปได้ว่า เขาเป็น 1 ในชาวต่างชาตินับพันนับหมื่น ที่รับใช้ราชสำนักหยวน จึงไม่ได้โดดเด่นพอที่จะต้องบันทึก
อย่างไรก็ตาม แม้เรื่องราวของมาร์โค โปโล จะเป็นโจทย์ในการยืนยันข้อเท็จจริง
และไม่ง่ายที่จะพิสูจน์ แต่เรื่องราวของเขาก็เป็นแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ให้กับ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ในการค้นพบทวีปอเมริกา
ที่สำคัญ คือ อีก 150 ปีต่อมา พอมีแท่นพิมพ์ หนังสือ Il Milione กลายเป็นถูกพิมพ์มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกในเวลานั้น รองจากพระคัมภีร์ไบเบิล
ที่มา : 8 Minute History EP.149
ความรู้รอบตัว
ประวัติศาสตร์
จีน
บันทึก
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ถอดบทเรียนความรู้ดีๆ จาก 8 Minute history
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย