15 มี.ค. 2023 เวลา 13:56 • ประวัติศาสตร์

สื่อกลางความสัมพันธ์ ไทย-ซาอุ วราวุธเชื่อมธุรกิจสีเขียวเน้นลูกค้าตะวันออกกลาง

.
วันนี้ขอหยิบบทความหนึ่งของ ผู้เขียนที่มีนามปากกาว่า “เปลวสีเงิน” ของสำนักข่าวไทยโพสต์ ที่เขียนถึง ท่านรัฐมนตรีวราวุธ ศิลปอาชา ว่า
"วราวุธ ศิลปอาชา" รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ท่านนี้
ในการประชุม APEC 2022 ที่กรุงเทพฯท่านได้รับแต่งตั้งเป็น "รัฐมนตรีเกียรติยศประจำพระองค์"
"เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด" มกุฎราชกุมาร
และนายกรัฐมนตรี แห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย!
ทั้งได้ร่วมคณะนายกฯ ประยุทธ์หารือทวิภาคี "ไทย-ซาอุฯ" และร่วมงานถวายพระกระยาหารค่ำ ที่ทำเนียบรัฐบาลด้วยการทำหน้าที่ของรัฐมนตรีวราวุธ ได้รับเสียงชื่นชม กล่าวขานถึงกันมาก ว่าทำหน้าที่เป็นหน้าตาของประเทศได้ดีมากเป็นที่ประทับใจอาคันตุกะผู้มาเยือน ถึงขั้นเอ่ยปากชื่นชม
นับว่าเป็นนิมิตรหมายอันดีที่ทาง รัฐมนตรีวราวุธศิลปอาชาร่วมเป็นหนึ่งประสานความสัมพันธ์กับประมุขของซาอุ เพราะซาอุกับไทยที่กว่าจะรือฟื้นความสัมพันธ์ก็นับได้เกือบ 30 ปีเลยทีเดียว จากปมทางการขัดแย้งที่โด่งดังเมื่อสมัยก่อน
แม้จะเป็นการเปลี่ยนมือผู้ปกครองในการกระชับอำนาจครั้งใหม่ของผู้นำคนใหม่ และเป็นผลบวกอันดีที่ประเทศซาอุดิอาระเบียกลับมีความสัมพันธ์เชิงบวก สำหรับประเทศไทย
แม้ซาอุดิอาระเบียจะเป็นประเทศที่เน้นการส่งออกน้ำมันเป็นหลัก แต่กษัตริย์พระองค์ใหม่สนพระทัยเรื่องสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมสีเขียว เพราะเป็นความยั่งยืนในโลกอนาคตอีกด้วย
เมื่อเดือนกราคมที่ผ่านมา รัฐมนตรีวราวุธ ได้ถูกรับเชิญในการเยือนซาอุเพื่อประชุมอุตสาหกรรมเหมืองแร่สีเขียวอีกด้วย
นี่เป็นภาพสะท้อนหลักของการเป็นหนึ่งในสะพานเชื่อมที่สานสัมพันธ์ร่วมในหลายเรื่อง และสิ่งสำคัญคือการเพิ่มโอกาสการจ้างงานและการลงทุนในประเทศ ที่ขยายโอกาสทั้งภาคแรงงาน ส่งเสริมการลงทุน และการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างผู้แทนซาอุตรวจเยี่ยมฟาร์มปศุสัตว์ในจังหวัดสุพรรณอย่าง "ลุงเชาว์ฟาร์ม" ที่มีข่าวแว่วๆทุนซาอุจะมาลงที่ไทยกว่า 300,000 ล้านบาทอีกด้วย
.
และตอนนี้เทรนด์ธุรกิจสีเขียวกำลังได้รับควานิยมอย่างยิ่ง น่าจับตามองว่าในอนาคตเราอาจมีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตและอาจไม่ใช่แค่ตลาดอย่างสหรัฐหรือยุโรป แต่อาจมีตะวันออกกลางที่มองหาความยั่งยืนนอกเหนือจากทรัพยากรน้ำทันเข้ามาร่วมทุนด้วยก็เป็นได้
โฆษณา