24 เม.ย. 2023 เวลา 14:59 • การศึกษา

“ข้าวไข่ต้ม”#ไม่การเมือง #วรรณศิลป์ #ดราม่า #ไข่ต้ม

ดราม่าทำไมกัน ป้าพาไล่อ่านหนังสือบทเรียนต้นตอแล้ว ไม่น่าที่จะนำมาทำใหัเป็น”ดราม่า”
มันไม่ใช่”การสอนกันผิดๆ”หรือเอาไปเกี่ยวข้องอะไรกันกับการพิจารณา “เลือกบทเรียน” เป็นเพียงการเปรียบเทียบแบบ วรรณศิลป์ ที่ต้องสอดใส่อารมณ์ร่วม สร้างความสะเทือนใจ ให้กับงานประพันธ์ โดยมีจุดมุ่งหมายในทาง”ดี”
จะนับเป็น “ดราม่า” ก็ย่อมได้แต่เป็นอีกแบบหนึ่งในทางดี คือก่อให้เกิด ดราม่า สะเทือนใจ..ให้นักเรียนเห็นหรือรู้สึกร่วม ก็เท่านั้นเอง
วรรณศิลป์คืออะไร
แม้ว่าป้าจะไม่ได้ร่ำเรียนทาง”งานเขียน”มาแต่แรก
แต่จากประสบการณ์ที่ทำงานด้านนี้ และเป็นลูกศิษย์ของครูผู้เชี่ยวชาญทางวรรณศิลป์อยู่บ้างขออนุญาตแย้งแบบสร้างสรรค์ว่า
บทความ”กินข้าวกับไข่ต้มครึ่งซีกและผัดผักบุ้ง”ที่กำลังถูกกล่าวถึงกันอยู่นี้ เป็นการสร้างสรรค์ผลงานในแง่
“วรรณศิลป์” ที่งดงาม
วรรณศิลป์ในทางงานเขียนเป็นการสร้างหรือกระพือ”ปมความขัดแย้ง”ที่อาจดูเล็กน้อยให้เห็นเด่นชัดใหญ่ยิ่งขึ้น โดยเน้นให้เห็นถึง ความง่าย น้อย แต่อร่อย และมีความสุขแบบง่าย ๆ ของมื้ออาหารตามแบบ ”ข้าวไข่ต้ม” ของ ข้าวปุ้น
โดยให้ดู “ขัดแย้ง” ขนานไปกับ ปมความไม่พอใจและน้อยใจในชีวิตที่ไม่ได้โทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ของ ใยบัว นั่นเอง
จึงไม่จำเป็นต้องไปแจกแจงอะไรมากมายกับ …
- คุณค่าอาหาร-ทางโภชนาการ มันไม่ใช่”แก่น”
- ไม่ต้องไปโยงกับ การเมือง
ยังไม่ใช่ “ธีม”
- ไม่ต้องปะปนกับ การโกง เงินค่าอาหารเด็กหรือค่านมมื้อกลางวัน- ทั้งที่เรารู้กันอยู่ว่ามี”โกง” จริง
..
มันเยอะไปมั้ยคะ กับการที่จะเรียกร้องเอากับ บทเรียน ที่แสนสวยงาม ทาง วรรณศิลป์ บทนี้
ป้าพาอ่านแล้วอ่านอีก
ชื่นชมคนเขียน ชื่นใจที่ได้รับคัดเลือกมาเป็นบทเรียน
การสอนเด็กเล็ก เด็กนักเรียน วัยใส ๆ บริสุทธิ์ จะว่าสอนยากก็ไม่ใช่ แต่สอนให้เข้าใจ ไม่ง่ายเลย
โดยเฉพาะการเรียนการสอนในโลกยุคปัจจุบัน..ที่แทบไม่เหลือความงดงามใด ๆให้ชื่นใจ..❤️
ซ้ำร้าย เราๆ ท่านๆ ยังต้องอดทนต่อสภาพสังคมแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น
ผจญมลภาวะ PM 2.5
เจอะเจอกับสิ่งแวดล้อมและดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน
แล้วทำไม้ทำไม มาดราม่า กับข้าวไข่ต้มของหนู???
(ข้าวปุ้น กล่าว)
..
อ้างอิง
วรรณศิลป คือ
1. วรรณศิลป์
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 ให้คำอธิบายความหมายของวรรณศิลป์ไว้ว่า คือศิลปะในการแต่งหนังสือ ศิลปะทางวรรณกรรม
2. ภาษาวรรณศิลป์ หมายถึง ศิลปะการใช้ภาษาอันเกิดขึ้นจากการเรียบเรียงถ้อยค า โดยการเลือกใช้ ถ้อยค า ส านวน โวหาร ที่มีความไพเราะงดงาม สละสลวยตามแบบวิธีของภาษา เพื่อมุ่งการสื่อความหมาย และอารมณ์สะเทือนใจให้เกิดแก่ผู้อ่าน สุนทรียลักษณ์ทางภาษา
*ยินดีและขอบคุณมาก ๆ กับทุกความคิดเห็น(ไม่ว่าเห็นแย้งหรือเห็นด้วย) ที่แสดงความคิดเห็นอย่างสุภาพและสร้างสรรค์
ขอบคุณค่ะ
ป้าพา
สรุปเนื้อหาบทเรียนและปมดราม่า เผื่อคนไม่ทันอ่านมาก่อนหน้านี้ค่ะ
‘ไข่ต้ม’ จาก ‘ภาษาพาที’ หนังสือของนักเรียนชั้น ป.5 เป็นประเด็นร้อนขึ้นฟีดโซเชียลและถูกพูดถึงในขณะนี้ว่า
“ใยบัว” เด็กที่บ้านมีฐานะร่ำรวย มาตัดพ้อกับ ‘ข้าวปุ้น’ เพื่อนรักว่า “อยากตาย” เหตุจากพ่อแม่ไม่ยอมเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ให้ เพราะเห็นว่าเปลือง
‘ข้าวปุ้น’ ได้ฟังแล้วจึงชวน ‘ใยบัว’ ไปที่บ้านเด็กกำพร้าที่ใยบัวอาศัยอยู่ เพื่อให้ข้าวปุ้นได้เรียนรู้ชีวิตที่แตกต่าง เผื่อจะเปลี่ยนความคิดและเห็นคุณค่าของชีวิตมากยิ่งขึ้น
(ตรงนี้ดีออกนะคะ เด็กเล็กอย่างข้าวปุ้นยังรู้คิดถึงเพียงนี้)
และเมื่อถึงตอนกินข้าว หนังสือบรรยายว่า
“..เมื่อถึงเวลาอาหารกลางวัน ทุกคนนั่งล้อมวงเป็นวงใหญ่ กับข้าวแบ่งเป็น 2 ชุด จานแรกเป็นผัดผักบุ้ง จานที่ 2 เป็นไข่ต้มผ่าครึ่งตามจำนวนคน โดยแต่ละคนตักผักบุ้งพอรับประทาน และไข่ต้มคนละซีก”
ปมดราม่า
- แคลอรี่ไม่พอ และน้ำปลา คือเค็ม
1
- ป้าเห็นแย้ง คนเขียนตั้งใจเน้น ตั้งใจเขียนให้ตัดกันราวฟ้ากับดิน ก็อย่างที่บอกไว้ว่า ข้าวปุ้น คิดอยากให้ ใยบัว มีมุมมองชีวิตที่กว้างขึ้น ไม่ใช่มองแต่เรื่องของตัวเอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา