27 เม.ย. 2023 เวลา 16:07 • สุขภาพ

ยานอนหลับ กับ อาการถอนยา

ในเช้าวันหนึ่ง ได้รับคำถามจากคนไข้ทางโทรศัพท์ เรื่องการใช้ยานอนหลับ เนื่องจาก คนไข้รับประทานยานอนหลับตัวเดิมติดต่อกันนานเป็นปีแล้ว แต่ครั้งนี้แพทย์ไม่ได้จ่ายยาตัวเดิม เปลี่ยนยานอนหลับตัวใหม่ให้ ทำให้คนไข้ไม่กล้ากิน มีความกังวล แต่จะหยุดยาก็กลัวเพราะอ่านข้อมูลจากใน อินเตอร์เนต ว่าทำให้เกิดอาการข้างเคียงรุนแรง เช่น ชักได้ วันนี้มินนี่จึงอยากมาเล่าให้ฟังสั้นๆ เกี่ยวกับการหยุดยานอนหลับ
.
กลุ่มยานอนหลับที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เป็นกลุ่มยา benzodiazepine จะเน้นกลุ่มนี้เป็นหลัก ซึ่งแบ่งเป็นออกฤทธิ์สั้น กลาง ยาว
.
สั้น เช่น Midazolam
กลาง เช่น Alprazolam Lorazepam
ยาว เช่น Diazepam Clonazepam
**สำหรับยาที่ผู้ป่วยได้รับ คือ Alprazolam เปลี่ยนเป็น Lorazepam
.
จากข้อมูลที่ผู้ป่วยให้มาคือ รับประทานยานอนหลับติดต่อกันมานานแล้ว ซึ่งโดยปกติไม่แนะนำให้หยุดยาทันทีอยู่แล้ว เพราะอาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับที่รุนแรงกว่าเดิมได้ และ อาการข้างเคียงได้
**การหยุดยานอนหลับทันที เรียกว่า หักดิบ(cold turkey) ทำให้เกิดอาการถอนยาได้(withdraeal syndrome)
.
-ที่พบบ่อย เช่น ปวดศีรษะ ใจสั่น นอนไม่หลับ หงุดหงิด กระสับกระส่าย ฝันร้าย เบื่ออาหาร ฯ
.
พบไม่บ่อย เช่น การมองเห็นผิดปกติ หูอื้อ การรับรู้ไวผิดปกติ เช่น ไวต่อแสง เสียง ฯ
.
👉👉รุนแรง (พบน้อย) เช่น ประสาทหลอน ชัก **ย้ำว่า น้อย**
.
อ้างอิงข้อมูลในweb (*อ้างอิง 2*)ของโรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ ราชนครินทร์ กล่าวว่า อาการถอนยาจะเกิดเร็วหรือช้า อาการรุนแรงแค่ไหน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น ชนิดขนาด และระยะเวลาของการใช้ยา
.
วิธีการที่จะช่วยทำให้เกิดอาการถอนยาน้อยที่สุดก็คือ การค่อยๆลดปริมาณอย่างช้าๆในช่วงระยะเวลาหลายสัปดาห์ ก่อนที่จะเลิกใช้ยาได้ โดยอยู่ในการดูแลของแพทย์
.
.
และสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการเลิกยานอนหลับ ก็คือ ความวิตกกังวลของคนไข้เอง ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากได้รับยาน้อยลง
.
ใน web ดังกล่าว ยังมีการแชร์เทคนิคในการเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อนลดยา ซึ่งแพทย์แนะนำให้เตรียมก่อนประมาณ 6-8 สัปดาห์ อย่าเพิ่งลดยาก่อน เพื่อให้ร่างกายได้มีการปรับตัว ลดอาการข้างเคียงจากอาการถอนยา และมีคุณภาพในการนอนหลับดีขึ้น ถ้าใครสนใจ สามารถไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก web ของโรงพยาบาลได้คะ
.
การใช้ยานอนหลับมากเกินไปก็มีผลเสียอยู่แล้ว แต่การหยุดยานอนหลับที่ผิดวิธี ก็เกิดผลเสียเช่นกัน ก่อนที่จะหยุดยา อย่าลืมปรับพฤติกรรมการนอน และ เตรียมร่างกายให้พร้อมก่อน และปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาด้วยคะ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคุณเอง
.
.
#เรื่องเล่าจากห้องยา
#ส่งเสริมการใช้ยาอย่างปลอดภัย
#ให้คำปรึกษาด้านยา
ข้อมูลอ้างอิง
1. ยานอนหลับ...ใช้ตามอำเภอใจ อันตรายกว่าที่คิด
2.จะเลิกยานอนหลับอย่างไรให้ปลอดภัย
โฆษณา