5 พ.ค. 2023 เวลา 00:35 • ข่าวรอบโลก

"Cullinan" สุดยอดเพชรประดับพระมหามงกุฎ แห่งสมเด็จพระราชินีคามิลลา

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของกษัตริย์อังกฤษพระองค์ใหม่ สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2566 เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่หาได้ยาก ซึ่งมีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 70 ปี หรือเกือบจะหนึ่งศตวรรษเลยทีเดียว
นอกจากพระราชพิธีซึ่งเป็นจุดสนใจของคนทั่วโลกแล้ว ประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมาก คือ พระมหามงกุฎ แห่งสมเด็จพระราชินีคามิลลา จะทรงใช้มงกุฎของ Queen Mother สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ที่สิ้นพระชนม์ไปแล้วนั้น หรือไม่ เนื่องจาก มงกุฎของ Queen Mother ประดับด้วยเพชรโคอีนัวร์ (Koh-i-noor) เพชรแห่ง "ความทรงจำอันเจ็บปวดของอดีตอาณานิคม"
เพชร Koh-i-noor ในมงกุฎบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีผู้สิ้นพระชนม์
Koh-i-noor ในภาษาเปอร์เซียแปลว่า Mountain of Light "ภูเขาแห่งแสงสว่าง" ไม่ใช่เพชรที่ใหญ่ที่สุดในโลกหรือเพชรที่สวยที่สุด แต่สำหรับหลาย ๆ คนในอินเดียมันเป็นเพชรที่น่าอับอายที่สุด มันเป็นตัวแทนความอัปยศของการล่าอาณานิคมมาโดยตลอด
https://www.ixigo.com/journey-of-the-kohinoor-story-1112799
นักประวัติศาสตร์เชื่อกันว่าเมื่อประมาณ 5,000 ปีที่แล้ว เพชร Koh-i-noor ถูกขุดจากเหมือง Kollur ในเขต Guntur ของรัฐอานธรประเทศ ตามคัมภีร์สันสกฤตในยุคต้นได้กล่าวถึงอัญมณีที่เรียกว่า “อัญมณีไซมันตกะ” ซึ่งเชื่อกันว่าคือ เพชรโคอีนัวร์ในตำนาน
ในปี ค.ศ.1304 เพชรได้ตกเป็นของกษัตริย์แห่ง Malwa และอยู่กับพวกเขาจนถึง ปี ค.ศ. 1306 พวกเขาถูกบังคับให้มอบเพชรให้กับอาณาจักร Kakatiya แห่ง Orugallu และระหว่างปี ค.ศ. 1323 ถึงปี ค.ศ. 1339 เพชรดังกล่าวยังคงอยู่กับสุลต่านแห่งเดลีภายใต้การนำของ Alauddin Khilji และต่อด้วยมูฮัมหมัด บิน ทุกลัก หลังจากนั้นเพชรก็ถูกส่งไปยังซามาร์คันด์ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1526 เพชรถูกส่งต่อไปยัง Babur จากนั้นจึงอยู่กับจักรวรรดิโมกุลเป็นเวลา 200 ปี
Koh-i-noor ปรากฏในบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรอีกครั้งในปี ค.ศ. 1628 ชาห์ จาฮาน ผู้ปกครองโมกุลได้ว่าจ้างให้สร้างบัลลังก์ที่หุ้มด้วยเพชรพลอยอันงดงาม โครงสร้างที่ประดับด้วยเพชรพลอยได้รับแรงบันดาลใจจากบัลลังก์ในตำนานของโซโลมอน กษัตริย์ฮิบรูที่กล่าวถึงในประวัติศาสตร์ของศาสนา ในบรรดาอัญมณีล้ำค่ามากมายที่ประดับอยู่บนบัลลังก์นั้น มีอัญมณีขนาดใหญ่สองชิ้นที่มีค่ามากที่สุดในเวลาต่อมาคือ ทับทิมติมูร์ และเพชรโคอินัวร์ เพชรเม็ดนี้ติดอยู่บนสุดของบัลลังก์ ในหัวของนกยูงที่ส่องประกายแวววาว
ในปี ค.ศ. 1739 นาเดอร์ ชาห์ (Nader Shah) เอาชนะจักรวรรดิโมกุล ยึดสมบัติของพวกเขาไปพร้อมกับเพชร จากนั้นเขาก็นำเพชรไปยังเปอร์เซีย (อิหร่าน) หลังจากการลอบสังหาร นาเดอร์ ชาห์ ในปี ค.ศ. 1747 เพชรเม็ดนี้ก็อยู่ภายใต้การดูแลของนายพล Ahmad Shah Durrani ซึ่งต่อมาลูกหลานของเขาได้นำเพชรโคอินัวร์ กลับมายังอินเดียในปี ค.ศ. 1800 และส่งมอบให้กับ Maharaja Ranjit Singh ผู้ก่อตั้งอาณาจักรซิกข์ ในแคว้นปัญจาบ
ในปี พ.ศ. 2392 หลังจากอังกฤษเข้ายึดครองปัญจาบ เพชรถูกยึดและย้ายไปโดยบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษในเมืองละฮอร์ และต่อมาในปี พ.ศ. 2393 โคอีนัวร์ถูกนำกลับไปยังอังกฤษ ด้วยเล่ห์แห่งสนธิสัญญา "Last Treaty of Lahore" และลอร์ดดัลฮูซีก็ได้ส่งมอบให้กับสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียในลอนดอน ต่อมาเพชร Koh-i-noor ซึ่งเดิมมีขนาด 186 กะรัต ถูกเจียระไนเป็นเพชร 105.6 กะรัต ประดับอยู่บนมงกุฎเพชรของสมเด็จพระราชินี หนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งราชวงศ์อังกฤษ
ในปี พ.ศ. 2490 อินเดียได้รับเอกราช และรัฐบาลอินเดียได้ยื่นเรื่องขอเพชรคืน ในปี พ.ศ. 2519 ส่วนปากีสถานก็อ้างสิทธิ์โดยระบุว่า เพชร Koh-i-noor เป็นส่วนหนึ่งของมรดกรัฐปัญจาบ และเป็นของปากีสถาน เนื่องจากปัญจาบถูกแยกจากอินเดีย กลายเป็นปากีสถานในปี พ.ศ. 2490 อินเดียและปากีสถานได้ร้องขอให้คืนเพชรหลายครั้ง รวมทั้งอิหร่านและอัฟกานิสถานก็อ้างสิทธิในอัญมณีดังกล่าวเช่นกัน จนถึงปัจจุบันก็ยังคงพยายามทุกวิถีทางเพื่อนำเพชร Koh-i-noor กลับคืนสู่อนุทวีป
1
เพชร Koh-i-noor บนมงกุฎบนโลงศพของ Queen Mother
นอกจากประวัติการแย่งชิงที่เป็นแผลให้กับอดีตประเทศอาณานิคมแล้ว Koh-i-noor ยังมีชื่อเสียงว่าเป็น "เพชรอาถรรพ์" ที่นำโชคร้ายมาสู่ผู้สวมใส่เพศชาย เพชรจึงถูกประดับบนมงกุฎของมเหสีเท่านั้น มันเคยถูกนำมาประดับในมงกุฎของควีนอเล็กซานดรา สำหรับพิธีราชาภิเษกของเธอในปี ค.ศ. 1902 และถูกดัดแปลงเป็นมงกุฎใหม่สำหรับราชาภิเษกของควีนแมรี ในปี ค.ศ. 1911 ปัจจุบันเพชร Koh-i-noor เปล่งประกายอยู่กลางมงกุฎของ Queen Elizabeth the Queen Mother ผู้ล่วงลับของกษัตริย์องค์ปัจจุบัน Charles III
ผู้ที่ครอบครองเพชรนี้จะเป็นเจ้าของโลก แต่จะรู้ถึงโชคร้ายทั้งหมดของมันด้วย มีเพียงพระเจ้าหรือผู้หญิงเท่านั้นที่สามารถสวมมันได้โดยไม่ต้องรับโทษ
คำสาปโบราณที่เกี่ยวกับ Koh-i-noor
สำนักพระราชวังบัคกิงแฮมเปิดเผยว่า พิธีราชาภิเษกในวันที่ 6 พฤษภาคม มงกุฎของคามิลลาจะไม่ประดับด้วยเพชรโคอีนัวร์ (Koh-i-noor) อันเป็นที่ถกเถียงในพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์ชาร์ลส์ และยืนยันว่า มงกุฎของควีนแมรีได้รับการคัดเลือกจากคามิลลา โดยจะนำมงกุฎกลับมาใช้ใหม่ในพิธีราชาภิเษกแทนการว่าจ้างทำมงกุฎใหม่
สำนักราชวังระบุว่า มงกุฎจะมีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมเล็กน้อยเพื่อใส่อัญมณีที่ “มีเอกลักษณ์เฉพาะในโอกาสนี้และสะท้อนถึงสไตล์ส่วนตัวของพระราชสวามี”
มงกุฎจะถูกรีเซ็ตด้วยเพชร Cullinan III, IV และ V ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคอลเลกชั่นเครื่องประดับส่วนพระองค์ของราชินีผู้ล่วงลับ และเธอมักจะสวมใส่เป็นเข็มกลัด
การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่ Crown Jeweler จะทำได้แก่ การถอดส่วนโค้งที่ถอดออกได้สี่ส่วนจากแปดส่วนโค้งของมงกุฎออกเพื่อสร้าง "ความประทับใจที่แตกต่าง"
ภาพถ่ายเพชร Cullinan ดิบในปี ค.ศ. 1908
Cullinan Diamond ถูกค้นพบใกล้กับเมืองพริทอเรียในแอฟริกาใต้ (ในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2448 และตั้งชื่อตามประธานบริษัทเหมืองแร่ โทมัส คัลลิแนน ในสภาพเจียระไน มีน้ำหนัก 3,106 กะรัต และมีขนาด 10.1 x 6.35 x 5.9 ซม. เกล็ดมีประกายสีฟ้า-ขาวที่ไม่ธรรมดาและความใสเป็นพิเศษ ทำให้เป็นเพชรที่โด่งดังที่สุดในโลก
https://www.rct.uk/collection/2800271/cullinan-diamond-cleaving-of-the-second-largest-portion-and-the-final-seven
หลังจากแยกหินออกเป็นสองส่วนแล้ว ส่วนที่ใหญ่เป็นอันดับสองก็แยกออกเป็นสองส่วนดังที่แสดงในครึ่งบนของภาพถ่าย ครึ่งล่างของภาพแสดงชิ้นส่วนทั้งเจ็ดที่ผลิตขึ้นจากหินดั้งเดิม โดยเรียงจากซ้ายไปขวาตามลำดับขนาด จากใหญ่ไปเล็ก
ภาพถ่ายของ Mr Joseph Asscher ยืนอยู่ทางด้านขวาของม้านั่งขณะถือเครื่องมือเจียระไนที่วางอยู่บนเพชร Cullinan ซึ่งอยู่ในรอง เขาถือค้อนในมือขวาที่ยกขึ้นเพื่อตีเครื่องมือตัด
การเจียระไนเพชรที่ไม่ธรรมดานี้เป็นความท้าทายอย่างมาก เพชรเม็ดนี้ถูกส่งไปยังช่างเจียระไนเพชรชั้นนำในยุคนั้น นั่นคือ Asschers of Amsterdam ใช้เวลาสี่วันในการเตรียมร่องสำหรับมีดเซาะร่อง และการกระแทกครั้งแรกทำให้มีดแตกแทนที่จะเป็นเพชร ตลอดแปดเดือนต่อมา ชายสามคนทำงาน 14 ชั่วโมงต่อวันเพื่อเจียระไนเพชรเม็ดใหญ่เก้าเม็ดจากเพชรแท้ หินเหล่านี้แต่ละก้อนได้รับหมายเลขตั้งแต่ I ถึง IX
อัญมณี 9 ชิ้น ที่เจียระไนจาก Cullinan Diamond ตามเข็มนาฬิกาจากซ้ายบน: II, I, III, IX, VII, V, IV, VI, VIII
Cullinan I คือเพชรสีขาวเจียระไนไร้สีคุณภาพสูงที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นที่รู้จักในฐานะ "Star of Africa" มีน้ำหนัก 530.2 กะรัต ประดับอยู่บนคฑา (Sceptre) ของกษัตริย์ซึ่งสร้างขึ้นสำหรับพิธีบรมราชาภิเษก
Cullinan I ประดับบน Sceptre
เพชร Cullinan ที่ประดับพระมหามงกุฎ แห่งสมเด็จพระราชินีคามิลลา คือ
💎 Cullinan III เพชรเจียระไนทรงลูกแพร์มีน้ำหนัก 94.4 กะรัต (18.88 กรัม)
💎 Cullinan IV เพชรเจียระไนทรงเหลี่ยมที่มีน้ำหนัก 63.6 กะรัต (12.72 กรัม)
💎 Cullinan V เพชรรูปหัวใจสุดโรแมนติกที่มีน้ำหนัก 18.8 กะรัต (3.76 กรัม)
เพชรที่มีชื่อเสียงของโลกยังมีมากมาย แต่ละเม็ดล้วนงดงามมีคุณภาพดี และมีขนาดใหญ่เป็นที่ตื่นตาตื่นใจ รวมทั้งเรื่องราวอันน่าทึ่งที่เดินทางผ่านวันเวลามากับประกายความงามของเพชร และนี่ก็เป็นเรื่องราวส่วนหนึ่งของพระราชพิธีประวัติศาสตร์ที่กำลังจะเกิดขึ้น ณ Westminster Abbey
"God Save the King!"
ภาพต้นเรื่อง : Queen Mary’s Crown (Buckingham Palace/PA)
โฆษณา