8 พ.ค. 2023 เวลา 04:01 • การเมือง

พาไปดูตัวอย่างนโยบายสิ่งแวดล้อมในต่างประเทศ ที่ทำแล้ว ทำจริง ได้ผลจริง

ช่วงนี้กระแสการเมืองร้อนแรงเสียยิ่งกว่าแดดตอนเที่ยงวัน (แสดงว่าร้อนจริง) เรามาพักจากเวทีดีเบตแล้วมาลองดูว่านโยบายที่มีการหาเสียงกันอยู่ตอนนี้ มีประเทศไหนที่ลงมือทำในสิ่งที่คล้าย ๆ กันบ้าง และลงมืออย่างจริงจังจนสำเร็จเป็นรูปเป็นร่างแล้วบ้าง
1
ซึ่งแน่นอนว่านโยบายเหล่านี้จะเป็นจริงได้ ก็ต้องร่วมมือการกับออกแบบในแขนงต่างๆ ด้วยแน่นอนหวังว่าพรรคที่ชนะการเลือกตั้งจะสามารถทำให้นโยบายที่เสนอไว้ทำได้จริง เพราะอากาศที่บริสุทธิ์ สิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตร ไม่ควรเป็นแค่ฝันของประชาชน
วันที่ 14 พ.ค. 66 นี้ เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ กำปากกาไปเลือกตั้ง ใช้สิทธิขั้นพื้นฐานของการเป็นประชาชนไทยด้วยกัน
2
หายใจเข้า ก็ เฮ้อ ปอด(พัง) 🤧 การสู้กับฝุ่นของสิงคโปร์
สิงคโปร์เป็นประเทศเพื่อนบ้านไทยที่มีความคล้ายกันในแง่ของสภาพภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติ หลายคนที่เคยไปบอกว่าสิงคโปร์เหมือนกรุงเทพที่ได้รับการออกแบบมาอย่างดี หนีไม่พ้นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังกระทบทั้งภูมิภาคได้เช่นกัน
เราเชื่อว่าหลายคนได้ผลกระทบจากฝุ่นควัน แสบตา แสบจมูก และควักเงินตัวเองเพื่อซื้อเครื่องฟอกกันไปแล้วแน่ ๆ ประเทศสิงคโปร์เองก็เป็นหนึ่งในผู้ประสบภัยจากฝุ่นละออง ไม่ใช่แค่ฝุ่นภายในประเทศ แต่รวมไปถึงฝุ่นที่พัดมาจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย
สิ่งที่สิงคโปร์ทำ คือ รับรู้ปัญหาและสืบเสาะหาต้นตออย่างจริงจัง เริ่มกันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 หรือ 50 กว่าปีก่อน จนเกิดนโยบายและแนวทางอันชัดเจนของรัฐบาลที่แก้ไขปัญหาฝุ่นจากรถยนต์และอุตสาหกรรมภายในประเทศ พัฒนาระบบเตือนภัยแก่ประชาชน และยังมีแนวทางการป้องกันตัวเองอย่างชัดเจนให้ประชาชนได้ทำตาม
1
แต่แล้วเมื่อปีค.ศ. 2013 ฝุ่นควันจากไฟไหม้ป่าในอินโดนีเซียถูกพัดพามาถึงประเทศสิงคโปร์ จนค่ามลภาวะทางอากาศมีค่าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์
2
เมืองแดดแรงอย่างเรา 🌞 ก็ต้องแผงโซลาร์เซลล์สิ
นโยบายพลังงานหมุนเวียนจากแสงอาทิตย์กลายเป็นประเด็นหลักของการหาเสียงแทบจะทุกพรรคการเมือง และเป็นกระแสมาซักระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งเมื่อพูดถึงพลังงานจากแสงอาทิตย์ก็ต้องนึกถึงประเทศเนเธอร์แลนด์ขึ้นมาทันที ประเทศที่สร้างพลังงานหมุนเวียนจนกลายเป็นอันดับหนึ่งของยุโรป
รัฐบาลประเทศเนเธอร์แลนด์ได้ให้คำมั่นสัญญากับประชาคมโลกไว้ว่าจะสร้างพลังงานหมุนเวียนมาใช้แทนพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป ภายในปี 2030 นั่นก็เพราะว่า เนเธอร์แลนด์เคยเป็นประเทศที่สร้างมลภาวะเป็นหนึ่งในหกของโลกมาแล้ว
2
รัฐบาลจึงออกนโยบายที่เข้มงวดเรื่องพลังงานขึ้นมา ตั้งแต่การจำกัดการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่ เก็บค่าใช้จ่ายต่อการใช้ทรัพยากรที่สูงขึ้น และสร้างระบบการสร้างพลังงานหมุนเวียนอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีเป้าหมายไว้อย่างแน่วแน่ว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุด
1
พลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นหนึ่งในพลังงานที่เนเธอร์แลนด์ให้ความสำคัญ จึงเริ่มกระตุ้นด้วยการกระหน่ำลดราคาค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ของระบบโซลาร์เซลล์ สนับสนุนให้บ้านแต่ละหลังสามารถผลิตพลังงานใช้ได้
1
แต่ในอีกแง่หนึ่งที่ว่า โซลาร์เซลล์นั้นต้องการพื้นที่ในการติดตั้ง ซึ่งเนเธอร์แลนด์นั้นมีพื้นที่จำกัดและมีราคาที่ดินสูง จึงได้กระตุ้นให้มีการออกแบบสร้างสรรค์เพื่อหาไอเดียการติดตั้งที่ผสานไปกับงานออกแบบภูมิทัศน์ ทั้งหลังคาลานจอดรถ พื้นที่ทะเลสาบเอกชน ในทุ่งหญ้าเลี้ยงแกะ พื้นที่ฟาร์มสตอเบอรี่ พื้นที่โบสถ์ที่ไม่ได้ใช้งาน สถานีรถไฟ สนามบิน หรือแม้กระทั่งพื้นที่ภูเขากองขยะ เป็นต้น โดยมีการศึกษาวิจัยควบคู่ไปด้วย
ปัจจุบัน เนเธอร์แลนด์มีแผงโซลาร์เซลล์เฉลี่ย 2 แผงต่อครัวเรือน สร้างพลังงานได้มากกว่า 1 กิโลวัตต์ต่อคน มีสัดส่วนพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นจาก 1% ในปี 2015 เป็น 14% ในปัจจุบัน มีจำนวนบ้านเรือนที่ผลิตไฟฟ้าได้กว่า 2 ล้านหลัง และ รัฐทุ่มงบประมาณเพื่อพัฒนาด้านพลังงานหมุนเวียนกว่า 4 แสนล้านบาท
2
เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว จนปรับตัวไม่ทัน 🥲 ลดผลกระทบในระดับโลก โดยการเป็นกลางทางคาร์บอน
เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว จนปรับตัวไม่ทัน 🥲 ลดผลกระทบในระดับโลก โดยการเป็นกลางทางคาร์บอน
อากาศที่แปรปรวนในปัจจุบัน ทั้งฝนที่มาแบบหนักหน่วงจนน้ำท่วมไปหลายพื้นที่ในปีที่แล้ว กับความร้อนที่พุ่งสูงจนรองเท้าแตะแทบละลายในช่วงเดือนที่ผ่านมา เป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นว่าเรากำลังเผชิญหน้ากับภาวะโลกร้อน
แล้วเราจะเตรียมรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ได้อย่างไรบ้าง ?
ย้อนกลับไปในปี 2005 โคเปนเฮเกนได้ตั้งเป้าไว้ว่าภายในปี 2025 จะเปลี่ยนให้เมืองเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งหากทำได้ตามเป้าจะเป็นเมืองแรกของโลกประสบความสำเร็จ
1
หลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม คาร์บอนจำนวนมากถูกปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ จนเป็นสาเหตุหลักของภาวะเรือนกระจกที่ทำให้สภาพอากาศแปรปรวน เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น จึงเกิดแนวคิดการเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งคือการทำให้ปริมาณคาร์บอนที่ถูกปลดปล่อยออกมาเท่ากับคาร์บอนที่ถูกกักเก็บ โดยมีแนวทางหลักคือการ ‘ลดการปลดปล่อย’ และ ‘เพิ่มศักยภาพในการกักเก็บ’
การขับเคลื่อนเริ่มจากการทำความเข้าใจตัวเองก่อนว่าสัดส่วนการปลดปล่อยคาร์บอนเป็นอย่างไร มีต้นเหตุมาจากอะไรบ้าง นำมาสู่การตั้งประเด็นหลัก โดยโคเปนเฮเกนได้ให้ความสำคัญกับ 4 เรื่อง คือ การใช้พลังงาน การผลิตพลังงาน ระบบขนส่ง และความคิดริเริ่มในการบริหารจัดการเมือง
เริ่มต้นที่เรื่องพลังงาน จากที่เคยใช้พลังงานจากถ่านหิน น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ ก็หันมาใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างพลังงานจาก ลม และแสงแดดแทน รวมทั้งมีการใช้ระบบสร้างความร้อนและความเย็นจากส่วนกลางเพื่อใช้ในบ้านเรือน (district heating/district cooling) ซึ่งเป็นระบบที่ประหยัดพลังงานกว่า ลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และไนโตรเจนไดออกไซด์
มาทางด้านระบบขนส่ง ภาครัฐส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะและการสัญจรทางเลือก เช่น การสร้างทางจักรยานและทางเดินเท้าที่ดี ซึ่งทางที่ดีนั้นไม่เพียงแต่หมายถึงการมีเส้นทางที่เรียบ และกว้างเท่านั้น แต่ยังหมายถึงเป็นเส้นทางที่มีบรรยากาศที่เหมาะสม มีความร่มรื่น และและเชื่อมต่อกับสถานที่ต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง
นอกจากนี้ โคเปนเฮเกนยังใส่ใจในด้านการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดพื้นคอนกรีต ซึ่งต้นไม้ที่เพิ่มขึ้นจะช่วยดูดซับคาร์บอน และพื้นที่สีเขียวก็ช่วยควบคุมอุณหภูมิของเมืองลดภาวะเกาะความร้อน ซึ่งเป็นการลดการใช้พลังงานทางอ้อม ทั้งยังมีส่วนช่วยในการจัดการน้ำผิวดินของเมือง โดยพื้นที่สีเขียวจะช่วยในการกักเก็บ ชะลอ และปล่อยให้น้ำได้ซึมลงดิน
เพราะเรายังคนต้องใช้พลังงาน และการดำรงชีวิตก็สร้างผลกระทบต่อธรรมชาติ คำถามคือเราจะใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไร และจะพัฒนาเมืองไปในทิศทางไหนให้ไม่รบกวนโลกจนเกินขีดจำกัด
เลิกพกบัตรเป็นปึก ใช้บัตรใบเดียวขึ้นรถสาธารณะ 🚌
เรื่องการใช้บัตรใบเดียวเพื่อโดยสารรถสาธารณะ เป็นไอเดียที่ประเทศไทยเองก็คิดจะทำกันมาเป็นเวลานาน แต่ด้วยข้อจำกัดหลาย ๆ ด้าน บัตรแมงมุมจึงไม่เวิร์คซักที
ตัวอย่างประเทศญี่ปุ่น การใช้บัตรโดยสารร่วม หรือ IC card (integrated circuit card) เริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในปีค.ศ. 2001 และหลังจากนั้นในเมืองใหญ่ก็เริ่มมีบัตรโดยสารร่วมของตัวเอง เช่น Suica ในแถบโตเกียว, Icoca ในแถบคันไซ, หรือ Kitaka ในฮอกไกโด
1
ภายหลัง บัตรต่างๆ มีการพัฒนาให้ครอบคลุมการเดินทางอื่นๆ ทั้งรถบัสและรถรางต่างๆ รวมไปถึงสามารถนำไปใช้ที่ภูมิภาคอื่นได้ จะมีบางสายที่ไม่ร่วมรายการ เช่น ชินคันเซ็น เป็นต้น
และอีกประเทศหนึ่ง ที่เราไปรับประสบการณ์บัตรโดยสารร่วมกันได้ง่าย ๆ คือ สิงคโปร์นั่นเอง โดยการใช้บัตร EZ-Link ซึ่งแต่แรกเริ่มบัตรนี้เป็นความตั้งใจที่จะทำให้คนจับจ่าบใช้สอยได้สะดวก รวมไปถึงการขึ้นรถโดยสารสาธารณะด้วย
การพัฒนาบัตร EZ-Link จูงใจคนด้วยการให้ส่วนลดและสร้างความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้งาน ออกแบบจากผู้ใช้จริง โดยให้สอดคล้องไปกับนโยบายของภาครัฐ ที่ต้องการส่งเสริมการไม่ใช้เงินสด
เราชาวไทยก็รอกันต่อไป ว่าการจะผลักดันต่อ อาจจะต้องรอการบังคับใช้กฎหมายหรือการเจรจาเรื่องผลประโยชน์กับรถโดยสารเอกชน เพื่อให้การใช้งานรถสาธารณะ เอื้อต่อคนทุกคนอย่างแท้จริง
1
เขียนโดน Refield Lab
โฆษณา