Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
•
ติดตาม
13 พ.ค. 2023 เวลา 05:00 • สิ่งแวดล้อม
ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน ตอน นากหญ้า
ศัตรูตัวร้ายต่อผลผลิตทางการเกษตร ฟาดเรียบ จนราบเป็นหน้ากลอง!!!
นากหญ้า (Nutria) หรือ “หนูยักษ์” เป็นสัตว์ฟันแทะขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายหนูทั่ว ๆ ไป ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณที่มีแหล่งน้ำตลอดปี มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา ทางตอนใต้ของบราซิล ปารากวัย อุรุกวัย เวเนซุเอลา โบลิเวีย อาร์เจนตินา ชิลี
ย้อนไปเมื่อในอดีต นากหญ้าถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ของไทย นำเข้าเพื่อเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ แต่เมื่อมีการเลี้ยงกันอย่างจริงจังแล้ว ผลตอบรับกลับไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด จึงทำให้มีการปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ กลายเป็นปัญหาสร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรอย่างแสนสาหัส
เนื่องจากการดำรงชีวิตของนากหญ้า ค่อนข้างเรียบง่าย มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ขยายพันธุ์เร็ว กินพืชได้เกือบทุกชนิด จึงถือเป็นศัตรูพืชตัวฉกาจหากถูกปล่อยให้อยู่อย่างอิสระหรือหลุดออกไปสู่ธรรมชาติ
เพราะพวกมันจะกัดกินหน่ออ่อน และรากของพืชจำพวกกกหรืออ้อ ในบริเวณที่มันอยู่อาศัยได้จนหมด เดือดร้อนลามไปถึง นาข้าว ไร่อ้อย หรือสวนปาล์มปลูกใหม่ของเกษตรกร ได้รับความเสียหายตามไปด้วย
เรียกได้ว่าสามารถกินได้แบบ non-stop ไม่หมด ไม่หยุดกันเลยทีเดียว…
การจัดการ : ทางกายภาพ การจัดการนากหญ้าจะใช้วิธีการยิงและการวางกับดักสำหรับในพื้นที่ ๆ มีขนาดเล็กถึงขนาดกลางนิยมใช้วิธีการกำจัดให้สิ้นซาก ในประเทศอังกฤษประสบความสำเร็จในการรณรงค์กำจัดนากหญ้าโดยใช้กับดักกรง ซึ่งการจ้างคนวางกับดัก 24 คน สำหรับ 8 ปี ใช้เงิน 2.5 ล้านปอนด์ หรือราว 1.7 ร้อยล้านบาทไทย
พบนากหญ้าในรายการ 100 ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานรุนแรงของโลก แม้ประเทศไทยยังไม่มีการจัดลำดับเอเลี่ยนสปีชีส์อย่างในต่างประเทศ แต่มีชนิดพันธุ์ต่างถิ่นจำนวนไม่น้อยเลยที่กลายเป็น “ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน” ส่งผลกระทบต่อสังคมและระบบนิเวศ ดังนั้นการหาแนวร่วมในการป้องกัน ควบคุม จัดการ และการตรวจสอบการนำเข้าอย่างเหมาะสม จึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง
อ้างอิง :
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2554. คู่มือทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ควรป้องกัน ควบคุม และกำจัด ของประเทศไทย: สัตว์สะเทินน้ำสะเทอนบก สัตว์เลื้อยคลาน นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ. 80 หน้า
บทความพิเศษ โดย ณภัทร เฉลิมชุติปภา เรื่อง เอเลี่ยนสปีชีส์บุกทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ
https://www.thairath.co.th/content/255046
https://108kaset.com/2022/08/16/coypu/
ที่มา : สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า Wildlife Conservation Office, Thailand
สื่อทางเลือก
สิ่งแวดล้อม
ท่องเที่ยว
1 บันทึก
5
1
1
5
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย