18 พ.ค. 2023 เวลา 17:02 • สุขภาพ

#Molnupiravir กับคำถามที่พบบ่อย

ในช่วงเวลาที่ โควิดกลับมาระบาดอีกครั้งหนึ่ง ผู้ป่วยที่พบติดโควิดมีจำนวนมากขึ้น หลังจากที่ห่างหายไปช่วงหนึ่ง และกลับมาพีคได้สักระยะแล้ว ในการรักษาผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง แพทย์จะให้ยาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ไอ ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก ยาละลายเสมหะ เป็นต้น
.
สำหรับ ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อ โดยทั่วไปในตอนนี้ แพทย์จะสั่งใช้ยา โมนูพิลาเวีย (Molnupiravir)
👉📌ซึ่งรับรองให้ใช้ในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 18 ปี และมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่รุนแรงเท่านั้น ส่วนยา Favipiravir ยังมีการใช้อยู่บ้าง แต่ไม่ใช่ยาฆ่าเชื้อตัวหลักแล้ว
.
ยา Molnupiravir เป็นยาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์ในโรงพยาบาลเท่านั้น มีเกณฑ์ในการให้ยา โดยพิจารณาจากผู้ป่วยที่มี ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่รุนแรงหรือไม่ เช่น
-อายุมากกว่า60 ปีขึ้นไป
-โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
-ไตเรื้อรัง Stage 3 ขึ้นไป
-โรคหัวใจและหลอดเลือด
-โรคหลอดเลือดสมอง
-โรคมะเร็ง (ไม่รวมโรคมะเร็งที่รักษาหายแล้ว)
-ภาวะอ้วนน้ำหนักมากกว่า 90  kg หรือ BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 30 kg/ตรม. เป็นต้น
.
ขนาดยาที่ใช้
รับประทานครั้งละ 4 เม็ดทุก 12 ชม ติดต่อกัน 5 วัน
.
ผลข้างเคียงที่พบบ่อย
มึนงง ปวดศีรษะ ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น
.
ไม่มีข้อห้ามและต้องปรับยาในผู้ป่วยโรคตับโรคไต
.
ห้ามใช้ในผู้หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากมีข้อมูลว่า ทำให้เกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์
ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้หญิงให้นมบุตร เนื่องจากยังมีข้อมูลไม่เพียงพอนะคะ
.
และยังมีคำถามที่ผู้ป่วยถาม Minny บ่อยๆ อีกเช่น
ถ้ากินยา Molnupiravir แล้วยังสามารถรับประทานยาฟ้าทะลายโจร หรือยาสมุนไพรอื่นได้ไหม
คำตอบ คือไม่แนะนำนะคะ เพราะไม่มีความจำเป็น และไม่แน่ใจว่า จะเป็นการเพิ่มผลข้างเคียง และลดประสิทธิภาพยาฆ่าเชื้อหรือไม่
.
ถ้ามีโรคประจำตัว เช่นเบาหวาน ความดัน สามารถรับประทานร่วมกันได้หรือไม่
คำตอบ คิอ สามารถรับประทานได้คะ ยังไม่มีข้อมูลเรื่องปฏิกิริยาระหว่างยาที่ร้ายแรงกับยาอิ่น จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
.
วันนี้ มาเล่าสั้นๆเกี่ยวกับยา Molnupiravir ซึ่งเป็นยาใหม่และมีคำถามที่ผู้ป่วยถามบ่อยพอสมควร  และเหมือนเช่นเคยคะ ถ้ามีข้อสงสัยที่ต้องการสอบถามเพิ่มเติม สามารถฝากคำถาม ทิ้งไว้ใน comment หรือ inbox ได้นะคะ
.
.
#เรื่องเล่าจากห้องยา
#ยาต้านไวรัสโควิด 19
ข้อมูลอ้างอืง
1.แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 ฉบับปรับปรุงวันที่ 18 เมษายน 2566
2.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับยาต้านไวรัสโควิดในปัจจุบัน
ผู้ผลิตบทความคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
.
โฆษณา