22 พ.ค. 2023 เวลา 14:29 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์

เส้นปัตฆาต : ควันหลงจากละคร "หมอหลวง"

"เส้นปัตฆาต” หมายถึงเส้นเอ็นที่อยู่ในร่างกายคู่ขนานไปกับหลอดเลือดบริเวณท้องน้อย และหน้าขา ห่างจากขอบกระดูกเชิงกรานออกาทางเส้นกลางลำตัว ๑ นิ้วมือ ลงมาต้นขาด้านใน สันหน้าแข้งใน ผ่านเข้ามาที่ตาตุ่มด้านใน  ลงมาที่ส่วนโค้งของฝ่าเท้า อ้อมมาที่ตาตุ่มนอก  ขึ้นด้านหลังต้นขาเข้าใต้ก้นย้อยผ่านรอยบุ๋มของข้อต่อระหว่างกระดูกเชิงกรานกับกระเบนเหน็บ  แล่นขึ้นสู่ขอบสะบักด้านใน ห่างจากแนวกระดูกสันหลัง  ๒ นิ้วมือ ขึ้นไประหว่างต้นคอกับบ่าที่ระดับกระดูกคอชิ้นที่ ๗
ลมที่เกิดในเส้นปัตฆาต
๑. ลมปัตฆาต  คือ อาการที่ตึงตลอดทั้งร่างกาย  และมีอาการท้องผูกร่วมด้วย
๒. ลมปวดหลัง   (ปวดเอว)  คือปวดกล้ามเนื้อหลังตามแนวบริเวณปัตฆาต
๓. ลมยอกอก   คือ อาการปวดยอกบริเวณกล้ามเนื้ออก
๔. ลมยอกหลัง (เกลียวข้าง) คือบริเวณที่เกิดจากเส้นปัตคาดทำให้ยืดตัวขึ้น มีอาการปวด
๕. ลมปวดเกลียวคอ (ต้นคอ)  คืออาการปวดกล้ามเนื้อคอ
๖. ลมปวดสะบัก   คือ อาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อสะบัก
๗. ลมปวดขา  (ด้านในและนอก)  คือ อาการปวดขาเมื่อเดินมากหรือยืนนาน
๘. ลมขัดข้อเท้า  คือ ปวดขัดบริเวณข้อเท้าด้านในและด้านนอก มีอาการปวดขัด
๙. ลมเท้าแพลง (ใน-นอก) คือข้อเท้าแพลงมีอาการฉีกของกล้ามเนื้อบริเวณข้อเท้า ด้านนอก ด้านใน
๑๐. ลมยอกสะโพก คือ ปวดกล้ามเนื้อบริเวณข้อสะโพก
๑๑. ลมปวดเบือนคอมิได้   คือ อาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณคอด้านหลัง คล้ายตกหมอน
๑๒. ลมก้มเงยคอมิได้   คือ อาการปวดเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อคอทำให้ก้มเงยปวดคอ
 
     แพทย์แผนไทยจะรักษา ตามอาการที่ตรวจพบ  เช่น อบประคบสมุนไพร เพื่อทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว   นวดรักษา  กินยาตามตำรับยา เป็นต้น
     ---------------------
โฆษณา