31 พ.ค. 2023 เวลา 22:01 • สุขภาพ

วิ่งต่อเนื่องนานๆแล้วหยุดทันทีอาจทำให้วูบได้

หลังจากที่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กระแสการออกกำลังกายและรักษาสุขภาพได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการวิ่งออกกำลังกาย ที่นอกจากจะได้ออกกำลังกายแล้ว ยังได้พบปะเพื่อนนักวิ่งด้วยกัน ทำให้การวิ่งออกกำลังกายได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
แต่นอกจากประโยชน์จากการวิ่งออกกำลังกาย สิ่งที่นักวิ่งมือสมัครเล่นหลายท่านอาจยังไม่ทันระวัง คือการวิ่งต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ แล้วหยุดวิ่งกระทันหัน ทำให้เกิดอาการวูบและเสี่ยงที่จะอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ วันนี้เลยจะพามาทำความเข้าใจกับอาการวูบหลังจากการหยุดวิ่ง และวิธีการป้องกันเบื้องต้นครับ
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนนะครับว่า สิ่งที่กำลังจะนำเสนอต่อจากนี้จะพูดถึงกลไกการทำงานของร่างกายในร่างกายของผู้ที่สุขภาพแข็งแรง ยังไม่ได้นับปัจจัยเสี่ยงจากโรคประจำตัวต่างๆ ซึ่งก็จะมีผลต่อการออกกำลังกายในบริบทต่างๆออกไปครับ
เมื่อเราวิ่งออกกำลังกาย กล้ามเนื้อโครงร่างที่ใช้งาน จะใช้พลังงานมากขึ้น ร่างกายจะกระตุ้นระบบประสาท sympathetic ทำให้หัวใจเต้นเร็วและแรงขึ้น(ตัวรับ beta1) และทำให้เกิดหลอดเลือดหดตัว ความดันเลือดเพิ่มขึ้น(ตัวรับ alpha1)
ในทางกลับกัน การที่กล้ามเนื้อถูกใช้งาน ทำให้มีการหลั่งสารต่างๆออกมาก เช่น adenosine, lactate, H+, K+ ซึ่งสารเหล่านี้กระตุ้น endothelium cell ให้สร้างสารกลุ่ม ไนตริกออกไซด์(NO) ทำให้หลอดเลือดบริเวณกล้ามเนื้อที่ถูกใช้คลายตัว เพิ่มเลือดที่มาเลี้ยงบริเวณดังกล่าว
การขยายตัวของหลอดเลือดบริเวณกล้ามเนื้อ ทำให้ total peripheral resistance(TPR) ลดต่ำลง เมื่อหยุดวิ่งกระทันหัน ทำให้ ระบบประสาท sympathetic
ทำงานลดลง ทำให้ปริมาณเลือดออกจากหัวใจ(Cardiac output : CO) ลดลง แม้จะมากกว่าตอนก่อนออกกำลังกาย แต่ปริมาณความต้องการออกซิเจนจากเลือด(Oxygen demand) มีมากขึ้นกว่าตอนก่อนออกกำลังกาย
ประกอบกับ TPR ที่ลดลง ทำให้มีเลือดเข้าสู่หัวใจลดลง ยิ่งทำให้ปริมาณเลือดออกจากหัวใจลดลงอีก อีกทั้งเหงื่อที่ถูกขับออกไป ทำให้ปริมาตรเลือดในร่างกายลดลงด้วย
***สุดท้ายอาการวูบเกิดจากการที่มีเลือดขึ้นไปเลี้ยงสมองลดลง ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงนี้ อาจทำให้โคม่าและเสี่ยงจะเสียชีวิตได้
***การป้องกันไม่ให้เกิดการวูบจากการวิ่งออกกำลังกาย การออกกำลังกายควรมีช่วง cool down ก่อนเสมอ ทั้งก่อนและหลังออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัว โดยเฉพาะการออกกำลังกายทั่งร่างกายต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน
***การแก้ไขอาการวูบ ให้นำตัวผู้ป่วยนอนราบลงกับพื้น ยกแขนและขันขาทั้งสองช้าง ในระดับ 45 องศา เพื่อให้เลือดที่คั่งอยู่ตามกล้ามเนื้อไหลกลับไปสู่หัวใจและขึ้นไปหล่อเลี้ยงสมอง ค้างไว้สักระยะหนึ่งให้อาการดีขึ้น หากยังไม่ฟื้นตัวควรโทรแจ้ง 1669 เพื่อนำตัวส่งโรงพยาบาลต่อไป
อ้างอิง
McArdle W. D. Katch F. I. & Katch V. L. (2015). Exercise physiology : nutrition energy and human performance (8th ed.). Wolters Kluwer.
โฆษณา