4 มิ.ย. 2023 เวลา 01:32 • หนังสือ

‘กบเหลาดินสอ’ แค่ชื่อหนังสือก็ชวนอ่านซะแล้วสิค่ะ ยิ่งชื่อคนเขียน

คุณประภาส ชลศรานนท์ ใครแว๊ปถึงวงเฉลียงขึ้นมานี่คือบ่งบอกถึงอายุเลยนะคะ🤭 อายุของเล่มนี้ด้วยแล้วยิ่งสร้างความอยากรู้เรื่องราวข้างในสมัยปี 2544 ว่าเขาคุยเรื่องอะไรกัน (วินดาอ่านปี 2566)
เคยได้ยินมาว่า “หนังสือเลือกคนอ่าน” บวกกับการคุยกับคุณอิง @reading.ing ทำให้คิดว่านั่นสิเนอะโชคชะตาคงพาเราให้มาเจอหนังสือมือสองเล่มนี้จากร้าน @bookstation27
จะว่าไปเล่มนี้ตีพิมพ์ตั้งแต่ตอนวินดาอยู่ม.ต้น ตอนนั้นคงเมามันส์กับการแชท MSN และตั้งชื่อเมล์แบบเก๋ไก๋ซ่าส์ซ่าส์อยู่แน่เลย ปี2544 ตอนนี้ ปี2566…Wow🫨
เล่มนี้เป็นแนวถาม-ตอบของคุณประภาสกับหมู่นักอ่านที่ส่งจดหมายมาหา ถือเป็นการย้อนกลับไปสู่สภาพแวดล้อมในช่วงยี่สิบปีที่แล้ว โดยเฉพาะเรื่องรถไฟฟ้าที่พึ่งมีได้ไม่นานในประเทศไทย
ภาษาของคุณประภาสมีเสน่ห์เฉพาะตัว วินดาอ่านแล้วภาษาให้ความรู้สึกถึงผู้ใหญ่ผู้มีประสบการณ์มาพูดคุย ให้คำแนะนำ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งมีความตรงแต่ไม่หยาบคาย มีความสุภาพแต่ไม่นุ่มนวล แต่ก็ไม่ถึงขนาดดุดัน (ลองอ่านจากรูปหน้าหนังสือดูนะคะ)
ในเล่มมีการถาม-ตอบประมาณ 20 ประเด็นตามจดหมายที่เขียนมาถึงคุณประภาส มีหลายเรื่องที่เมื่อวินดาอ่านจบปิดเล่มก็ยังจำได้อยู่ เพราะชื่นชอบทั้งคำถามและคำตอบ ขออนุญาตหยิบมาเล่าสักหน่อยนะคะ😊
🚘เรื่องการท่องเที่ยวที่ถามถึงประโยค “คนเราควรได้เดินทางจริงๆสักครั้งในชีวิต” ความหมายมันดูลึกซึ้งมากกว่าการได้เดินทางท่องเที่ยวเฉยๆ
คุณประภาสตอบไว้ว่าส่วนตัวแบ่งการเดินทางเป็นสองแบบ คือการเดินทางแบบตะกร้าและการเดินทางแบบขนนก
นึกภาพตามง่ายๆได้เลยค่ะ แบบตะกร้าคือ ไปเที่ยวเพื่อซื้อของอย่างเดียวจนเต็มตะกร้า555…ส่วนแบบขนนก คือ ไปเที่ยวแบบได้สัมผัส เห็นวิถีชีวิต วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นนั้นๆ…เป็นสองแบบที่ไม่ต้องจินตนาการตามยากเลยนะคะตรงตัวดี
🚈 เรื่องรถไฟฟ้า ที่ช่วงนั้นพึ่งจะเปิดได้ไม่นานในเมืองไทย เรื่องที่เอามาถามและพูดถึงหนีไม่พ้นเรื่องมารยาททางสังคมในการยืนรอ และเข้า-ออกรถไฟฟ้า ทั้งๆที่สถานที่ก็มีสัญลักษณ์ เขตการยืนรออยู่
และตามมารยาทเมื่อรถไฟฟ้าจอดก็ควรให้คนข้างในออกก่อนแล้วคนข้างนอกค่อยเข้าไปเพื่อลดการเบียดเสียด และความเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่นั้นแหละค่ะความชุลมุนแบบที่เรานึกออก
วินดาอ่านแล้วอดสะดุดกับคำของคุณประภาสไม่ได้ว่า บ้านเราไม่ได้ขาดแคลน “คนมีความรู้” แต่บ้านเราขาดแคลน “คนมีความคิด” โอ้วววววววว…เสียดสีสังคมแบบจึ๊กใจเลยอ่าาาาา แต่ก็น่าชวนคิดตามนะคะ รวมถึงย้อนกลับมาสำรวจตัวเราเองด้วย
ประมาณนี้ค่ะ วินดาว่าหนังสือเล่มนี้ถึงแม้จะผ่านมายี่สิบปีแล้ว แต่เรื่องราวการถาม-ตอบยังคงทันสมัยอยู่เลย ยังมีจดหมายอีกหลายฉบับให้เราอ่านในเล่มนี้ ถ้ามีโอกาสแนะนำอีกเล่มที่อ่านจบแล้วน่าเก็บไว้ค่ะ✨😊
หนังสือ : กบเหลาดินสอ
ผู้เขียน : ประภาส ชลศรานนท์
สำนักพิมพ์ : มติชน
__🦋
แล้วพบกันใหม่นะคะ👋🏻
#windasharing
IG : windasharing
โฆษณา