3 มิ.ย. 2023 เวลา 04:21 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

การอ่านชื่อสีที่เขียนด้วยสีอื่น มีประโยชน์ต่อสมองอย่างไร

🔸 การอ่านชื่อสีนั้นไม่ใช่เรื่องยาก อย่างสีเหลือง Yellow!! แต่ถ้าต้องอ่านชื่อสีแดงที่เขียนโดยตัวอักษรสีเขียวนั้นกลับเป็นอีกเรื่อง
🔸 ปี ค.ศ. 1930 จอห์น ริดลีย์ สโตรป (John Ridley Stroop) ได้ทำการทดลองโดยให้อาสาสมัครอ่านชื่อสีที่เขียนด้วยสีหมึกสีไม่ตรงกัน เช่น คำว่า "BLUE" เขียนด้วยหมึกสีแดงหรือ "YELLOW" เขียนด้วยหมึกสีเขียว โดยอาสาสมัครจะต้องอ่านชื่อสีอย่างรวดเร็ว ซึ่งพบว่าเมื่อสีกับคำไม่ตรงกันจะทำให้เกิดความสับสน ทั้งทำให้อ่านช้าลงและมีโอกาสอ่านผิดมากขึ้น ปรากฎการทางจิตวิทยานี้จึงถูกตั้งชื่อว่า Stroop Effect ตามชื่อของผู้ค้นพบ
🔸 การค้นพบนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับจิตวิทยาคลินิกและประสาทจิตวิทยาได้อย่างดี เพราะ สามารถใช้เป็นองประกอบในการวินิจฉัยความบกพร่องและโรคทางจิตเวชต่าง ๆ ได้ เช่น โรคสมาธิสั้น (ADHD) โรคจิตเภท และความบกพร่องทางเชาวน์ปัญญา
🔸 ยังมีการนำปรากฎการณ์ทางจิตวิทยานี้ไปใช้ในการศึกษาโดยการพัฒนาวิธีการช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาในการอ่าน และใช้ในควบคุมสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเพื่อลดสิ่งเร้าที่รบกวนสมาธิของนักเรียน นอกจากนี้ยังมีการใช้ในด้านการโฆษณาและการวิจัยทางการตลาด โดยใช้ประโยชน์จากการรบกวนระหว่างสีและคำเพื่อดึงดูดความสนใจ และเพิ่มการจดจำแบรนด์ รวมถึงใช้ในการออกแบบยูเซอร์อินเทอร์เฟซในอุปกรณ์ดิจิทัลเพื่อลดการรบกวนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน
Reference :
Stroop, J. R. (1935). Studies of interference in serial verbal reactions. Journal of Experimental Psychology, 18(6), 643-662.
Lezak, M. D., Howieson, D. B., Bigler, E. D., & Tranel, D. (2012). Neuropsychological Assessment (5th ed.). Oxford University Press.
Moll, K., & Jones, M. (2013). The impact of the Stroop task on reading, attention, and mathematics in primary school children. Journal of Experimental Child Psychology, 116(2), 280-293.
Lee, Y. H., & Mason, M. C. (2013). The effects of congruity between background color and product color on product evaluations: The moderating role of individual differences in color sensitivity. Journal of Advertising, 42(1), 27-39.
Nielsen, J. (1994). Enhancing the explanatory power of usability heuristics. Proceedings of the ACM CHI'94 Conference on Human Factors in Computing Systems, 152-158.
โฆษณา