7 มิ.ย. 2023 เวลา 10:55 • การเมือง
เจตนารมณ์ของกฎหมาย คือ วัตถุประสงค์ในการออกกฎหมายมา ว่ามีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร
เอาคดี ง่ายๆก่อน เช่น การกำหนดความเร็วในการใช้ถนน กฎหมายออกมาเพื่อความปลอดภัยในการใช้ถนน
ถ้าสมมุติมีคนป่วยบนรถคุณ แล้วคุณใช้ความเร็วมากเกินไป เพื่อพาคนเจ็บส่งโรงพยาบาล
กรณีนี้ ถ้าว่าตามตัวอักษร มันก็คือผิด 100%
แต่ถ้าไปดูที่เจตนารมณ์ ว่ามันถูกเขียนให้เกิดความปลอดภัยในชีวิต ดังนั้น การใช้ความเร็วเพื่อรักษาชีวิต
ก็ย่อมอาจนำมาเป็นข้อยกเว้นการรับโทษ หรือลดโทษได้
แบบนี้เป็นต้น
กรณีที่เป็นข่าวอยู่ มันเป็นคดีในลักษณะของกฎหมายมหาชน เกี่ยวข้องกับคนหมู่มาก
มันก็คงต้องไปดูว่า การถือหุ้นสื่อนั้น ใช่หุ้นสื่อจริงหรือไม่
และส่งผลต่อการเลือกตั้งหรือไม่ อย่างไร
เจตนารมณ์ของกฎหมายข้อนี้ คือ การป้องกันการเอาเปรียบด้วยสื่อในมือ เพื่อประชาสัมพันธ์ตัวเอง
แต่ในทางเทคนิคแล้ว มันเป็นไปได้หรือไม่ก็ต้องพิจารณา
เช่น ถ้าผมสมัครรับเลือกตั้ง แต่ดันถือหุ้นทีวีช่องหนึ่งอยู่แค่ .001 % ของหุ้นทั้งหมด มันสามารถไปสั่งให้เขาช่วยผมได้หรือไม่ ทำไมผมได้เปรียบได้หรือไม่
แบบนี้คือการพิจารณาตามเจตนารมณ์
แต่ถ้าจะตีความว่า ห้ามเลยในทุกกรณี มันก็ไม่ผิด
เพราะก็ตีความไปตามตัวอักษร
ปัญหาคือ ตามหลักแล้ว กฎหมายมหาชน ต้องใช้หลักรัฐศาสตร์ควบคู่ด้วยเสมอ จึงต้องมาพิจารณากันว่า
ถ้าตัดสินตามตัวอักษรแล้ว มันจะให้ผลอย่างไรนั่นเอง
ผมคิดว่าที่กำลังเป็นประเด็น มันไม่ควรเป็นประเด็นตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว และมันจะไม่มีปัญหาเลย ถ้าระบบกฎหมายเรา
มันน่าเชื่อถือ และตรงไปตรงมา ไม่ใช่ตามลมปากเนติบริกร
โฆษณา