11 มิ.ย. 2023 เวลา 08:15 • สิ่งแวดล้อม

มาดู Timeline EIA จากยุค คสช.ถึงปัจจุบัน ที่ผลักดันเอากลับมาได้สำเร็จ "

นับว่าเป็นเรื่องที่เป็นเรื่องยืดเยื้อมาอย่างยาวนาน เมื่อประเด็น EIA กลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
.
เรื่องกำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2566
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 19 พ.ย.2561
เพื่อกำหนดประเภทโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 48 แห่งพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จึงออกประกาศฉบับนี้
.
สาระสำคัญของประกาศฉบับนี้ การก่อสร้างหรือขยายสิ่งก่อสร้างบริเวณหรือในทะเล ประกอบด้วย รอดักทราย เขื่อนกันทรายและคลื่น รอบังคับกระแสน้ำ แนวเขื่อนกันคลื่นนอกฝั่งทะเล และ กำแพงติดแนวชายฝั่งทะเล ทุกขนาด ต้องจัดทำ EIA ส่วนขั้นตอนในการเสนอรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA นั้น ต้องเสนอในขั้นขออนุมัติ หรือ ในขั้นขออนุญาตโครงการ แล้วแต่กรณี
.
ต้องเท้าความถึงประเด็น EIA ต่อกรณีดังกล่าวว่ามีที่มาและที่ไปอย่างไร โดยจากการที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือ คสช. เข้ามามีอำนาจในการปกครองประเทศ ส่งผลให้การบริหารราชการแผ่นดินต่างไปจากเดิม
อีกทั้งมีช่องว่างมากมาย อาทิเช่นการให้ ปลัดกระทรวงที่เป็นข้าราชการประจำขึ้นมาดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีชั่วคราว รวมไปถึงการแต่งตั้งคณะบริหารที่ เป็นข้าราชการระดับสูงของกองทัพมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในระหว่างนี้อีกด้วย
.
และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเองก็เป็นอีกหนึ่งระทรวงที่มีข้าราชการระดับสูงของทางกองทัพดำรงตำแหน่งดังกล่าว โดยนายพลท่านแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งคือ พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ( ดำรงตำแหน่งระหว่าง 30 สิงหาคม 2557 ถึง 19 สิงหาคม 2558 )
และ พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รับแหน่งต่อ จนมีการเลือกตั้งในปี 2562
ตลอดระยะเวลาเกือบ 4 ปี ที่ คสช. มาบริหารประเทศ ได้มีการใช้ อำนาจมาตรา 44 ที่ได้รับฉายาว่า อำนาจครอบจักรวาลเพราะเป็นคำสั่งจาก คสช. ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จ และมีกลไกของศาลทหารในการตัดสินคดีความต่างๆแทนศาลพลเรือน
.
กรอบและการบริหารในแต่ละกระทรวงจึงเหมือนถูกอำนาจมืดครอบงำและข้อบังคับหลายประการจึงถูกยกเลิกไปในหลายๆกระทรวง ที่มีผลพวงจนถึงปัจจุบันจนมีหลายหน่วยงานไม่กล้ายกเลิกหรือแตะคำสั่งในหลายเรื่องเพราะกลัวฤทธิ์เดชของ ม.44ย้อนหลัง
.
แต่สำหรับกฎ EIA ที่มีการยกเลิกในการทำกำแพงกันคลื่นก็คือผลกระทบหนึ่งที่เป็นมรดกจาก คสช. ที่ส่งผลถึงกระบวนการนิติรัฐในการบริหารสำหรับกระทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเช่นกัน
.
จนหลังปี 2562 ที่มีการเลือกตั้ง นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้ผลักดันและลงพื้นที่ตรวจดูสถาณการณ์และสำรวจปัญหา จากการที่ชาวบ้านในหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบ และมีเรื่องร้องเรียนถึงผลกระทบทางธรรมชาติที่กำแพงกันคลื่นที่ถูกสร้างในยุค คสช. เองก็ดี หรือมีการสร้างจากองค์กรในท้องถิ่นก็ดี
ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูล และผลักดัน จนเมื่อวันที่ 8 มิถุนายนที่ผ่านมา จนผลักดันเรื่องการต้องทำ EIA จนสำเร็จอย่างสง่างาม
.
แม้จะถูกครหาว่าเป็นพรรคร่วมรัฐบาลที่มีผลพวงจาก คสช. และถูกสื่อและคนบางกลุ่มมองในภาพลบสำหรับความล่าช้าในการผลักดัน
.
แต่ในประเด็นนี้ ถือว่าเป็นความกล้าหาญทางจริยธรรมและความพยายามในการต่อรองกับกลุ่มต่างๆ และต่อรองจนสามารถผลักดันเรื่องกฎหมาย EIA สำเร็จลุล่วงได้
โฆษณา