Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
มองสมานในสามานย์
•
ติดตาม
15 มิ.ย. 2023 เวลา 12:00 • ประวัติศาสตร์
ตอนที่ 3: จุดกำเนิด “ประเทศไทย” และ “คนไทย” ที่กลมกลืนแต่ไม่กลมเกลียว
(ปล. ขออภัยที่มีการเซ็นเซอร์บางช่วงตอน)
46.
ความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่เกิดขึ้น......... ได้ทำลายฐานรากของเสถียรภาพทางการเมืองในสยามที่เคยยึดโยงอยู่กับเครือข่ายสายสัมพันธ์ส่วนบุคคลและโครงสร้างสังคมแบบลำดับชั้น ............
47.
...
48.
...................... ขณะนั้นสยามเริ่มได้รับแรงกดดันจากสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง (พ.ศ. 2398) ในการขยายการค้า ส่งผลให้มีการขาดแคลนแรงงานมากขึ้น ..............
............ยกเลิกทาส...........แบบค่อยเป็นค่อยไป
49.
...
50.
..............กลุ่มสยามหนุ่ม เพื่อถกกันในประเด็นเรื่องความเจริญ....... จนนำมาสู่การแถลงโครงการปฏิรูปการบริหารแผ่นดินในปี พ.ศ. 2417
51.
โดยเริ่มจากการก่อตั้งกรมพระคลังแห่งใหม่...... และการก่อตั้งศาลยุติธรรมใหม่เพื่อพิจารณาคดีความ ................ถูกต่อต้านจากขุนนางใหญ่อย่างหนัก ...........ดำเนินการปฏิรูปทั้งสองเรื่องนี้แบบค่อยเป็นค่อยไป
52.
...........เปลี่ยนชื่อเป็นกรมพระคลังข้างที่ในปี 2433 ............
53.
การปฏิรูประบบยุติธรรมก็เริ่มเห็นเป็นรูปเป็นร่างเมื่อสามารถตั้งกระทรวงยุติธรรมได้ในปี พ.ศ. 2434 ............. จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2445 กว่าจะเริ่มมีการจัดตั้งศาลมณฑลและศาลจังหวัดทั่ว “ประเทศ” และในปี พ.ศ. 2451 ก็ได้ออกกฎหมายให้ทุกศาลอยู่ภายใต้กระทรวงยุติธรรม
54.
นอกจากสองเรื่องข้างต้น โครงการปฏิรูปยังรวมถึงระบบบริหารราชการแบบใหม่ ...............
55.
................ ตั้งเป็นกระทรวงกลาโหมในปี พ.ศ. 2430 ...............
56.
........... จนนำไปสู่การตั้งกระทรวงมหาดไทยในปี พ.ศ. 2435 ...........
57.
การจัดระเบียบการปกครองไม่ได้เกิดขึ้นโดดๆ แต่ควบคู่ไปกับภัยคุกคามจากเจ้าอาณานิคมภายนอกอยู่ตลอดเวลา ............. ดังนั้นเมื่อแรงกดดันจากทั้งสองประเทศนี้มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ 2400 จากการที่อังกฤษเริ่มรุกรานดินแดนทางตอนใต้ของสยาม และฝรั่งเศสก็ผนวกเอาส่วนของเขมรที่อยู่ในการดูแลของสยามไปด้วย ส่งผลให้เรื่องการปักปันเขตแดนเข้ามามีความสำคัญต่อสยาม............
...... จึงได้ว่าจ้างนักสำรวจ (เจมส์ แมคคาร์ที) ให้ทำแผนที่กำหนดเขตแดน จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2430 ที่แสดงอาณาเขตตั้งแต่สิบสองปันนาทางเหนือ ไล่ไปตามเทือกเขาอันนัมที่เขมรทางทิศตะวันออก ลงไปจนถึงเขตมลายูทางทิศใต้ (ดูแผนที่รูปขวา)
58.
การเจรจาปักปันเขตแดนทางตะวันตกกับอังกฤษเป็นไปอย่างค่อนข้างสันติ ถึงแม้สยามจะสูญเสียรัฐกะยา (ที่อยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน) ในปี 2435 แต่การเจรจากับฝรั่งเศสมีความยุ่งยากมากกว่า เพราะฝรั่งเศสก็มีแผนที่ของตนเองที่จัดทำโดยอิงกับเอกสารท้องถิ่น ประกอบกับแนวคิดในการสร้างรัฐชาติของตะวันตกที่อิงกับการสร้างรัฐ (state) เพื่อดูแลชนชาติ (nation) ที่อาศัยอยู่บนพื้นที่นั้นๆ
และเมื่อมองตามหลักนี้ ฝรั่งเศสจึงผนวกเอาฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขงเป็นของตนในปี พ.ศ. 2436 เพราะมีชาวลาวและเขมรอาศัยอยู่หนาแน่น ต่างจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขงที่มีแต่คนหลากเชื้อชาติ (มอญ-เขมร-จีน-ลาว-ฯลฯ) ผสมปนเปกันอาศัยอยู่
สยามไม่ยอม จึงได้พยายามเกณฑ์ทหารไปสู้รบกับฝรั่งเศส แต่ไม่สามารถรวบรวมกองพลได้มากพอ ทำให้ฝรั่งเศสส่งเรือรบมาที่กรุงเทพฯ และเรียกร้องให้สยามจ่ายค่าชดเชยความเสียหาย รวมทั้งเรียกร้องให้ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขงเป็นเขตปลอดทหาร อีกทั้งบังคับสยามให้คนที่มีเชื้อชาติลาว เขมรและเวียดนามที่อาศัยในสยามเป็นคนในอารักขาของฝรั่งเศส การรบและเจรจาครั้งนี้รู้จักกันในนาม เหตุการณ์ปากน้ำ
59.
สาเหตุหนึ่งที่เหตุการณ์ปากน้ำไม่ลุกลามจนทำให้ฝรั่งเศสผนวกสยามเป็นดินแดนในอาณัติของตน ก็เพราะข้าหลวงของอังกฤษที่มลายูและข้าหลวงของฝรั่งเศสที่อินโดจีนมีข้อตกลงแบบลับๆ (จนบรรลุเป็นข้อตกลงทางการเพื่อแบ่งผลประโยชน์กันที่กรุงลอนดอนในปี พ.ศ. 2439) ในการบีบสยามให้สูญเสียดินแดนบางส่วนให้ทั้งสองฝ่าย และให้เป็นรัฐกันชนในระหว่างเขตอิทธิพลของพวกตน
แต่หลัง พ.ศ. 2443 รัฐบาลอังกฤษและฝรั่งเศสได้มุ่งความสนใจกลับไปที่ยุโรป เพื่อร่วมเป็นพันธมิตรในการป้องกันภัยลุกลามจากเยอรมนี (ซึ่งสุดท้ายก็ลามไปสู่สงครามโลกในปี 2457 จนได้) ซึ่งเป็นช่วงที่ยุคสมัยของการยึดครองดินแดนของเจ้าอาณานิคมสิ้นสุดลงพอดี
ส่วนการปักปันเขตแดนที่อังกฤษได้พยายามโน้มน้าวสยามให้ทำตั้งแต่ทศวรรษ 2360 ก็รีบเร่งกับฝรั่งเศสให้แล้วเสร็จโดยไว โดยออกมาเป็นสนธิสัญญาเขตแดน ที่ทำระหว่าง พ.ศ. 2445 และ 2452 (ดูแผนที่รูปขวา)
60.
เนื่องจากรัฐสยามยอมไม่ได้ที่จะให้คนบางเชื้อชาติในอาณาเขตปกครองของตนมีสิทธิสภาพในอาณัติฝรั่ง จึงจำต้องยอมยกดินแดนจำนวนมากเป็นการชดเชย เช่น นอกจากส่วนหนึ่งของฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขงที่ใกล้หลวงพระบาง ก็ยังมีสี่เมืองในมณฑลเขมร (จำปาสัก เสียมเรียบ พระตะบอง และศรีโสภณ) ที่กลายเป็นของฝรั่งเศส รวมถึงบางเมืองในรัฐมลายู (ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส) ให้แก่อังกฤษ
และเพื่อให้สนธิสัญญาฉบับนี้มีความกระจ่างแก่รัฐชาติตะวันตก จึงใช้คำว่า “ราชอาณาจักรไทย หรือ ประเทศไทย” แทนคำว่าสยาม และเรียกผู้คนที่อาศัยอยู่ในเขตแดนนี้ว่าเป็น “คนไทย” ไม่ใช่คนลาว เขมร มอญ สยาม ฯลฯ เช่นในอดีต ซึ่งต่อมาก็ออกพระราชบัญญัติสัญชาติในปี พ.ศ. 2456 ซึ่งตอกย้ำแก่ชาวต่างชาติว่าพลเมืองใน “รัฐไทย” เป็นกลุ่มคน “ชาติไทย” เหมือนกันหมด
61.
..............พุทธศาสนา.........ตามพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. 2445 ......
62.
การปฏิรูปโครงสร้างบริหารราชการแบบใหม่.......ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับผู้คนจากหัวเมืองรอบนอกและชั้นในนั้นต่างกันลิบลับ .........ตระกูลขุนนางเก่า...........โรงเรียนซึ่งก่อตั้งขึ้นมาเพื่อฝึกคนให้เข้ารับราชการ เช่น โรงเรียนสวนกุหลาบ (พ.ศ. 2425) และโรงเรียนทหารสราญรมย์ (2430) ต่อมาก็มีโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (2440) เพื่อเตรียมนักเรียนไปเรียนต่างประเทศ ............ “โรงเรียนวัด” .............
63.
..........บุกเบิกที่ดินผ่านนโยบายขุดคลอง ................. ที่ดินใหม่เหล่านี้มีชาวบ้านจากอีสานอพยพเพื่อมาเช่าที่ทำนาบ้าง หรือรับจ้างเป็นลูกนาบ้าง
64.
............หยุดยั้งโครงการพัฒนาที่ดินก่อนที่จะนำไปสู่ระบบขุนนางเจ้าที่ดินแบบที่เคยเป็นในยุโรป และ..........จัดสรรที่ดินให้กับครอบครัวชาวนารายเล็ก
ส่วนหนึ่งก็เพราะชาวนาอพยพกลุ่มนี้ไม่คุ้นเคยกับระบบเจ้าที่ดิน จึงบุกเบิกพื้นที่ที่ถูกครอบครองโดยชนชั้นนำเสมือนเป็นของตัวเอง ส่งผลให้มีกรณีพิพาทรุนแรงเรื่องที่ดินอยู่เสมอ (แม้แต่สำนักงานของโครงการขุดคลองรังสิตยังต้องมีอาวุธเพื่อเอาไว้ไล่ชาวบ้านออกไปจากพื้นที่เหล่านั้น) ..........
65.
เมื่อพูดถึงผลกระทบของการปฏิรูประบบบริหารราชการ จะไม่พูดถึงเจ้าสัวจีน...........ก็กระไรอยู่ .................
ตระกูลเจ้าสัวใหญ่ดั้งเดิมจึงแสวงหาธุรกิจใหม่ๆ บ้างก็ร่วมมือกันก่อตั้งธนาคารและบริษัทเดินเรือ บ้างก็เบนเข็มไปค้าข้าวและทำโรงสี บ้างทำไม้สัก มีหลายตระกูลที่เข้าร่วมในกิจการที่ดินที่กำลังรุ่งโรจน์ (ทั้งที่นา บ้านและห้องแถว) เช่นตระกูลพิศลยบุตรได้บุกเบิกกิจการโรงสีข้าวจนมีสัดส่วนถึง 40% ของธุรกิจค้าข้าว แถมยังได้รับสัมปทานขุดคลองสาธรและสร้างบ้านไม้โอ่อ่าริมชายคลองซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมาก
ชุมชนพ่อค้าจีนเริ่มก่อตั้งสมาคมต่างๆ เพื่อช่วยเหลือกันและกัน และเพื่อปกป้องดูแลตนเอง จนบางทีก็มีแก๊งคนจีนปะทะกันบ้างเนื่องจากขัดแย้งทางธุรกิจ (เช่นการต่อสู้ใหญ่ใจกลางกรุงเทพฯ เป็นเวลา 3 วันใน พ.ศ. 2432) ................
66.
แต่เมื่อเจอปัญหาผลผลิตข้าวเสียหายช่วง พ.ศ. 2447-2451 ทำให้ไม่มีข้าวส่งออก (ถึงแม้รายได้ของชาวนารายย่อยลดลง แต่ก็ไม่ถึงกับลำบาก เพราะพวกเขาขายเพียงส่วนเกินเท่านั้น) โรงสีขาดกำไร ธนาคารเผชิญภาวะล้มละลาย ธุรกิจเดินเรือเป็นหนี้จนต้องขายกิจการ ตระกูลเจ้าสัวใหญ่จำนวนมากประสบปัญหา จึงร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐไทย ...................
67.
หลังจากวิกฤตข้าวครั้งนี้ก็ไม่มีตระกูลเจ้าสัวใหญ่สมัยกลางรัตนโกสินทร์ที่อยู่รอดมาได้ในฐานะผู้ประกอบการในอนาคต (ดังที่บรรยายไว้ในนิราศสำเพ็ง) ส่วนผู้ประกอบการกลุ่มใหม่ที่สร้างความรุ่งเรืองหลังจากนั้นเป็นชาวจีนอพยพที่เข้ามาสยามหลังทศวรรษ 2410 ทั้งสิ้น ซึ่งได้เรียนรู้จากข้อผิดพลาดของตระกูลเจ้าสัวรุ่นก่อนหน้า โดยกลุ่มใหม่นี้เน้นการปรับตัวกับความผันแปร.......... รวมถึงเน้นทำธุรกิจครบวงจรที่เกี่ยวเนื่องกัน โดยมีเครือข่ายธุรกิจเพื่อครอบคลุมผลประโยชน์อย่างกว้างขวาง
68.
สำหรับผู้คนจากหัวเมืองชั้นนอก ปฏิกิริยาที่มีต่อการปฏิรูปโครงสร้างบริหารราชการแบบใหม่นั้นรุนแรงมากกว่าผู้คนจากหัวเมืองชั้นใน ............. ทั้งกบฏชาวนาที่ลำพูน (พ.ศ. 2432), กบฏสามโบกที่ขอนแก่น (2438), กบฏผีบุญที่กระจายตัวไปทั่วอีสาน (2444-45), กบฏเงี้ยวเมืองแพร่และกบฏจากรัฐภาคใต้ (2445), กบฏครูบาศรีวิชัยแห่งล้านนา (2446) .............
69.
...............จะรักษาอิสรภาพของสยามไว้ได้ด้วยวิธีใด
70.
.................... ซึ่งมีใจความว่า ชาติตะวันตกเชื่อว่าพวกเขามีหน้าที่นำความก้าวหน้ามาสู่มวลมนุษยชาติ (The White Man's Burden – เป็นวลีที่ Rudyard Kipling ใช้เป็นชื่อหนังสือของตนในปี พ.ศ. 2442) เพราะมีความเหนือกว่าในทุกด้าน จึงปรารถนาให้ชาติเล็กทั้งหลายอยู่ในความปกครองของชาติหนึ่งชาติใดของยุโรปเพื่อผลประโยชน์ทั้งปวง ............. เช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่เริ่มพัฒนาอย่างตะวันตกในขณะนั้น ซึ่งจะป้องกันไม่ให้ “คนขาว” อ้างถึงความเหนือกว่าในการรุกรานสยามได้
71.
... ...
72.
... ...
73.
...............นักคิดสามัญชนที่คอยสานต่อแนวคิดนี้ (เช่น กุหลาบ ตฤษณานนท์, เทียนวรรณ วัณณาโภ, ทิม สุขยางค์)
พวกเขาผ่านการศึกษาในโรงเรียนวัดเหมือนคนธรรมดาทั่วไป ...........ทำให้มีโอกาสได้เรียนต่อในโรงเรียนสมัยใหม่ บ้างก็ได้มีโอกาสทำงานกับฝรั่งจึงพูดได้หลายภาษา
ถึงแม้สามัญชนเหล่านี้จะมีความรู้ความสามารถ แต่ส่วนมากยังถูกกีดกัน.......... แถมยังก้าวหน้าในระบบราชการช้า......... กอปรกับการเริ่มมีโรงพิมพ์อิสระหลังทศวรรษ 2410 ......... ทำให้คนกลุ่มนี้เริ่มผลิตงานเขียนที่เข้าถึงคนจำนวนมากได้ง่ายขึ้น
74.
งานส่วนใหญ่ของนักคิดสามัญชนเป็นการเรียบเรียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคนั้น .............. พร้อมทั้งตั้งคำถามว่า โดยเปรียบเทียบกับญี่ปุ่น ...จนญี่ปุ่นประสบความสำเร็จ ทั้งในการต้านทานอาณานิคม และการสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจ ....................
75.
นักคิดสามัญชนเหล่านี้มักถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอาญาจากงานเขียนของพวกเขา ............... ศาลก็มักพิจารณาคดีและตัดสินให้ทำลายงานเขียนเหล่านั้น ............ และจำคุกพวกเขาเป็นเวลานาน (เช่น เทียนวรรณถูกจำคุกถึง 16 ปี)
1
แต่พอพ้นโทษก็ออกจากคุกมาพร้อมงานเขียนต่อเนื่องจำนวนมาก และยังคงจัดทำวารสาร พิมพ์บทความอย่างไม่หยุดยั้ง ..........กอปรกับการเปรียบเทียบสยามกับโลกภายนอกที่เผชิญความเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผัน องค์ประกอบเหล่านี้เป็นพลังที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดในอนาคตไม่ไกลต่อจากนั้น!
จบตอนที่ 3.
ที่มา: “ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย” โดยคริส เบเคอร์ และ ผาสุก พงศ์ไพจิตร (ปรับปรุงจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์)
ประวัติศาสตร์
1 บันทึก
2
2
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ความเป็นไทย
1
2
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย