Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
มองสมานในสามานย์
•
ติดตาม
5 พ.ค. 2023 เวลา 14:00 • ประวัติศาสตร์
ตอนที่ 2: จากเริ่มต้นใหม่ที่กรุงธน สู่ความพยายามสานต่ออยุธยาที่กรุงเทพ
(ปล. ขออภัยที่มีการเซ็นเซอร์บางช่วงตอน)
23.
หลังเสียกรุงในปี พ.ศ. 2310 ได้ไม่นาน ผู้คนที่หนีแตกกระเซอะกระเซิงก็ได้รวมตัวเป็นกลุ่มก๊วนหลายกลุ่ม แต่กลุ่มที่มาแรงที่สุดนำโดยสามัญชนลูกครึ่ง (พ่อเป็นจีนแต้จิ๋ว แม่เป็นชาวเสียน/สยาม) ซึ่งเคยมีอาชีพเป็นนายเกวียนค้าขายตามหัวเมือง แล้วติดสินบนขุนนางจนได้เป็นเจ้าเมืองตากอันไกลโพ้น
พระเจ้าตากสินมีพรสวรรค์ที่สามารถดึงดูดใจคนเป็นจำนวนมาก จึงรวบรวมสมัครพรรคพวกจากบรรดาพ่อค้าจีน นักพนัน และขุนนางระดับล่าง (รวมถึงนายบุญมาที่มาจากตระกูลขุนนางมอญเก่าที่มีเชื้อสายจีนผสม) แล้วมาสร้างเมืองใหม่ที่ธนบุรี เนื่องจากมีบริเวณที่ล้อมรอบด้วยบึงเพื่อป้องกันภัยจากศัตรู แถมยังอยู่ตรงข้ามกับชุมชนจีนที่ทำการค้ามานานที่บางกอก โดยพระเจ้าตากสินได้ใช้เส้นสายกับพ่อค้าจีนในการนำอาหารเข้ามาประทังชีวิตผู้คน แล้วเริ่มฟื้นฟูการค้าเพื่อหารายได้เข้าคลัง
ถัดมาประมาณ 1 ปี นายบุญมาก็ได้นำพี่ชายคือนายทองด้วงมาร่วมก๊วนพระเจ้าตากสินด้วย
24.
เมื่อตั้งหลักที่เมืองหลวงแห่งใหม่สำเร็จ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (พระเจ้าตากสิน) ก็ได้นำเอาประเพณีกษัตริย์ชายชาตินักรบและสังคมทหารกลับมา เริ่มแรกเพื่อป้องกันตนเอง และต่อมาเพื่อขยายอิทธิพลเหนือดินแดนอื่นในฐานะแม่ทัพ นักรบส่วนใหญ่ก็มาจากนักเสี่ยงโชค โดยมีนายบุญมาและนายทองด้วงเป็นแม่ทัพเอก
ทัพพระเจ้าตากปราบปรามเมืองต่างๆ ทั้งทางด้านทิศเหนือและใต้ ซึ่งระส่ำระสายเพราะพม่ารุกราน รวมถึงมุ่งขยายอิทธิพลไปทางด้านทิศตะวันออก ความพยายามขับไล่พม่าโดยเริ่มจากการนำทัพของพระเจ้าตากส่งผลให้ท้ายสุดแล้วสามารถแผ่ขยายอิทธิพลไปกว้างไกลกว่าในสมัยอยุธยาเสียอีก
เช่น เชียงใหม่ที่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าตั้งแต่ พ.ศ. 2101 พระเจ้าตากสินก็ได้นำทัพไปช่วยเจ้ากาวิละในปี พ.ศ. 2313 จนขับไล่พม่าออกไปสำเร็จ และสถาปนาเชียงใหม่ขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2347 (หลังสิ้นยุคธนบุรีในปี พ.ศ. 2325)
25.
ระหว่างทำสงครามกับพม่าและขยายอิทธิพลไปยังดินแดนอื่น มีช่วงที่การรบพุ่งเบาบางลงไปบ้างและผู้คนเริ่มกลับมาดำเนินชีวิตปกติ ตระกูลขุนนางเก่าที่ไม่ได้ร่วมสู้รบกับพระเจ้าตากก็ถูกลดความสำคัญลงไป (เมื่อเทียบกับนักเสี่ยงโชคที่ได้รับบำเหน็จความชอบจากการร่วมสู้รบมาตั้งแต่ต้น จนกลายเป็นขุนนางใหม่ที่มีความสำคัญมากกว่า) พวกเขาไม่พร้อมที่จะรับใช้ผู้นำคนใหม่ที่มีพื้นเพเป็นสามัญชน และพร้อมสนับสนุนนายทองด้วงให้เป็นผู้นำของกลุ่มตน
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2325 ขุนนางเก่าเหล่านี้ได้ก่อการปฏิวัติรัฐประหารและปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี รวมถึงกำจัดพระญาติและผู้สนับสนุนจนสิ้น ...............
26.
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2325 ขุนนางเก่าเหล่านี้ได้ก่อการปฏิวัติรัฐประหารและปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี รวมถึงกำจัดพระญาติและผู้สนับสนุนจนสิ้น ...............
ซึ่งหมายถึง............ พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา (โดยเปลี่ยนมาเรียกว่า พระเจ้ากรุงสยาม .......เมื่อ "สยาม" ถูกใช้เรียกเป็นชื่อประเทศ) รวมถึงการใช้คำว่า อยุธยา ในชื่อเมืองหลวงแห่งใหม่ รวมทั้งนำซากอิฐที่หลงเหลือจากวัดและวังที่อยุธยามาใช้ในการสร้างพระราชวังใหม่
ต่อมา........แก้นามเป็น “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทอยุธยา” ...........เปลี่ยนคำว่า บวร เป็น อมร, มหินทอยุธยา เป็น มหินทรายุธยา, และเติมสร้อยนามต่อท้ายว่า “... มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศมหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” เพื่อบ่งบอกถึงความเป็นเมือง........
นอกจากถาวรวัตถุแล้วก็ได้มีความพยายามในการสรรหาเอกสารที่หลงเหลืออยู่มาเรียบเรียงชำระใหม่ ทั้งกฎหมาย พงศาวดาร พระคัมภีร์ศาสนา ตำราเกี่ยวกับการปกครองและพิธีการต่างๆ ถึงขนาดที่ว่าพิธีราชาภิเษกถูกเลื่อนไปจนกระทั่งแน่ใจว่าสามารถทำได้เหมือนกับของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ .....
27.
ถึงแม้กรุงเทพฯ จะสามารถหยุดยั้งอิทธิพลพม่าได้สำเร็จในปีที่สถาปนาเชียงใหม่ (พ.ศ. 2347) แต่ก็ไม่หยุดที่จะแผ่ขยายแสนยานุภาพด้านการทหารออกไปอีกหลายทศวรรษ เช่น การทำสงครามกับเจ้าอนุวงศ์ที่เวียงจันทร์เพื่อการควบคุมที่ราบสูงโคราช โดยสามารถทำลายราชวงศ์ลาวจนราบคาบในปี พ.ศ. 2371 ...... รวมถึงส่งกองทัพไปตีเอาดินแดนเขมรและเผาเมืองหลวงจนเป็นจุณในปี พ.ศ. 2376 ......
28.
เป้าหมายของการทำสงครามเหล่านี้ก็เพื่อนำของป่าจากดินแดนใหม่มาขายเป็นสินค้าออกไปยังจีน รวมถึงกวาดต้อนเชลยจำนวนหลายแสนคนให้มาตั้งถิ่นฐานใหม่ในดินแดนสยาม ทั้งจากยวนล้านนา ลาวเวียงจันทร์ ลาวพวน เขินลู้ ไทยใหญ่ ไทยดำ เขมร เวียดนาม และมลายู
เชลยที่นำมาถูกใช้เป็นแรงงานในการสร้างเมืองหลวงใหม่ที่กรุงเทพฯ เพื่อกิจการในวังและตามบ้านขุนนาง เพื่อทำนาผลิตข้าวในที่ราบลุ่มภาคกลาง และเพื่อหาของป่าในพื้นที่อีสานให้กรุงเทพฯ ขายส่งออกให้จีน จะมีก็แต่เพียงทิศตะวันตกเท่านั้นที่กรุงเทพฯ ไม่สามารถแผ่อิทธิพลได้สำเร็จ
29.
ช่วงเวลาร่วม 7 ทศวรรษแรกของการก่อร่างสร้างกรุงเทพฯ มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทั้งจากพลวัตของตระกูลขุนนาง พ่อค้าจีนที่ตั้งรกรากมาตั้งแต่สมัยอยุธยาและชาวจีนที่อพยพมาอย่างต่อเนื่อง ไพร่และทาสที่มาจากหลายแหล่ง รวมถึงการหวนกลับมามีความสำคัญของฝรั่งตะวันตกหลังจากสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์
30.
ตระกูลขุนนางเก่าจากอยุธยาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นชนชั้นสูงที่กรุงเทพฯ นอกจากนั้นก็ยังมีตระกูลขุนนางรุ่นใหม่ซึ่งพุ่งขึ้นมาจากการเป็นนักรบที่ประสบความสำเร็จ มีตระกูลขุนนางทั้งเก่าและใหม่สิบกว่ารายผูกขาดตำแหน่งใหญ่โตที่กระทรวงในกรุงเทพฯ จนก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้วิธีการแบบเดียวกับขุนนางสมัยอยุธยา (ดูข้อ 20)
กระทรวงต่างๆ เปรียบเสมือนเป็นรัฐย่อยๆ และดูแลการคลังของตนแยกออกจากกัน ยิ่งทำให้ตระกูลขุนนางมีอำนาจมากยิ่งขึ้น แถมยังผลิตลูกหลานจำนวนมากเพื่อขยายสายสัมพันธ์กับชนชั้นสูงตระกูลอื่น และสืบทอดตำแหน่งภายในตระกูล ส่งผลให้มีความรุ่งเรืองและอลังการจนเทียบเคียงได้กับพระราชวงศ์ (เช่นตระกูลบุนนาค ซึ่งมีเชื้อสายสืบไปได้ถึงต้นตระกูลชาวเปอร์เซียที่อพยพมาเสียนเมื่อสมัยพระนเรศวร ดำรงตำแหน่งเสนาบดีที่ควบคุมหัวเมืองทั่วสยาม และสืบทอดตำแหน่งมาตลอด 4 ชั่วอายุคน)
1
31.
นอกจากความรุ่งเรืองของชนชั้นสูงที่กรุงเทพฯ ที่ได้มาจากการผูกขาดตำแหน่ง แม้แต่ตระกูลเจ้าเมืองในเขตหัวเมืองหลายแห่งก็ได้กลายเป็นระบบตกทอดสู่ลูกหลาน เจ้าเมืองเหล่านี้สวามิภักดิ์กับขุนนางจากส่วนกลาง แต่ทำตัวเสมือนเป็น “กษัตริย์องค์น้อย” ที่ควบคุมทุกอย่างภายในเมือง ............
32.
ความสัมพันธ์ทางการค้าที่พระเจ้าตากสินได้ริเริ่มไว้กับชาวจีนอพยพในบางกอก และได้รับการสานต่อ...... ได้นำไปสู่การขยายตัวของชนชั้นกลางในสยามโดยที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
33.
ในช่วงแรกจีนอพยพเหล่านี้เกี่ยวโยงกับการค้าข้าวระหว่างสยามและจีน รุ่นต่อมาอพยพเพราะหลีกลี้ความยากจนและปัญหาการเมืองที่จีนใต้ ส่วนมากเข้ามารับจ้างเป็นกุลีแบกหามตามท่าเรือ บ้างก็เข้ามาจับจองที่ดินบริเวณชายขอบของที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อปลูกผักขาย บางส่วนก็ล่องไปตามแม่น้ำแล้วตั้งรกรากตามเมืองต่างๆ และทำมาค้าขายสารพัด รวมถึงการเป็นเจ้าของโรงงานผลิตสินค้า บ้างก็เข้าไปในแผ่นดินลึกเพื่อปลูกยางพาราและทำเหมือง จนสยามส่งออกสินค้าได้มากและหลากหลายขึ้น
34.
ผู้ปกครองสยามเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จึงปล่อยให้ชาวจีนทำมาค้าขายโดยอิสระ ยกเว้นไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน แต่เก็บภาษีรัชชูปการและภาษีการค้าแทน ซึ่งเป็นวิธีเพิ่มรายได้ให้แก่รัฐอย่างมหาศาล ต่อมาชาวสยาม (ที่เคยเป็นไพร่เกณฑ์) ก็เข้ามาทำการค้ามากขึ้น ทำให้ระบบเศรษฐกิจมีความเป็นตลาด และสังคมเมืองมีความกระจายในระนาบเดียว (จากที่เคยเป็นระนาบชั้น) เป็นชนชั้นกลางตามไปด้วย
35.
แต่ก็มีตระกูลเจ้าสัวจำนวนหนึ่งรุ่งเรืองเป็นอย่างมากจากการอิงความอุปถัมภ์จากสมาชิกของชนชั้นสูง พวกเขาเริ่มจากการเป็นพ่อค้าเหมือนชาวจีนทั่วไป แต่ได้มีโอกาสช่วยกษัตริย์หรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ดูแลการค้าต่างประเทศ โดยเฉพาะกับจีนที่กลายมาเป็นคู่ค้าสำคัญของสยาม
ต่อมาก็ได้รับสัมปทานให้เป็นเจ้าภาษีนายอากร หรือมีตำแหน่งสูงทางราชการเช่นเสนาบดี จนก่อตั้งเป็นตระกูลใหญ่ มีลูกหลานมากมายไม่ต่างจากตระกูลขุนนาง (เช่น ต้นตระกูลไกรฤกษ์มีลูกหญิงชายถึง 50 คน) เพื่อสร้างเส้นสายโดยการถวายลูกสาวให้เป็นบาทบริจาริกาของกษัตริย์ หรือจากการให้ลูกหลานแต่งงานกับสมาชิกพระราชวงศ์และตระกูลใหญ่ๆ ของกรุงเทพฯ รวมทั้งกับตระกูลพ่อค้าที่เป็นหุ้นส่วนการค้าที่เมืองจีน จนทำให้ตระกูลเจ้าสัวเหล่านี้รุ่มรวยมหาศาล (นอกจากตระกูลไกรฤกษ์ ก็มี โชติกะพุกกะนะ, กัลยาณมิตร, พิศลยบุตร เป็นต้น)
36.
ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเจ้าสัวกลุ่มนี้ได้สร้างค่านิยมใหม่ขึ้นมาในสังคมสยาม ว่าคนที่เป็น “พระเอก” ไม่จำเป็นต้องมาจากกรอบของชาติกำเนิดและโชคชะตา เหมือนอย่างที่พวกเขารับรู้ผ่านวรรณกรรมสมัยอยุธยา แต่คนธรรมดาก็สามารถสร้างชีวิตตนเองได้ โดยชีวิตของแต่ละคนมีความเป็นส่วนตัว ปลอดจากขีดจำกัดของจารีตหรือสถานะทางสังคม เจ้าสัวได้ทำให้เห็นว่า “เงิน” เป็นหนทางสำคัญสู่การเลื่อนชั้นทางสังคม
ส่งผลให้วรรณกรรม เช่นนิราศ ไม่ได้มีเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับเทพเจ้า...เหมือนอย่างแต่ก่อน แต่ยังบรรยายเรื่องทั่วไปที่เกิดขึ้นกับคนธรรมดาอย่างตื่นตาตื่นใจ โดยเฉพาะจากสุนทรภู่ที่เขียนกลอนแบบชาวบ้านซึ่งล้อเลียนชนชั้นสูงจนกลายเป็นที่นิยม ลามไปถึงจิตรกรรมในวัดที่มีภาพวิถีชีวิตประจำวันของผู้คนเป็นฉากหลัง
37.
ฝรั่งกลับเข้ามาสยามอีกครั้งเมื่อทศวรรษ 2350 ครั้งนี้พวกเขามาพร้อมกับนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งให้ประโยชน์กับธุรกิจของชนชั้นสูง ทั้งวิธีทำบัญชีและการเดินเรือ สมาชิกของกลุ่มเจ้าก็ประทับใจกับเครื่องไม้เครื่องมือใหม่ๆ รวมทั้งความแม่นยำด้านคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์
แต่ในขณะเดียวกันจักรวรรดินิยมอังกฤษที่อินเดียก็ได้เริ่มแผ่ขยายเข้ามาใกล้กับสยามมากขึ้น หลังจากอังกฤษได้สร้างฐานที่มั่นที่ปีนังและสิงค์โปร์จากการเข้าพัฒนาอุตสาหกรรมดีบุกเมื่อทศวรรษ 2360 พร้อมกับการมีชัยชนะเหนือพม่าในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน อังกฤษก็คัดง้างกับอิทธิพลของสยามเรื่องการปักปันเขตแดนทางด้านเหนือของแหลมมลายู
38.
ราชสำนักสยามเข้าใจดีว่านั่นคือสัญญาณแห่งความเปลี่ยนแปลง ทั้งในแง่ความพิสมัยของความเจริญทางวัตถุและภัยคุกคามจากการล่าอาณานิคม ...... เช่น เอฟ เอ นีล ได้กล่าวถึง....... และสรุปว่า “......ประเทศไหนเล่าในโลกตะวันออกที่จะแข่งกับสยามได้ ... จะเป็นที่น่าเสียดายหากมหาอำนาจยุโรปอื่นๆ ปิดกั้นไม่ให้อังกฤษฉวยโอกาสงามที่เอื้ออำนวยเช่นนี้”
39.
ย้อนกลับไปเมื่อฝรั่งเข้ามาใหม่ๆ ......ขุนนางในกลุ่มของ ขำ บุนนาค ระทึกใจกับเรื่องความเจริญทางวัตถุ แต่ก็ไม่ชอบที่หมอสอนศาสนาคริสต์โจมตีพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะที่ฝรั่งอ้างว่าความก้าวหน้าด้านวัตถุของพวกเขาเกี่ยวเนื่องโยงใยกับจริยธรรมทางศาสนาคริสต์
ขุนนางกลุ่มนี้พยายามที่จะแยกความก้าวหน้าด้านวัตถุออกจากจริยธรรม พวกเขาเห็นว่าทั้งพุทธและคริสต์มักจะมีเรื่องของอภินิหารและอิทธิฤทธิ์ปนเปอยู่กับความเชื่อพื้นบ้าน แต่เมื่อแยกสิ่งเหล่านี้ออกไป ศีลของพุทธมีเหตุมีผลมากกว่าศาสนาคริสต์ที่เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้กำหนดสิ่งต่างๆ ในโลก
40.
ต่อมา..........ตั้งธรรมยุติกนิกายขึ้นเพื่อปฏิรูปและฟื้นฟูด้านวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ในสยามให้มีความเข้มงวดตามพุทธบัญญัติ
โดยเน้นพุทธธรรมที่มองโลกด้วยความจริงตามหลักวิทยาศาสตร์ เน้นการใช้เหตุผลและสิ่งที่สามารถประจักษ์ได้ด้วยตนเอง รวมถึงให้ความสำคัญกับโลกนี้และผลที่จะเกิดขึ้นในโลกนี้ ทำให้เรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ที่ประยุกต์มาจากลัทธิพราหมณ์ถูกพยายามตัดออกไปจากพุทธศาสนา
เป้าหมายสำคัญคือการทำให้พุทธศาสนาปราศจากองค์ประกอบซึ่งเป็นเหตุให้ฝรั่งวิจารณ์ และเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองในสยามตามพระประสงค์ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1 แต่พุทธเถรวาทส่วนใหญ่ในสยามก็ยังดำรงตามความเชื่อทางศาสนาแบบเดิม และเรียกกลุ่มตนว่าพุทธมหายาน (แปลว่าส่วนใหญ่) ......
41.
สรุปแล้ว ความพยายามในการวางรากฐานกรุงเทพฯ โดยการฟื้นฟูให้เหมือนอยุธยาในสมัยเฟื่องฟูนั้น ..........ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างมหาศาล ส่งผลให้สยามในยุคต้นรัตนโกสินทร์มีความเป็นสองสังคมซึ่งมีพื้นฐานต่างกันเหลื่อมซ้อนกันอยู่
42.
หนึ่งคือสังคมแบบเก่าในสมัยอยุธยาซึ่งมีฐานรากอยู่ที่การแบ่งชนชั้นทางสังคมและการสร้างสายสัมพันธ์ส่วนตัว คนกลุ่มนี้ต้องการรักษาความ “สมานฉันท์” ในสังคมโดยควบคุมไพร่และทาสแบบดั้งเดิม (เช่น ผ่านกฎหมายค้าทาสปี พ.ศ. 2348 ที่อนุญาติให้มีการซื้อขายผู้อื่นที่ไม่ใช่ญาติตนได้อย่างอิสระ, มีการกำหนดราคาตามอายุ เพศ และสภาพอื่นๆ, และสามารถแปลงทาสให้เป็นดั่งวัตถุที่ตกทอดถึงลูกหลานได้ ส่งผลให้มีคนถูกลักพาตัวจากแดนไกลมาขายเป็นทาสในเมืองเป็นจำนวนมาก)
1
รวมถึงการปฏิเสธฝรั่งที่เรียกร้องให้เปิดการค้าเสรี เนื่องจากคุกคามต่อความมั่นคงทางสายสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงภายในสยาม รวมทั้งสายสัมพันธ์ผ่านการค้ากับจีน
43.
อีกสังคมหนึ่งเป็นแบบใหม่ที่มีฐานรากอยู่ที่ระบบเศรษฐกิจ ที่ซึ่งความสัมพันธ์เกิดขึ้นในระนาบเดียวกัน จากการได้เห็นความเป็นอิสระของแรงงานชาวจีนในด้านการค้า ส่งผลให้ชาวสยามที่เดิมเป็นไพร่เกณฑ์ได้ใช้หลายวิธีการในการหลบเลี่ยงเพื่อเข้ามาเป็นแรงงานเสรีในตลาด ......
ชนชั้นนำหลักที่สนับสนุนแนวคิดนี้คือตระกูลบุนนาค เนื่องจากใกล้ชิดกับพระคลังหลวงมายาวนานและได้สร้างกิจการการค้าแบบผูกขาดเป็นของตระกูลตนไว้หลายประเภท ทำให้เชื่อว่าการค้าขายกับฝรั่งจะยิ่งทำให้มีแรงงานมากขึ้นและเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อสร้างรายได้เข้าคลังและธุรกิจเอกชน รวมถึงความมั่งคั่งของตระกูลตน
44.
....... ทำให้ไม่สามารถที่จะมาก้าวก่ายกับอำนาจ ผลประโยชน์ และความมั่งคั่งของตระกูลบุนนาคได้อย่างแน่นอน ........... จนนำไปสู่สนธิสัญญาเบาว์ริ่งในปี พ.ศ. 2398 และนั่นก็นำไปสู่ทิศทางการพัฒนาสังคมสยามในรูปแบบใหม่
45.
แต่มีอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ชนชั้นนำสยามในขณะนั้นต้องขบคิดอย่างหนักเพื่อป้องกันการคุกคามจากเจ้าอาณานิคมตะวันตก ... นั่นก็คือ จะปฏิรูปการปกครองในสยามต่อไปอย่างไรดี!
จบตอนที่ 2.
ประวัติศาสตร์
1 บันทึก
3
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ความเป็นไทย
1
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย