18 มิ.ย. 2023 เวลา 04:11 • หนังสือ

✴️ บทที่ 5️⃣ เป็นอิสระด้วยการละวางภายใน ✴️ (ตอนที่ 20)

🍀 ข้ามพ้นโลกแห่งผัสสะ เข้าถึงบรมสุขอันไม่เสื่อมสลาย 🍀
⚜️ โศลกที่ 2️⃣3️⃣ ⚜️ หน้า 607–608
โศลกที่ 2️⃣3️⃣
〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
โยคีที่แท้ สามารถควบคุมกามราคะและโทสะได้ขณะอยู่ในโลกจนมรณะมาเยือน เขาเป็นผู้มีความสุข
〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
แม้โยคีที่ก้าวหน้า บางครั้งยังรู้สึกว่ากามราคะและความโกรธ (จากผลกรรมในอดีต) ยังมีกำลังแรงอยู่ในตัว ถ้าท่านยังเพียรแน่วแน่อยู่บนวิถีแห่งโยคี ต่อต้านอารมณ์ไม่พึงประสงค์ที่ “มาเยือนอย่างไม่คาดคิด” ได้ในบางโอกาส ไปจนวันตาย สุดท้ายท่านจะเข้าถึงความเป็นหนึ่งเดียวกับบรมวิญญาณ
คีตาสอนผู้ภักดีให้ยอมตายในการต่อสู้กับอารมณ์ชั่วร้าย ดีกว่ายอมเป็นทาสของมัน แล้วต้องกลับไปพัวพันอยู่กับการเกิดใหม่อันเป็นทุกข์ โยคีได้รับคำแนะนำ ไม่แค่ให้ดำรงอยู่กับทิพยเกษมในช่วงทำสมาธิเท่านั้น แต่ให้อยู่กับพรนี้ขณะทํากิจกรรมทั้งหลายด้วย เพื่อจะได้ต่อกรกับอารมณ์อันเป็นโทษจากอดีตที่ ยังฝังอยู่ในจิตใต้สำนึก บุคคลที่ไม่สามารถนำทิพยเกษมในสมาธิมาสู่กิจกรรมในชีวิตประจำวัน จะถูกประสบการณ์ชั่วร้ายในอดีตจู่โจมได้ง่ายๆ โยคีที่อยู่กับบรมสุขแห่งวิญญาณอยู่เสมอสามารถดับอารมณ์อันเป็นโทษที่ฟุ้งขึ้นมาได้
ความอยากปล่อยตัวไปตามผัสสะเย้ายวน เรียกว่า 'กาม' เมื่อความอยากนี้ถูกขัดขวาง จะทำให้เกิดความโกรธ ; 'โทสะ' อารมณ์ทั้งสองนี้จู่โจมผู้ภักดีทั้งภายในและภายนอก ทําให้เขาคิดถึงความสุขภายนอกที่ไร้ความยั่งยืนทางหนึ่ง ส่วนอีกทางหนึ่งนั้นมันพยายามทำให้เขาลืมความเกษมสุขแห่งบรมวิญญาณ ระหว่างการทำสมาธิและปฏิบัติ 'กริยาโยคะ'
เมื่อผู้ภักดีพ้นแล้วจากการรับรู้ทางกาย เขาอาจรู้สึกได้ว่ากามกับความโกรธที่ติดมากับกรรมเก่าแอบบุกรุกเข้ามา แต่ถ้าเขายังดำรงอยู่กับความเกษมสุข และเพ่งที่จุดระหว่างคิ้วต่อไป ไม่แสดงอาการภายนอกเพื่อสนองอารมณ์อันเป็นโทษนั้น เขาจะได้ชัยชนะและความสุขทั้งขณะปฏิบัติสมาธิและขณะทำกิจกรรมทางโลก
(((มีต่อ)))

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา