Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
•
ติดตาม
5 ก.ค. 2023 เวลา 01:00 • สิ่งแวดล้อม
“บุกกาบเขียวเขาหินปูน” ออกดอกรับฤดูฝน พบได้ในป่าผสมผลัดใบและป่าดิบบนเขาหินปูน
𝘈𝘳𝘪𝘴𝘢𝘦𝘮𝘢 𝘱𝘳𝘢𝘻𝘦𝘳𝘪 Hook.f. วงศ์ Araceae
ฤดูกาลมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการออกดอกและติดผลของพืชแต่ละชนิด ในการเข้าพื้นที่สำรวจเพื่อให้พบดอกหรือผลของพรรณไม้ในพื้นที่อย่างครบถ้วน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องดำเนินการสำรวจซ้ำในพื้นที่เดิม เมื่อฤดูกาลเปลี่ยนแปลงไป ในวันที่ฝนต้นฤดูได้โปรยปรายลงมา แสดงถึงการเปลี่ยนผ่านของฤดูร้อน ทางคณะผู้วิจัยจึงลงพื้นที่สำรวจดอยหัวหมดอีกครั้ง ทำให้ได้พบกับผู้ต้อนรับหน้าใหม่ “บุกกาบเขียวเขาหินปูน”
ลักษณะเด่น: ไม้ล้มลุก ผลัดใบในฤดูแล้ง สูงได้ถึง 1.4 ม. มีหัวใต้ดิน ใบประกอบ 1 ใบ มี 3 ใบย่อย ดอกสมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดมีกาบ ชูสูงกว่าใบ ปลายมีรยางค์ยื่นพ้นหลอดกาบชัดเจน หลอดกาบรูปทรงกระบอก ยาว 2.5-5 ซม. สีเขียว โคนกาบและมีเส้นแถบสีขาว ดอกเพศผู้สีเหลืองอ่อนหรือสีม่วง ดอกเพศเมียสีเขียวเข้ม
1
สามารถพบได้ในป่าผสมผลัดใบและป่าดิบบนเขาหินปูน ที่ระดับความสูง 550−1,850 ม. จากระดับน้ำทะเล ตัวอย่างต้บแบบแรกถูกบันทึกโดยหมอคาร์ (A.F.G. Kerr) หมายเลข 1199 บริเวณดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ รายงานการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และลำปาง ในการสำรวจครั้งนี้พบบุกกาบเขียวเขาหินปูนบริเวณดอยหัวหมด อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก นับได้ว่าเป็นรายงานการกระจายพันธุ์ใหม่ทางภาคตะวันตกของในประเทศไทย
1
#บุกกาบเขียวเขาหินปูน #กรมอุทยานแห่งชาติ
สิ่งแวดล้อม
สื่อทางเลือก
เรื่องเล่า
1 บันทึก
8
2
1
8
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย