2 ก.ค. 2023 เวลา 01:53 • หนังสือ

12 กฎทองของสมอง ของคนใช้สมองเป็น

สรุปตามภาษา Beyond the book ให้ผู้อ่านทั้งหลายได้นำไปปรับใช้
Brain rules you should know to make life much more effective.
ต่อที่ SECTION 5 to SECTION 8
กฎข้อที่ 5 การเชื่อมโยง
5.1) ตั้งแต่เด็กจนโต สมองของคนเรามีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เมื่อคนเรามีการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ หรือเรื่องต่างๆ ก็จะเกิดการเชื่อมโยงของวงจรประสาทใหม่ๆเข้าด้วยกัน แต่ละคนก็มีความสามารถในการเรียนรู้ได้เร็วหรือช้าต่างกันจึงเกิดความเชื่อมโยงในรูปแบบที่แตกต่างกัน
5.2) คนเราจะมีความรู้ในเรื่องใดก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์เฉพาะของแต่ละคน และสิ่งที่เขาได้เรียนรู้ผ่านมาในแต่ละช่วงชีวิต บางเรื่องของบางคนอาจจะรู้และมีประสบการณ์มากกว่า ในขณะที่ความรู้บางเรื่องของบางคนก็อาจจะน้อยกว่า จะมากจะน้อยหรือลดยังไงก็แล้วแต่ปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของแต่ละคนแตกต่างกัน
1
5.3) กฎข้อนี้ คือ ความรู้และประสบการณ์เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ความฉลาดของคนเรามีหลายด้านไม่เหมือนกัน แล้วแต่ใครจะฉลาดเรื่องไหนเป็นพิเศษ โดยไม่ต้องคิดน้อยใจว่าทำไมเราถึงไม่ฉลาดเรื่องนั้นเรื่องนี้เหมือนๆใครเขา เพราะฉะนั้นในโรงเรียน ที่บ้าน หรือที่ทำงาน
ก็ควรจะมีปัจจัยเอื้อและจัดสรรให้แต่ละคนเหมาะกับความสามารถแต่ละแบบ เรื่องไหนใครทำได้ดีก็ทำเรื่องนั้น ใครที่ยังขาดความรู้เรื่องไหนก็อาจมาติวกันกลุ่มเล็กๆให้ทั่วถึง หรือสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ฝึกฝน พัฒนา ซึ่งจะช่วยให้แต่ละคนค้นพบความสามารถที่ซ่อนอยู่ของตนเองได้
6
กฎข้อที่ 6 ความจดจ่อ
6.1) สมองของคนเรามักจะจดจ่อกับสิ่งที่น่าสนใจ ซึ่งตัวดึงดูดความน่าสนใจอาจเป็นสี ภาพ การแต่งตัวที่เป็นเอกลักษณ์ วิธีการพูดที่กินใจ และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งสมองของคนเรามักจะสนใจในสิ่งที่เป็นภาพรวมหรือใจความสำคัญมากกว่ารายละเอียดปลีกย่อย การใส่ใจกับใจความสำคัญก็มีส่วนช่วยเชื่อมโยงไปยังยังรายละเอียดปลีกย่อยๆอื่นที่อยู่รอบๆได้
4
6.2) อย่างการทดลองเรื่องของการทำงาน คนที่ทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันจะทำงานได้มีประสิทธิภาพน้อยกว่าคนที่ทำงานจดจ่อแค่งานใดงานหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง หรือแม้แต่คนที่ถูกขัดจังหวะระหว่างการทำงาน กว่าจะเริ่มต้นโหมดใหม่หรือกลับมาต่อติดกับการทำงานอีกครั้งก็จะใช้เวลามากขึ้น ซึ่งอาจทำให้งานช้าลงกว่าเดิมก็เป็นได้
2
6.3) กฎข้อนี้ คือ เราควรนำกฎของความจดจ่อมาปรับใช้ เช่น การนำเสนองานด้วย PowerPoint ก็ควรจะเน้นนำเสนอด้วยภาพให้ง่ายต่อการเรียนรู้และจดจำมากกว่าใส่ข้อความรายละเอียดมากจนเกินไป หรือในช่วงเวลาของการอ่านหนังสือ ซึ่งมีข้อความเต็มไปหมดก็ควรจะขีดไฮไลท์ข้อความด้วยปากกาสีเพื่อให้ง่ายต่อการกลับมาอ่านใหม่ อีกตัวอย่าง คือ ทำให้คนจดจำสถานการณ์ดีๆนั้นได้ ด้วยการสร้างสถานการณ์ที่อบอวลไปด้วยอารมณ์และความรู้สึกกินใจ เป็นต้น
กฎข้อที่ 7 ความจำ
7.1) สมองของคนเรามีความพิเศษในเรื่องของการจดจำสิ่งต่างๆได้ ทั้งในระยะสั้น และ ระยะยาว ความจำระยะสั้นสามารถอยู่ได้เพียงช่วงเวลาสั้นๆเท่านั้น เนื่องจากเรามีการเรียนรู้ รับข้อมูลใหม่ๆเข้ามาตลอด ซึ่งสามารถแทนที่ข้อมูลเก่า และทำให้ข้อมูลเก่าที่เคยจำได้เลือนรางหายไป
2
7.2) ถึงแม้ความจำระยะสั้นจะอยู่เพียงแค่ชั่วคราว แต่เราสามารถทำให้กลายเป็นความจำระยะยาวได้ เช่น การทำให้เกิดเหตุการณ์ที่สร้างอารมณ์ความรู้สึกให้อินกับสิ่งต่างๆ หรือ สร้างสภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงกับบทเรียนหรือเรื่องที่เรากำลังเรียนรู้ เป็นต้น ก็สามารถกระตุ้นความจำได้อย่างดีเช่นกัน
7.3) กฎข้อนี้ คือ การที่เราต้องใช้สมองให้เป็นในการเปลี่ยนความจำระยะสั้นเป็นระยะยาว เพื่อไม่ให้ข้อมูลที่รับมาเลือนรางหายไปตามกาลเวลา โดยการทบทวนซ้ำๆ อย่างสม่ำเสมอ และเว้นช่วงของการทบทวนอย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ข้อมูลที่ได้มาฝังแน่นในสมองของเรามากขึ้น และถึงแม้มีข้อมูลใหม่ๆเข้ามามากมาย ก็ยังคงที่จะสามารถจำได้ เพราะเราได้อุทิศใช้เวลาในการทบทวนและซึมซับเข้าสู่สมอง
1
กฎข้อที่ 8 การรวมประสาทสัมผัส
8.1) ดวงตาของเราเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้ อย่างรูปทรง จะมีส่วนประกอบที่เป็นเส้น สี ความโค้ง ส่วนประกอบเหล่านี้ก็จะวางแยกไว้ในแต่ส่วน เมื่อเรามองเห็นภาพหรือรูปทรงนั้นอีกครั้ง ส่วนประกอบเหล่านี้ก็จะมารวมกัน ทำให้เรามองเห็นเป็นรูปทรงหนึ่งๆได้
8.2) ประสาทสัมผัสก็จะมี รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส โดยเฉพาะรูป คือ การมองเห็นภาพ กระตุ้นการจดจำ และประสบการณ์ ซึ่งประสบการณ์ของแต่ละคนก็จะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน อันเนื่องมาจากการมองเห็นหรือมองในมุมที่แตกต่างกัน และกลิ่นนั้นเชื่อมโยงกับสมองส่วนอารมณ์ (อะมิกดาลา) ทำให้เกิดการกระตุ้นความจำในอดีตได้เช่นกัน
5
8.3) กฎข้อนี้ คือ เราควรใช้สื่อหลายๆรูปแบบในการเรียนรู้เรื่องหนึ่ง เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และการจดจำ อย่างการใช้ภาพให้จำได้ง่าย ใช้เสียงเพื่อกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึก หรือการใช้สีเพื่อเน้นย้ำถึงใจความสำคัญ เป็นการลดทอนข้อความที่มากเกินไปก็ได้เช่นกัน
1
เร็วๆนี้จะมาต่อกันใน PART สุดท้าย คือ SECTION 9 to SECTION 12
1
แหล่งอ้างอิง :
หนังสือ : 12 กฎทองของคนใช้สมองเป็น .Brain Rules . ผู้เขียน John Medina . ผู้แปล วิโรจน์ ภัทรทีปกร . จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ วีเลิร์น ในเครือบริษัท วีเลิร์น จำกัด
1
โฆษณา