24 ก.ค. 2023 เวลา 02:57 • สุขภาพ
#FattyLiver #โรคตับคั่งไขมัน : ปัญหาสุขภาพใหญ่ที่ใคร ๆ ชอบมองข้าม !
Fatty Liver คือ ภาวะที่มีไขมันแทรกอยู่ในเซลล์ตับ โดยปกติแล้ว เซลล์ตับจะมีไขมันอยู่น้อยมาก หรือ อาจไม่มีเลย เพราะตับจะเก็บสะสมพลังงานสำรองของร่างกายไว้ในรูปของไลกโคเจน (Glycogen) ไขมันที่สะสมในเซลล์ตับส่วนใหญ่แล้วเป็นไขมันชนิด ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides : TGs) หากพบว่ามีปริมาณ >5% ของเซลล์ตับแล้ว จะถือว่ามีความปกติที่เราเรียกกันว่าภาวะ Fatty Liver หรือ Liver Steatosis นั่นเอง
.
#ทราบได้อย่างไรว่าเรามีFattyLiver ?
(โดยที่ไม่ต้องตัดชิ้นเนื้อตับ เพื่อมาตรวจ)
1. จากการตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง (Abdominal Ultrasound)
2. จากการตรวจโดยเทคนิกคลื่นเสียงสะท้อน (เช่น Fibroscan)
3. รู้ได้อ้อม ๆ ว่ามีจากการมีเส้นรอบเอวที่มาก คือ >90 cm ช , >80 cm ญ หรือ มีภาวะอ้วนลงพุง นั่นเอง
.
#อะไรคือสาเหตุหลักของการเกิดFattyLiver?
หากไม่นับปัจจัยเรื่องการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แล้วทำให้เกิดไขมันคั่งในตับแล้ว (เรียกว่า Alcoholic Liver Diease : ALD) ปัจจุบันนี้ พบว่า "ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance)" เป็นสาเหตุหลักของ Fatty Liver มากที่สุด นั่นเอง ซึ่งเราเรียกชื่อว่า NAFLD หรือ Non-Alcoholic Fatty Liver Disease หรือ ชื่อใหม่ที่เริ่มมีคนพูดถึง คือ Metabolic-associated fatty liver disease (MAFLD)
.
โดยส่วนใหญ่ Fatty Liver เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ไม่ดี คือ การรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มากเกินไป (Over Carbohydrate consumption) โดยเฉพาะกลุ่มคาร์โบไฮเดรตแปรรูป (Refined Carbohydrates or
Fattening Carbohydrate) อาหาร ขนม หรือ เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลฟรุกโตส (Fructose Syrup, High Fructose Corn Syrup : HFCS) มาก นอกจากนี้ ยังรวมถึง อาหารที่ผ่านการแปรรูปต่าง ๆ (Processed Foods) ที่รับประทานมาก เป็นระยะเวลาที่นานติดต่อกันอีกด้วย + การมีพฤติกรรมเนือยเนือง สโลว์ไลฟ์ ไม่ค่อยได้ขยับตัว หรือ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ (Sedentary Lifestyle) นั่นเอง
.
#กลไกการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในการเกิดFattyLiver?
การที่เรากิน ดื่ม อาหาร เครื่องดื่มเหล่านี้มากขึ้นและบ่อยนั้น จะส่งผลทำให้ #ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ถูกหลั่งออกมาจากตับอ่อน (เบต้าเซลล์) เข้ามาสู่กระแสเลือดมากขึ้น เมื่ออินซูลินในเลือดสูงขึ้น จะส่งผลทำให้ เพิ่มกระบวนการเร่งการสะสมสารอาหารต่าง ๆ ให้เป็น
พลังงานสำรองในร่างกาย (Energay Storages) เช่น การสะสมแป้ง (Glycogen) ที่เซลล์ตับ เซลล์กล้ามเนื้อลาย และ การสะสมไขมัน (Fat storage) ที่เนื้อเยื่อไขมัน (Adipose tissues) เป็นต้น
.
หากระดับอินซูลินในเลือดนั้นยังสูงต่อเนื่อง สูงขึ้นอีกเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นผลจากการกินของเราที่ยังคงกินคาร์บสูงอยู่ตลอด + ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย + ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่ส่งเสริมเข้ามาอีก เช่น นอนน้อย นอนดึก เครียดสะสมเรื้อรัง ก็ยิ่งส่งผลให้ร่างกายเก็บสะสมพลังงานที่มากเกินไป เช่น การเร่งกระบวนการเก็บสะสมแป้งในร่างกาย โดยเฉพาะ Glycogen ที่ตับ ให้
เปลี่ยนมาเป็นการสะสมไขมันมากขึ้น หรือ ที่เราเรียกว่า Increased Lipogenesis หรือ กระบวนการ de novo Lipogenesis : DNL นั่นเอง ซึ่งหากมีปริมาณมากเกินไป จะทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ตับ (Liver inflammation / Hepatitis) จนเห็นการเพิ่มขึ้นของค่าเอนไซม์ตับที่สำคัญ เช่น ALT GGT AST เป็นต้น เราเรียกภาวะไขมันคั่งในตับ ร่วมกับมีตับอักเสบว่า
NASH (Non Alcoholic Steatohepatitis) นั่นเอง ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดผังผืดในตับ (Liver fibrosis) และ โรคตับแข็ง (Cirrhosis) และ มะเร็งตับชนิด HCC ได้ นั่นเอง [รูปประกอบในคอมเม้นต์]
.
#ไขมันในตับสู่ไขมันสะสมมากขึ้นในร่างกายได้อย่างไร?
เมื่อไขมันสะสมในเซลล์ตับมากขึ้น จะถูกขนส่งนำออกจากตับสู่กระแสเลือด โดยใช้ไลโปโปรตีนชนิด VLDL ขนส่งออกมาจากตับ ล่องลอยมาในกระแสเลือด และปล่อยไขมันไตรกลีเซอไรด์ที่นำมาด้วยนั้น ให้เก็บสะสมตามเซลล์ไขมันที่บริเวณอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เรียกว่า Ectopic fat/ lipid accumulation นั่นเอง ดังนั้น เมื่อมีภาวะดื้อต่ออินซูลินเกิดขึ้น จึงทำให้มีไขมันสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้อ้วนขึ้นเรื่อย ๆ นั่นเอง
.
#โรคไขมันคั่งในตับอาจเป็นสัญญาณบอกว่าระบบเผาผลาญร่างกายกำลังมีปัญหา
การมี Fatty Liver ทั้งชนิด NAFLD หรือ NASH นั้น มีสาเหตุส่วนใหญ่มาจาก ภาวะดื้อต่ออินซูลิน ส่งผลทำให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายไม่สามารถใช้ไขมันที่สะสมในเซลล์ (Intracellular fat storages) ได้ตามปกติ เพราะความไวต่ออินซูลินนั้นลดลง
ซึ่งปกตินั้น กระบวนการเผาผลาญไขมันในเซลล์จะเกิดขึ้นที่บริเวณ #ไมโตรคอนเดรีย (Mitochondria) ของเซลล์ เรียกว่า กระบวนการ Beta Oxidation หรือ อาจจะเผาผลายไขมันได้ แต่ไม่ได้ดีเท่าที่ควรจะเป็น เราเรียกว่าเกิดภาวะ "Metabolic inflexibility หรือ #ระบบเผาผลาญพัง” นั่นเอง
.
ผลที่เกิดนี้ จะส่งผลให้เซลล์ไขมันโตขึ้น ๆ เรื่อย ๆ (Hypertrophy) ร่างกายมีไขมันสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ และ ไขมันที่สะสมมากขึ้น เมื่อเต็มความจุของเซลล์ไขมันในบริเวณอวัยวะดังกล่าวแล้ว ร่วมกับ เซลล์มีภาวะดื้อต่ออินซูลินมากขึ้น เซลล์ไขมันนั้น ก็จะสลายไขมัน
ที่สะสมข้างในเซลล์ เช่น ไตรกลีเซอไรด์ (TGs) ออกมาในรูป #กรดไขมันอิสระ #NEFA (Non-esterified fatty acids) มากขึ้น ๆ เรื่อย ๆ และนำเข้าสู่กระแสเลือด ไปยังอวัยวะปลายทางต่าง ๆ เช่น เก็บสะสมที่ตับมากขึ้น ยิ่งส่งเสริมโรคตับคั่งไขมันมากขึ้นไปอีก และ สะสมในกล้ามเนื้อ (Ectopic Fat accumulation) นั่นเอง
การมีกรดไขมันชนิดนี้มากในเซลล์ตับและเซลล์กล้ามเนื้อนั้น (Fatty Liver & Fatty Muscle & Fatty Pancreas) จะยิ่งส่งผลทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินมากขึ้นไปอีก ทำให้ >> ลดการนำน้ำตาลกลูโคสสู่เซลล์ และ ส่งผลเสียต่อเตาเผาผลังงานในเซลล์ หรือ Mitochondria dysfunction จนเกิดเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ ตามมาได้
.
นอกจากนี้ เซลล์ไขมันที่ผิดปกติ เนื่องมาจากการสะสมไขมันไว้มากเกินไป ก็จะเกิดการอักเสบ ปล่อยสารก่ออักเสบต่าง ๆ ออกมามากมาย (Inflammatory cytokines) และ มีเม็ดเลือดขาวหลากหลายชนิดเข้ามาเก็บกินบริเวณนั้น ยิ่งปล่อยสารก่ออักเสบออกมามากขึ้นไปอีก ดังนั้น ในโรคอ้วน จึงมีการอักเสบเรื้อรัง (Chronic Inflammation) เกิดขึ้น นั่นเอง
ในขณะเดียวกัน หากมีภาวะดื้อต่ออินซูลินเกิดขึ้นแล้ว ในช่วงที่เราไม่ได้รับประทานอะไร (Fasting period) หรือ ช่วงที่ออกกำลังกาย (Exercise) พบว่า ร่างกายก็ไม่สามารถใช้น้ำตาลที่สะสมไว้ในเซลล์ (Glycogen) หรือ ดึงเอาไขมันที่เก็บสะสมไว้ (Fat storages เช่น TGs) ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย เพราะเซลล์ต่าง ๆ นั้น มีความไวต่ออินซูลินที่ลดลง นั่นเอง
.
#บทสรุป
Fatty Liver ที่พบมากขึ้นในยุคนี้ โดยส่วนใหญ่แล้วเกิดจาก ภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) ส่งผลทำให้การใช้น้ำตาลในเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายลดน้อยลง + การเผาผลาญไขมันในเซลล์ลดลง + รวมถึง การสะสมไขมันในเซลล์ตับ เซลล์อื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น และ + เกิดการอักเสบมากขึ้น ๆ จนเป็นการอักเสบเรื้อรัง (Chronic inflammation) โดยเฉพาะอวัยวะที่สำคัญ ได้แก่ ที่บริเวณเซลล์ตับ เซลลืกล้ามเนื้อ รวมถึง เซลล์ไขมัน ร่วมด้วย
.
👨‍⚕️📝 ดังนั้น #ภาวะดื้ออินซูลิน จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายในวงการแพทย์และการดูแลรักษาโรคอ้วน โรคตับคั่งไขมัน (Fatty Liver) โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และ กลุ่มโรค NCDs ต่าง ๆ แนวทางการดูแล รักษา แก้ไข ภาวะดื้ออินซูลิน
.
โฆษณา