28 ก.ค. 2023 เวลา 13:57 • ประวัติศาสตร์

โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก (Johannes gutenberg) บิดาแห่งการพิมพ์ของโลก

โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก หรือ โยฮันเนส เจนส์ไฟลช์ ลาเดน ซูม กูเตนเบิร์ก นับเป็นบิดาแห่งการพิมพ์ของโลก เครื่องพิมพ์ที่เขาคิดประดิษฐ์ขึ้นมาใช้ถือได้ว่ามีอิทธิพลและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในหลากหลายด้าน
กูเตนเบิร์ก เกิดราวปี ค.ศ.1398 และเติบโตที่เมื่องไมนซ์(Mainz) ประเทศเยอรมนี บิดาเป็นขุนนาง ชื่อ ไฟร์ล เจนส์ไฟร์ล ซูร์ ลาเดน ส่วนมารดาชื่อ เอลซ์ ไวริช เมื่อวัยเด็ก กูเตนเบิร์ก ติดตามบิดาไปโบสถ์เพื่อดูการพิมพ์ภาพ และได้เห็นการแกะสลักบล็อคไม้เป็นเรื่องยากที่ส่งผลให้หนังสือในสมัยนั้นมีราคาแพงและเป็นสิ่งที่หาได้ยาก เขาจึงใฝ่ฝันอยากจะสร้างเครื่องมือที่สามารถพิมพ์หนังสือได้รวดเร็ว
แท่นพิมพ์ไม้ในยุคแรกเป็นภาพในปี 1568 แท่นพิมพ์ดังกล่าวสามารถสร้างการแสดงผลได้มากถึง 240 ครั้งต่อชั่วโมง
ปี ค.ศ.1411 ประเทศเยอรมนีเกิดเหตุจลาจล บ้านเรือนหลายร้อยหลังคาเรือนถูกยึด กูเตนเบิร์กพลักถิ่นไปอยู่ที่เมืองอัลทา (Alta villa) ต่อมาได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเออเฟิร์ด (The University of Erfurt) หลังจากนั้น ไม่มีใครรู้เรื่องราวของเขา จนกระทั้งพบจดหมายของเขา เมื่อเดือน มีนาคม ค.ศ.1434 ว่าเขาทำงานเป็นลูกจ้างในร้านตัดกระจก และพักที่สตาสบูร์ก (Strasbourg) เขาได้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์และอักษรโลหะ 26 ชิ้นที่มีขนาดเท่ากันได้สำเร็จเป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1448 กูเตนเบิร์กเดินทางกลับไปที่เมืองเกิด เพื่อยืมเงินญาติและเพื่อนมาลงทุนทำโรงพิมพ์ สุดท้ายเพื่อนที่ชื่อ โยฮันน์ ฟัส(Johann Fust) ให้เงิน 800 กิลเดอร์(Gilder) ค.ศ. 1455 เครื่องพิมพ์ของกูเตนเบิร์กได้พิมพ์พระคัมภีร์ไบเบิลออกมาราว 800 เล่ม เป็นที่รู้จักกันในชื่อของ "ไบเบิ้ลของกูเตนเบิร์ก" (The Gutenburg Bible) จากผลของความสำเร็จในครั้งนี้ ทำให้เขาได้รับการแต่งตั้งจากสังฆราชเมืองไมนซ์ให้เป็นหมาดเล็ก และได้รับเงินบำราญ
Gutenberg Bible ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่หอสมุดรัฐสภาในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
ต่อมาในปี ค.ศ. 1475 วิลเลียม แคกซ์ตัน(William Caxton) ช่างพิมพ์ชาวอังกฤษได้พัฒนาเครื่องพิมพ์เพื่อตีพิมพ์หนังสือ (Recuyell of the Histoyes of Troye) นับเป็นหนังสือที่พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเล่มแรกของโลกแม้กูเตนเบิร์กจะไม่ใช่คนแรกของโลกที่คิดประดิษฐ์เครื่องพิมพ์
แต่สิ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธไปได้เลยคือ เขามีส่วนสำคัญที่ทำให้สามารถต่อยอดวิทยาการต่างๆ ของโลกได้รับการเผยแพร่ กูเตนเบิร์กถึงแก่กรรมที่บ้านเกิด เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1468 ศพของเขาถูกนำไปฝังที่โบสถ์นิกายฟรังซิส(Franziskanerkiche) ซึ่งต่อมาโบสถ์และสุสานถูกทำลาย ทำให้หลุมศพของกูเตนเบิร์กหายสาบสูญไปด้วย
เป็นการรีโพสนะครับ
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก (Johannes gutenberg) :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา