1 ม.ค. 2023 เวลา 07:47 • ประวัติศาสตร์
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Eigstein) ค.ศ.1879-1955
นักวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 1 กำเนิดอัจฉริยะแห่งนักฟิสิกส์
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่คนทั้งโลกยอมรับว่าเขาคืออัจฉริยะ ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพันธภาพและมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์และจักรวาลวิทยา
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Eigstein)
สิ่งที่เขายืนยันกับลูกอยู่เสมอนั่นก็คือทุกสรรพสิ่งย่อมมีเหตุและผลของมันในความเชื่อนี้เขากลั่นกรองออกมาเป็นคำคมที่เหนือชั้นว่า
พระเจ้าไม่ได้สร้างสรรพสิ่งด้วยการทอยลูกเต๋า
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ.1921 จากการอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริกและจาก "การทำประโยชน์แก่ฟิสิกส์ทฤษฎี"
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคมปี ค.ศ.1879 เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวเยอรมันเชื้อสายยิวที่มีสัญชาติสวิสและอเมริกัน(ตามลำดับ)
1
ไอสไตน์เกิดในเมืองอุล์ม ราชอาณาจักรเวอร์เทมบูร์ก สมัยจักรวรรดิเยอรมนี ห่างจากเมืองสตุ๊ตการ์ทไปทางตะวันออกประมาณ 100 กิโลเมตร บิดาของเขาชื่อว่าแฮร์มานน์ ไอน์สไตล์ เป็นพนักงานขายทั่วไปซึ่งกำลังทำการทดลองเกี่ยวกับเคมีไฟฟ้า มารดาชื่อว่า พอลลีน มีคนรับใช้ 1 คนชื่อ คอช ทั้งคู่แต่งงานกันในโบสถ์ในสตุตการ์ท
ภาพถ่ายไอน์สไตน์ในวัยเด็ก เมื่อ 14 ปี
ครอบครัวของเขาเป็นชาวยิวแต่ไม่เคร่งครัดนักอัลเบิร์ตเข้าเรียนในโรงเรียนประถมคาทอลิกและเข้าเรียนไวโอลีน ตามความต้องการของแม่ของเขาที่ยืนยันให้เขาได้เรียน
เมื่อเขาอายุได้ 5 ขวบพ่อของเขานำเข็มทิศพกพามาให้เล่นและทำให้ไอน์สไตน์รู้ว่ามีบางสิ่งบางอย่างในพื้นที่ที่ว่างเปล่า ซึ่งส่งแรงผลักเข็มทิศให้เปลี่ยนทิศไป เขาได้อธิบายในภายหลังว่าปรากฏการณ์เหล่านี้คือหนึ่งในส่วนที่เป็นแรงบันดาลใจให้แก่เขาในชีวิต
ความเชื่อเรื่องเหตุและผลในตัวเขาประจักษ์มานับแต่ต้น เด็กคนหนึ่งคิดได้อย่างไรว่าจะต้องมีแรงอะไรบางอย่างที่ผลักดันให้เข็มทิศหันไปทางไหนต่อไหนได้
เขาชอบที่จะสร้างแบบจำลองและอุปกรณ์กลไกในเวลาว่าง เขาถือเป็นผู้ที่เรียนรู้ได้ช้า สาเหตุอาจเกิดจากการให้เขามีความพิการทางการอ่านและเขียน(Dysiexia)ความเขินอายซึ่งพบได้ทั่วไป
ไอน์สไตน์กับมายา น้องสาวของเขา
หรือการที่เขามีโครงสร้างสมองที่ไม่ปกติและหาได้ยากมาก(จากการชันสูตรสมองของเขาหลังจากที่ไอน์สไตน์เสียชีวิต)เขายกความดีความชอบในการพัฒนาทฤษฎีของเขาว่าเป็นผลมาจากความเชื่องช้าของเขาเองโดยเขากล่าวว่าเขามีเวลาคุณคิดว่าโอกาสและเวลามากกว่าเด็กคนอื่นๆ
เขาจึงสามารถพัฒนาทฤษฎีเหล่านี้ได้ด้วยการที่เขาสามารถรับความรู้เชิงปัญญาได้มากกว่าและนานกว่าคนอื่นๆ
ไอน์สไตน์เริ่มเรียนคณิตศาสตร์เมื่อประมาณอายุ 12 ปีโดยที่ลุงของเขาทั้งสองคนเป็นผู้อุปถัมภ์ ความสนใจเชิงปัญญาของเขาในช่วงย่างเข้าวัยรุ่น โดยการแนะนำและให้ยืมหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ในปี ค.ศ.1894 เนื่องมาจากความล้มเหลวในธุรกิจเคมีไฟฟ้าของพ่อของเขาทำให้ครอบครัวไอสไตน์ย้ายจากเมืองมิวนิค ไปยังเมืองพาเวียร์(ใกล้กับเมืองมิลาน)ประเทศอิตาลี ในปีเดียวกันนั้นเขาได้เขียนผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่ 1 ขึ้นมา("คือการศึกษาสถานะของอีเทอร์ในสนามแม่เหล็ก")
ไอน์สไตน์ และเพื่อนๆ
โดยที่ไอน์สไตน์ยังอาศัยอยู่ในบ้านพักในอยู่จนเรียนจบจากโรงเรียน โดยเรียนเสร็จไปแค่ภาคเรียนเดียวก่อนจะลาออกจากโรงเรียนมัธยมศึกษากลางฤดูใบไม้ผลิในปี ค.ศ.1895
แล้วจึงตามครอบครัวของเขาไปอาศัยอยู่ในเมืองพาเวียร์เขาลาออกโดยไม่บอกพ่อแม่ของเขาและโดยไม่ผ่านการเรียน 1 ปีครึ่งรวมถึงการสอบไล่ ไอสไตน์เกลี้ยกล้อมโรงเรียนให้ปล่อยตัวเขาออกมา
โดยกล่าวว่าจะไปศึกษาเป็นนักศึกษาแพทย์ฝึกหัดตามคำเชิญจากเพื่อนผู้เป็นแพทย์ของเขาเอง โรงเรียนยินยอมให้เขาลาออกแต่นี่หมายถึงเขาจะไม่ได้รับใบรับรองการศึกษาชั้นเรียนมัธยม
แม้ว่าเขาจะมีความสามารถชั้นเลิศในสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ แต่การให้เขาไร้ความรู้ใดๆทางด้านศิลปศาสตร์ ทำให้เขาไม่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าสถาบันเทคโนโลยีแห่งสมาพันธรัฐสวิสในเมืองซูริค
ทำให้ครอบครัวเขาต้องส่งเขากลับไปเรียนมัธยมศึกษาให้จบที่อารอในสวิตเซอร์แลนด์ เขาสำเร็จการศึกษาและได้รับใบอนุปริญญาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1896 และสอบเข้า ETH ได้ในเดือนตุลาคมแล้วจึงย้ายมาอาศัยอยู่ในเมืองซูริคในปีเดียวกัน
ETH Zurich (Swiss Federal Institute of Technology in Zürich) , Switzerland
เขากลับมาที่บ้านเกิดของเขาเพื่อเพิกถอนภาวะการเป็นพลเมืองของเขาในเวอร์เทมบูรก์ ทำให้เขากลายเป็นผู้ไร้สัญชาติ
ในปี ค.ศ.1909 ได้รับประกาศนียบัตรสำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งสมาพันธรัฐสวิสและได้รับสิทธิ์พลเมืองสวิสในปี ค.ศ.1901 หลังจากจบการศึกษาไอสไตน์ไม่สามารถหางานสอนหนังสือได้หลังจากพยายามอยู่เกือบ 2 ปี พ่อของอดีตเพื่อนร่วมชั้นคนนึงก็ช่วยให้เขาได้งานทำที่สำนักงานสิทธิบัตรในกรุงเบิร์น
โดยเขาได้ตำแหน่งผู้ช่วยตรวจสอบเอกสารหน้าที่ของเขาคือการตรวจประเมินใบสมัครของสิทธิบัตรในหมวดหมู่อุปกรณ์แม่เหล็กไฟฟ้า
ในปี ค.ศ.1930 ไอน์สไตน์ รับการบรรจุเข้าเป็นพนักงานประจำหลังจากถูกมองข้ามมานานการอยู่นานกับงานเช่นนั้นส่งผลให้เขากลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีจักรกล
ไอสไตล์กับเพื่อนหลายคนที่รู้จักกันในเบิร์ก ได้รวมกลุ่มกันเป็นชมรมเล็กๆสำหรับคุยกันเรื่องวิทยาศาสตร์และปรัชญา ตั้งชื่อกลุ่มอย่างเราเรียนว่า "The Olympia Academy" พวกเขาอ่านหนังสือร่วมกันเช่น งานของปวงกาเร แม็กและฮูม ซึ่งส่งอิทธิพลต่อแนวคิดด้านวิทยาศาสตร์และปรัชญาของไอน์สไตน์มาก
เพื่อนๆในกลุ่ม "The Olympia Academy" คนขวาสุดคือ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
ตลอดช่วงเวลาของเหล่านี้ไอสไตน์แทบจะไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องใดๆกับชุมชนทางฟิสิกส์เลย งานที่สำนักงานสิทธิบัตรของเขาโดยมากจะเกี่ยวกับปัญหาเรื่องการส่งสัญญาณไฟฟ้าและการซิงโครไนซ์ทางเวลาระหว่างระบบไฟฟ้ากับระบบทางกล
ซึ่งเป็นสองปัญหาหลักทางเทคนิคอันเป็นจุดสนใจของการทดลองในความคิดยุคนั้นซึ่งในเวลาต่อมาได้ชักนำให้ไอสไตน์ไปสู่ผลสรุปอันลึกซึ้งเกี่ยวกับธรรมชาติของแสงและความเกี่ยวพันพื้นฐานระหว่างอวกาศกับเวลา
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Eigstein)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา