2 ม.ค. 2023 เวลา 08:30 • ประวัติศาสตร์
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Eigstein) ค.ศ.1879-1955
นักวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 2 กำเนิดทฤษฎีสัมพัทธภาพ
Annus Mirabilis Papers
ปี ค.ศ.1905 ขณะที่ไอน์สไตน์ทำงานอยู่ที่สำนักงานสิทธิบัตรก็ได้ตีพิมพ์บทความ 4 เรื่องใน Annalen der physik ซึ่งเป็นวารสารทางฟิสิกส์ชั้นนำของเยอรมัน บทความทั้งสี่นี้ในเวลาต่อมาเรียกชื่อรวมกันว่า "Annus Mirabilis Papers"
ปี ค.ศ.1906 สำนักงานสิทธิบัตรเลื่อนขั้นให้ไอน์สไตน์เป็น Techninal Examiner Second Class แต่เขาก็ยังไม่ทิ้งงานด้านวิทยาศาสตร์วิชาการ ปี ค.ศ.1908 เขาได้รับเข้าเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเบิร์น ปี ค.ศ.1910
เขาเขียนบทความอธิบายถึงผลสะสมของแสงที่กระจายตัวโดยโมเลกุลเดี่ยวๆในบรรยากาศ ซึ่งเป็นการอธิบายว่าเหตุใดท้องฟ้าจึงเป็นสีน้ำเงิน
ระหว่างปี ค.ศ.1902 ไอน์สไตน์ตีพิมพ์บทความ
Ber die Entwicklung unserer Anschauungen ber das Wesen und die Konstitution der Strahlung
พัฒนาการของมุมมองเกี่ยวกับองค์ประกอบและหัวใจสำคัญของการแผ่รังสี
ว่าด้วยการพิจารณาแสงในเชิงปริมาณ ในบทความนี้รวมถึงอีกบทความหนึ่งก่อนหน้านั้นในปีเดียวกัน ไอน์สไตน์ได้แสดงว่าพลังงานควอนตัมของมักซ์ พลังค์ จะต้องมีโมเมนตัมที่แน่นอนและแสดงตัวในขณะที่คล้ายคลึงกับอนุภาคที่เป็นจุด
บทความ Ber die Entwicklung unserer Anschauungen ber das Wesen und die Konstitution der Strahlung
บทความนี้ได้พูดถึงแนวคิดเริ่มต้นเกี่ยวกับโฟตอน(แม้ในเวลานั้นจะยังไม่ได้เรียกด้วยคำนี้ ผู้ตั้งชื่อ 'โฟตอน' คือ กิลเบิร์ต เอ็น ลิวอิส ในปี ค.ศ.1926) และให้แรงบันดาลใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคลื่นกับอนุภาค ในวิชากลศาสตร์ควอนตัม
ปี ค.ศ.1911 ไอสไตน์ได้เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยซูริค แต่หลังจากนั้นไม่นานเขาก็ยอมรับตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยชาร์ลส์-เฟอร์ดินานด์ของเยอรมนีที่ตั้งอยู่ในกรุงปราก
ที่นี้ไอน์สไตน์ได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับผลกระทบของแรงโน้มถ่วงที่มีต่อแสง ซึ่งก็คือการเคลื่อนไปทางแดงเนื่องจากแรงโน้มถ่วง และการหักเหของแสงเนื่องจากแรงโน้มถ่วง
บทความนี้ช่วยแนะแนวทางแก่นักดาราศาสตร์ในการตรวจสอบการหักเหของแสงระหว่างการเกิดสุริยคราสนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน เออร์วิน ฟิลเลย์-ฟรอนด์ลิค ได้เผยแพร่ข้อท้าทายของไอน์สไตน์ไปยังนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก
ปี ค.ศ.1912 ไอสไตน์กลับมายังสวิตเซอร์แลนด์และได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเดิมที่เขาเป็นศิษย์เก่า คือ ETH เขาได้พบกับนักคณิตศาสตร์ มาร์เซล กรอสมานน์ ซึ่งช่วยให้เขารู้จักกับเรขาคณิตของรีมันน์และเรขาคณิตเชิงอนุพันธ์
แบร์นฮาร์ด รีมันน์ (Bernhard Riemann) และ ทฤษฎีของเขา
โดยการแนะนำของ ทุลลิโอ เลวี-ชิวิตา นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี ไอน์สไตน์จึงได้เริ่มใช้ประโยชน์จากความแปรปรวนเข้าร่วมมาประยุกต์ในทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของเขามีช่วงนึงที่ไอน์สไตน์รู้สึกว่าแนวทางนี้ไม่น่าจะใช้ได้ แต่เขาก็หันกลับมาใช้อีกและในปี ค.ศ.1945
ไอสไตน์จึงได้เผยแผ่ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปซึ่งยังคงใช้ตราบจนถึงทุกวันนี้ ทฤษฎีนี้อธิบายถึงแรงโน้มถ่วงว่าเป็นการบิดเบี้ยวของโครงสร้างกาลอวกาศ โดยวัตถุที่ส่งผลเป็นแรงเฉื่อยต่อวัตถุอื่น
หลังจากที่ไอน์สไตน์ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ในปี ค.ศ.1915 เขาก็กลายเป็นผู้มีชื่อเสียงซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยธรรมดานักสำหรับนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งในปีต่อๆ มาชื่อเสียงของเขาได้ขยายออกไปมากกว่านักวิทยาศาสตร์คนอื่นในประวัติศาสตร์
ไอสไตน์กลายมาเป็นแบบอย่างของความฉลาดหรืออัจฉริยะความความนิยมในตัวเขาทำให้มีการใช้ชื่อไอสไตล์ในการโฆษณาหรือแม้แต่การจดทะเบียนชื่อ "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" เป็นเครื่องหมายการค้า
ไอน์สไตน์และมิเลวา
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เองมีความระลึกถึงผลกระทบทางสังคม ซึ่งมีผลมาจากการค้นพบทางวิทยาศาสตร์อย่างลึกซึ้ง ในฐานะที่เขาได้เป็นปูชนียบุคคลแห่งความบรรลุทางปัญญา เขายังคงถูกยกย่องให้เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อวิทยาศาสตร์ที่สุดในยุคปัจจุบัน
ทุกการสร้างสรรค์ของเขายังคงเป็นที่เคารพนับถือทั้งในความเชื่อ ในความฉลาด ความสง่างาม และความรู้แจ้งเห็นจริงในจักรวาล (คือแหล่งเสริมสร้างแรงบันดาลใจในวิทยาศาสตร์ให้แก่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่)เป็นสูงสุดความชาญฉลาดเชิงโครงสร้างของเขาแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบของจักรวาล
ซึ่งงานเหล่านี้ถูกนำเสนอผ่านผลงานและหลักปรัชญาของเขา ในทุกวันนี้ ไอน์ สไตล์ยังคงเป็นที่รู้จักดีในฐานะนักวิทยาศาสตร์ที่โด่งดังที่สุดทั้งในวงการวิทยาศาสตร์และนอกวงการ
ไอน์สไตน์ แต่งงานกับมิเลวา มาริค เมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ.1903 แม้จะถูกมารดาคัดค้านเพราะนางมีอคติกับชาวเซิร์บ และคิดว่ามาลิคนั้น "แก่เกินไป" ทั้งยัง"หน้าตาอัปลักษณ์"
ความสัมพันธ์ของทั้งสองค่อนข้างจะเป็นส่วนตัวและเป็นคู่ชีวิตที่มีสติปัญญา ในจดหมายฉบับหนึ่งถึงหล่อน ไอน์สไตน์ เรียก มาริค ว่า "สิ่งมีชีวิตที่เสมอกันกับผม ผู้ซึ่งเข้มแข็งและมีอิสระเช่นเดียวกัน"
บุตรคนแรกของไอน์สไตน์กับ มิเลวา มาริค คือ ฮันส์ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ.1904 ที่กรุงเบิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ บุตรคนที่สองคือ เอดูอาร์ด เกิดที่ซูริค เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ.1910
เอลซ่า โลเวนธาล กับสามีของเธอ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เดินทางถึงนิวยอร์กด้วยเรือ SS Rotterdam
ไอน์สไตน์ กับ มาริค หย่ากัน เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1919 หลังจากแยกกันอยู่ 5 ปี ในวันที่ 2 มิถุนายนปีเดียวกันนั้น ไอน์สไตน์แต่งงานกับ เอลซ่า โลเวนธาล นางพยาบาลที่ช่วยดูแลอภิบาลระหว่างเขาป่วย
เอลซ่า เป็นญาติห่างๆทั้งทางฝ่ายพ่อและฝ่ายแม่ของไอน์สไตน์ ครอบครัวไอน์สไตน์ช่วยกันเลี้ยงดูมาร์ก็อต และ อิลเซ ลูกสาวของเอลซ่าจากการแต่งงานครั้งแรกของเธอ
แต่ทั้งสองคนไม่มีลูกด้วยกัน 18 เมษายน ค.ศ.1955 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และนักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งทศวรรษที่ 20 เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายที่เมือง พรินซ์ตัน รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Eigstein)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา