31 ก.ค. 2023 เวลา 10:39 • ข่าวรอบโลก

เมื่อเออร์โดกันเปลี่ยนท่าที “ปูตินก็เปลี่ยนใจเช่นกัน”

โครงการฮับก๊าซที่ตุรกีดูท่าจะล้มแล้ว
2
“ปูติน” เปลี่ยนใจเกี่ยวกับโครงการสร้างท่อส่งก๊าซสายใหม่ไปยังตุรกี (รวมถึงการไม่ต่อข้อตกลงการลำเลียงธัญพืชทางทะเลดำ) หลังจากโดน “เออร์โดกัน” หักหลังหลายครั้งก่อนหน้านี้ อย่างเช่น กรณีปล่อยตัวผู้บัญชาการนักรบอาซอฟ 5 คน คืนทางยูเครนโดยผิดเงื่อนไขไม่แจ้งทางรัสเซียแต่อย่างใด หรือ เป็นกรณีที่เออร์โดกันเปลี่ยนท่าทีสนับสนุนทั้ง “สวีเดน” และ “ยูเครน” ให้เข้าเป็นสมาชิกของนาโตอย่างเต็มสูบ
2
เหตุผลที่เออร์โดกันยอมหักหลังปูตินเชื่อว่า “ตุรกีตอนนี้กำลังถังแตกอย่างหนัก” ดังนั้นจึงต้องพึ่งพากลุ่มขั้วฝั่งตะวันตกอย่างนาโต (โดยเฉพาะการที่เขาต่อสายคุยกับไบเดนก่อนประชุมสุดยอดนาโตครั้งล่าสุดที่ผ่านมา) เพื่อให้การสนับสนุนช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ อย่างการขยายวงเงินกู้จากไอเอ็มเอฟ เรื่องราวทั้งหมดนี้ทาง “ซีมัวร์ เฮิร์ช” นักข่าวรุ่นเก๋าผู้เปิดโปงเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ได้เคยเขียนไว้ ทางเพจได้เคยลงบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ สามารถอ่านรายละเอียดได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้
2
  • 29 กรกฎาคม 2023: “ปูติน” ได้แถลงข่าวและให้สัมภาษณ์กับกลุ่มนักข่าวหลังการประชุมสุดยอดรัสเซีย – แอฟริกา ที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก โดยระบุว่า โครงการสร้างศูนย์กลางท่อก๊าซในตุรกีจะไม่มีการก่อสร้างท่อส่งก๊าซเพิ่มเติมอีกต่อไปแล้ว แต่ปัจจุบันจะเปลี่ยนเป็น “แพลตฟอร์มการค้าทางอิเล็กทรอนิกส์” คำพูดของเขาดังนี้
2
ใช่ [หัวข้อเรื่องศูนย์กลางก๊าซที่ตุรกี] ยังคงอยู่ในวาระการประชุม แต่ผมต้องการบอกให้ชัดเจนว่านี่ไม่ใช่การส่งน้ำมันหรือโรงเก็บน้ำมัน นี่คือก๊าซ เราและเพื่อนชาวตุรกีรู้เรื่องนี้ เรากำลังคุยกัน เกี่ยวกับการสร้างแพลตฟอร์มการซื้อขายทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเราจะไม่เก็บก๊าซในปริมาณมากไว้ที่นั่น
วลาดิเมียร์ ปูติน
2
อ้างอิง: การให้สัมภาษณ์นักข่าวของปูตินเกี่ยวกับเรื่องนี้ - https://t.me/smotri_media/55389
เมื่อตุลาคม 2022 ที่การประชุม Russian Energy Week “ปูติน” ได้พูดคุยเกี่ยวกับโครงการใหม่ เขากำลังจะส่งก๊าซผ่านทะเลดำ หลังจากไม่มีผู้อ้างสิทธิ์รับผิดชอบหลังจากการก่อวินาศกรรมท่อก๊าซนอร์ดสตรีม และจะทำให้ตุรกีกลายเป็น “ศูนย์กลางก๊าซที่ใหญ่ที่สุดสำหรับยุโรป” - อ้างอิง: Kremlin
วันต่อมา”ปูติน” เสนอเรื่องนี้ต่อ “เออร์โดกัน” ในการประชุมที่อัสตานา “หากตุรกีและผู้ซื้อที่มีศักยภาพของเราในประเทศอื่นๆ สนใจ เราอาจพิจารณาสร้างระบบท่อส่งก๊าซอีกระบบหนึ่ง และสร้างศูนย์กลางก๊าซในตุรกีเพื่อขายไปยังประเทศอื่นๆ ไปยังประเทศที่สาม แน่นอนว่าผู้ซื้อหลักคือประเทศในยุโรป หากเป็นเช่นนั้น แน่นอน พวกเขา [ตุรกี] ย่อมสนใจเรื่องนี้” ปูตินระบุ
3
หนึ่งสัปดาห์ต่อมา “เออร์โดกัน” ประธานาธิบดีตุรกีประกาศว่าเขาได้บรรลุข้อตกลงกับปูตินในการจัดตั้งศูนย์กลาง โดยระบุว่าผ่านสิ่งนี้ ประเทศจะกลายเป็น “ศูนย์กลางการจัดหาก๊าซธรรมชาติ” สำหรับยุโรป
ทางเพจได้เคยลงบทความเกี่ยวกับข้อตกลงใจระหว่าง “ปูติน” กับ “เออร์โดกัน” เกี่ยวกับการสร้าง “ศูนย์กลางก๊าซธรรมชาติแห่งใหม่ส่งเข้าไปในยุโรปที่ตุรกี” สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากลิงก์ด้านล่าง
1
ในวันที่ “ปูติน” กล่าวถึงศูนย์กลางก๊าซในตุรกีเป็นครั้งแรก Alexander Novak รองนายกรัฐมนตรีรัสเซียได้ให้สัมภาษณ์กับ Anadolu สื่อทางการของตุรกีว่า ก๊าซธรรมชาติจำนวน 6.3 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีที่คาดการณ์ว่าจะลำเลียงไปยังยุโรปผ่านตุรกีโดยใช้โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ “ไม่สามารถรองรับ” กับปริมาณเท่านี้ได้
1
โดยก๊าซธรรมชาติปริมาณ 4.8 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เป็นตัวเลขที่ส่งผ่านโครงข่ายก๊าซในตุรกีที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดย Bloomberg ระบุว่าปริมาณก๊าซที่ส่งผ่านทางตุรกีในปัจจุบันยังถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่ได้ใช้งานเต็มที่ (Under Utilized) สามารถเพิ่มปริมาณได้สูงสุดอีก 1 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี อย่างไรก็ตามเมื่อบวกเข้าไปแล้ว 4.8 + 1 = 5.8 ก็ยังไม่เพียงพอต่อโครงการฮับขนาดใหญ่ที่วาดฝันไว้ก่อนหน้านี้คือ 6.3 ยังไงโครงการถ้าจะเกิดต้องมีการสร้างเพิ่มอย่างแน่นอน
1
ก่อนการระเบิดของท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีม ก๊าซธรรมชาติปริมาณประมาณ 6 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีถูกส่งไปยังยุโรปผ่านทางท่อดังกล่าว - อ้างอิง: Clean Energy Wire
เครดิตภาพ: fdd.org
เรียบเรียงโดย Right SaRa
31st July 2023
  • แหล่งข่าวอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: บน – POLITURCO ล่าง - PX Media/Shutterstock>
โฆษณา