สรุปย่อซุนวูสอนอะไรบ้าง (ครึ่งแรก)

ตำราพิชัยสงครามซุนวูมีทั้งหมด 13 บท เขียนโดยคนแซ่ "ซุน" ชื่อ "วู" (孙武-Sūn Wǔ) เป็นคนยุคเดียวกับขงจื๊อ และพระพุทธเจ้า จีนในยุคนั้นคือยุคชุนชิว เป็นนักคิดและนักการทหาร ซุนวูเขียนตำรานี้ให้เจ้าแคว้น และเป็นที่ถูกใจอย่างมาก
เจ้าแคว้นอยากทดสอบประสิทธิภาพของซุนวู จึงสั่งให้ซุนวู ลองฝึกทหารให้นางสนมและนางกำนัลในวังดู ในระหว่างฝึกทหารนั้นซุนวูเรียกร้องให้รักษาวินัยทหารอย่างเข้มงวด ปกครองกองทัพด้วยกฎระเบียบ และยืนหยัดหลักการแม่ทัพในสมรภูมิไม่จำเป็นต้องรับคำสั่งเจ้าเหนือหัว จนเกิดเหตุนางสนมที่เอามาทดลองฝึกเกิดดื้อด้านจึงยืนยันสั่งประหารสองสนมเอกของเจ้าแคว้นเพื่อรักษาวินัยกองทัพ
ในระหว่างที่รับราชการอยู่นั้นซุนวูสร้างผลงานมากมายให้กับเจ้าแคว้นอยู่ไม่น้อย เมื่อผลัดแผ่นดินซุนวูจึงลาออกจากราชการไปใช้ชีวิตอย่างสงบในบั้นปลาย จึงเหลือเพียงแต่ตำราพิชัยสงครามทั้ง 13 บทของซุนวูสืบมา
บทที่ 1 ประเมินสถานการณ์(计篇)
บางตำราก็ใช้คำว่า วางแผน แต่ถ้าตามส่วนตัวของผู้เขียนเห็นควรว่าใช้คำว่าประเมินสถานการณ์น่าจะคงความหมายเดิมของบทนี้ บทนี้เน้นไปที่เรื่อง 5 เรื่อง 7 ประเมิน
5 เรื่องได้แก่
-มรรค สิ่งที่ทำให้ประชาชนสนับสนุน
-ฟ้า จังหวะเวลา
-ดิน ทำเลชัยภูมิ
-แม่ทัพ ความเป็นผู้นำ
-กฎ การบริหารจัดการ
7 ประเมิน ได้แก่ 1.ผู้นำฝ่ายใดมีมรรค 2.แม่ทัพฝ่ายใดมีความสามารถ 3.ฟ้าดินเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายใด 4.กฎระเบียบฝ่ายใดเข้มงวดกวดขันมากกว่า 5.กำลังฝ่ายใดมากกว่า 6.ไพร่พลฝ่ายใดฝึกฝนมากกว่า 7.ฝ่ายใดให้รางวัลและลงโทษมีความชัดเจนกว่า
มุ่งหมายของการประเมินสถานการณ์ก็เพื่อว่าจะได้รู้ว่าฝ่ายเรานั้นมีกำลังมากพอที่จะชนะอีกฝ่ายหรือไม่ถ้าไม่ชนะก็ไม่รบ
บทที่ 2 การทำสงคราม(作战篇)
ส่วนบูมองว่าการทำสงครามเป็นเรื่องสิ้นเปลือง ทำมากก็ไม่เป็นผลดี ถ้าจำเป็นต้องทำต้องรบให้เร็ว และจบให้เร็วที่สุด การออกศึกเป็นเรื่องประเดี๋ยวประด๋าว แต่งงานส่วนใหญ่คือการเตรียมตัวเพื่อออกศึกนี่แหละ ฉะนั้นการเตรียมตัวจึงต้องพร้อม
ในโลกธุรกิจ ทุกกระบวนการก็มีต้นทุนที่จะต้องจ่าย ฉะนั้นเราจึงเริ่มการลงทุนไม่ควรสิ้นเปลืองเกินไป จำเป็นต้องมีการวางแผนให้พร้อมก่อนลงมือทำเพื่อลดความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมเงินทุนหมุนเวียนของกิจการ ฉะนั้นทุกกระบวนการหากไม่ควบคุมจึงเป็นเรื่องสิ้นเปลืองได้นั่นเอง
บทที่ 3 กลยุทธ์การรุก(谋攻篇)
หัวใจคือ ยึดหลักชนะแล้วค่อยตี สุดยอดของการทำศึกคือ การทำลายแผนของฝ่ายตรงข้าม หรือความตั้งใจเดิมของฝ่ายตรงข้าม หลีกเลี่ยงการประทะให้เป็นขั้นสุดท้าย เป็นกลยุทธ์ที่หยาบที่สุดที่จะเลือกใช้
ในโลกธุรกิจก็คือการพยายามหลีกเลี่ยงในการทำสิ่งใดก็ตามแต่ไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทุกฝ่าย แม้ฝ่ายนั้นจะเป็นคู่แข่งทางธุรกิจก็ตาม พยายามที่จะสร้างการเจรจาหรือเลือกกลยุทธ์ที่ วิน-วิน ทั้งสองฝ่ายได้
บทที่ 4 รูปแบบการรบ(形篇)
เราจะ "แพ้หรือไม่แพ้" ขึ้นอยู่กับตัวเรารัดกุมแค่ไหน เราจะชนะหรือไม่ชนะอยู่ที่อีกฝ่ายเปิดโอกาสให้เราเอาชนะได้หรือเปล่า ต้องเป็นฝ่ายกระทำมากกว่าฝ่ายถูกกระทำถึงจะกำหนดจุดชนะได้
ในทางธุรกิจ ก็โสดเหมือนกันปั้นแบรนด์ สร้างภาพลักษณ์ ประชาสัมพันธ์ ก็คือการกำหนดจุดที่เราจะไม่แพ้และสื่อสารออกไป ถือว่าเป็นเรื่องของฝ่ายกระทำมากกว่าฝ่ายถูกกระทำ
บทที่ 5 พลานุภาพ (势篇)
คือการจัดกระบวนทัพ เป็นเรื่องสำคัญตลอดกาล จัดกระบวนทัพไม่ใช่เพียงแค่เรียบร้อย แต่จัดไปเพื่อให้เกิดพลานุภาพ เช่นโน๊ตดนตรีก็มีเพียงแค่เจ็ดตัว แต่สรรค์สร้างเพลงได้ไม่จบสิ้น กระบวนทัพก็คงมีเพียงไม่กี่กระบวน แต่พลานุภาพเกิดจากการ ผันแปรกระบวนทัพไปมานั่นเอง
ในโลกธุรกิจสำคัญอยู่สามเรื่องใหญ่ๆ การตลาด การเงิน และการบริหาร องค์กรไหนจะยั่งยืนหรือไม่อยู่ที่การบริหาร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโครงสร้างองค์กร เรื่องบุคลากร กระบวนการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการผลิต การให้บริการ ล้วนแต่เป็นการจัดกระบวนทัพของธุรกิจนั่นเอง
บทที่ 6 จุดอ่อนจุดแข็ง(虚实篇)
เป็นบทที่ให้เราพยามเข้าใจจุดอ่อนของเรา และรู้จุดแข็งของตัวเอง ทั้งสองฝ่ายสู้รบกันต่างก็มีทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งกันทั้งคู่ ข้อจำกัดมีแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเราจะเลือกใช้แต่ละจุด ให้เกิดประสิทธิภาพกับเราได้อย่างไร พยายามสร้างความเป็นต่อให้กับฝ่ายเรา
ชัยชนะกับความพ่ายแพ้ไม่ได้เท่าเทียมกัน ชนะก็ได้แค่ทรัพย์สินของฝ่ายตรงข้ามบางอย่าง แต่ถ้าพ่ายแพ้อาจทำให้พังทั้งชีวิต ดังนั้นการรู้จุดอ่อนจุดแข็งจึงเป็นเรื่องที่ต้องคิดให้ถี่ถ้วนตลอดเวลา
ครึ่งหลัง
โฆษณา