6 ส.ค. 2023 เวลา 10:17 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์

อธิบายอาการช็อกของ Oppenheimer ด้วย Behavioral Science [Spoiler Alert เล็กๆ]

ผ่านมา 2 สัปดาห์กว่าแล้วที่ Barbie และ Oppenheimer พากันตบเท้าเข้าโรงให้คอหนังได้กระชุ่มกระชวยใจ โพสนี้ เราจะมาวิเคราะห์สีหน้าอาการของ Oppenheimer ในภาพ ผ่านเลนส์ของ Behavioural Science กัน 🙌
สมมตินะ… สมมติว่าธันวาปีนี้ เพื่อนร่วมงานของคุณจะลาหยุดไปเที่ยวยาวๆ ทำให้สมาชิกในทีมต้องจัดเวรกันมาทำงานแทน หัวหน้าให้คุณเลือกระหว่างการทำงานล่วงเวลา 3 ชั่วโมงในวันที่ 6 หรือ 5 ชั่วโมงในวันที่ 13 ธันวาคม ทั้งสองแบบไม่มีค่าล่วงเวลา
อย่างแรกที่คนส่วนใหญ่ทำในสถานการณ์แบบนี้… คือกร่นด่าเพื่อนร่วมงานคนนั้น ก่อนที่จะเลือก 3 ชั่วโมงในวันที่ 6
ทำงานน้อยกว่าก็ต้องดีกว่าอยู่แล้ว เงินก็ไม่ได้
คราวนี้สมมติอีกรอบนะ… สมมติว่าทางเลือกของคุณเหมือนเดิมเลย ต่างกันตรงที่บอสไม่ได้ถามคุณตอนนี้ แต่มาถามในเช้าวันที่ 6 ธันวา ว่าจะทำงานเพิ่ม 3 ชั่วโมงวันนี้ หรือ 5 ชั่วโมงสัปดาห์หน้า?
รู้แหละ อย่างแรกที่คุณจะทำแน่ๆ คือกร่นด่าหัวหน้า... แต่หลังจากนั้นละ คำตอบของคุณคืออะไร?
ถ้าคำตอบของคุณคือ 5 ชั่วโมงสัปดาห์หน้า… คุณเป็นคนส่วนใหญ่ที่มีลักษณะที่ Behavioural scientist เรียกว่า “Time Inconsistency” ซึ่งความหมายง่ายๆ ก็คือการที่พฤติกรรมหรือทางเลือกของคุณเปลี่ยนไปตามแต่จังหวะที่คุณถูกถาม
ตอนที่คุณถูกถามเรื่องงานที่ต้องทำในอนาคตไกลๆ สามชั่วโมงยังไงก็ดีกว่าห้า แต่พอคิดว่าต้องทำงานล่วงเวลาเย็นวันนี้แล้ว เย็นวันนี้เลยนะ! คุณกลับเปลี่ยนใจ ว่าขอเป็นสัปดาห์หน้าแล้วกัน
เพราะความเจ็บปวดในปัจจุบัน มันเจ็บกว่าความเจ็บปวดในอนาคต
ณิชารีย์เอง
นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น แม้กับบิดาของ Atomic Bomb อย่าง Oppenheimer
ในหนัง โดยเฉพาะช่วงแรกๆ ของ Manhattan Project เราเห็น Oppenheimer โฟกัสกับมุมวิชาการเป็นหลัก โดยถ้าคุณเป็นเหมือนผู้เขียน คุณอาจตั้งคำถามในใจอยู่บ้างว่าแล้วคุณไม่รู้สึกอะไรเลยหรอที่ระเบิดขนาดมหึมานี้ จะคร่าชีวิตคนบริสุทธิ์เป็นจำนวนมาก?
ทำไมเค้าถึงสามารถมุ่งมั่นไปหาความสำเร็จได้ ทั้งที่ความสำเร็จมีความหมายแบบนี้?
แน่นอนว่าเหมือนสรรพสิ่งในความเป็นจริงทั่วๆ ไป สถานการณ์มันซับซ้อนกว่าแค่ฆ่าหรือไม่ฆ่า และผู้กำกับ Christopher Nolan ก็ปูคำตอบไว้ให้เราแล้ว จุดนึงในหนัง Oppenheimer ให้เหตุผลของการเดินหน้าสร้างระเบิดต่อไปว่าแบบนี้
1
I don't know if we can be trusted with such a weapon. But I know the Nazis can't.
Robert Oppenheimer ในหนัง
ซึ่งก็จริง…
แต่พอถึงตอนที่ระเบิดถูกใช้งานจริงๆ ที่ญี่ปุ่น Oppenheimer ซึ่งควรเป็นคนที่รู้จักระเบิดและแสนยานุภาพของมันดีที่สุดกลับเกิดอาการช็อก!
ช็อกจนนำไปสู่ประโยคกระแทกใจสุดท้ายของหนัง… ที่ผู้เขียนจะปล่อยให้คุณไปฟังเอง เผื่อใครยังไม่ได้ไปดู
…เพราะความเจ็บปวดในปัจจุบัน มันเจ็บกว่าความเจ็บปวดในอนาคตไงละ
ระหว่างที่พัฒนาระเบิด ความรู้สึกผิดจากการคร่าชีวิตคนแบบ “mass destruction” มันเป็นแค่ความเจ็บปวดในอนาคต เป็น concept รางๆ ที่ยังมาไม่ถึง แต่พอตัวเลขผู้เสียชีวิตเริ่มไหลเข้ามาในสมอง และมือเริ่มเปื้อนไปด้วยเลือดจริงๆ ความเจ็บปวดมันดันหนักกว่าที่เค้าคาด… หนักกว่าที่เค้าจะรับได้
แน่นอนว่าการวิเคราะห์นี้ oversimplify โดยตัดความซับซ้อนหลายๆ แง่ออกไป อย่างเช่นการที่ระเบิดถูกใช้กับญี่ปุ่นที่ดูทรงใกล้จะแพ้อยู่แล้ว แทนที่จะเป็น Nazi Germany ที่แข็งแกร่ง เหมือนอย่างในระยะที่ Oppenheimer กำลังสร้างระเบิด
กลับมาที่ปัจจุบัน... แล้ว Time Inconsistency สำคัญกับคุณยังไง? ทำไมถึงต้องมีคำมาเรียกมันโดยเฉพาะ? คำตอบคือเพราะ Time Inconsistency ส่งผลร้ายกับชีวิต…
คนที่ Time inconsistent กว่าอาจจนกว่าหรือสุขภาพแย่กว่า เพราะว่าความ “แพลนแล้วทำไม่ได้ตามที่แพลน”
  • คุณแพลนว่าวันพรุ่งนี้จะไปยิม แต่พอพรุ่งนี้มาถึงแล้วการลุกออกจากเตียงมันยากกว่าที่คิด
  • คุณแพลนว่าทุกสุดสัปดาห์ คุณจะเรียนคอร์ส online แต่พอวันเสาร์มาถึงแล้ว “ทุกทางเลือกอื่นที่เหลือ” มันเย้ายวนกว่ามาก ให้ทำยังไง?
  • คุณแพลนว่าทุกต้นเดือนคุณจะออม 10% ของเงินเดือนไว้เผื่อยามฉุกเฉิน แต่เงินเดือนออกแล้ว ไม่ไปฉลองมันก็ไม่ได้
เชื่อว่าถึงตอนนี้คุณเริ่มเข้าใจแล้วแหละ… ทุกคนก็เป็น (แค่ประโยคนี้เขียนได้อีกบทความ ไว้วันหน้านะคะ …ถ้าผู้เขียนต่อสู้กับ time inconsistency ของตัวเองสำเร็จ)
แล้วยังไงต่อ เราต้องทำยังไงถึงจะบรรเทาความเสียหายจากความบ้งของสมองมนุษย์นี้ได้?
อย่างแรกคือ awareness ซึ่งถ้าคุณอ่านมาถึงตรงนี้ แล้วพยักหน้าเห็นด้วยให้กับหลายๆ ตัวอย่างเหตุการณ์ด้านบน คุณก็รับรู้แล้วแหละว่าคุณเป็นคนที่ Time Inconsistent คราวหน้าจะแพลนอะไร คุณก็ต้องคิดเผื่อความบิดเบี้ยวพวกนี้ไว้ด้วย เช่น เปลี่ยนเป้าการออมเป็น 15% หรือ 20% มั้ย เผื่อ buffer ให้ตัวเราในอนาคต
นอกจากนี้แล้วก็ยังมีอีกตัวช่วยที่เรียกว่า “Commitment Device”
ไว้มาขยายความต่อโอกาสหน้า :)
โฆษณา