9 ส.ค. 2023 เวลา 13:45 • สุขภาพ

รู้จักแอพ 'DMIND' นวัฒตกรรม AI วินิจฉัยโรคซึมเศร้า

จากการที่สังคมยังมีการแข่งขันสูงขึ้นทุกวัน และสภาวะทางเศรษฐกิจที่ปรวนแปรรวมถึงปัญหาการเมืองที่ยังไม่มั่นคง คนเริ่มเกิดความเครียดสะสมและนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพจิต โรคทางใจที่คนจากหลายที่ทั่วโลกประมาณ 300 ล้านคนป่วยเป็นและกำลังมาแรงในไทยด้วยก็คือ...โรคซึมเศร้านั่นเอง
แอพ DMIND ที่ถูกพัฒนาจากความร่วมมือของหลายๆฝ่าย มีความสามารถในการตรวจจับอาการซึมเศร้าของผู้เข้าใช้งานได้ผ่าน แอพไลน์ official หมอพร้อม
1. แอดไลน์หมอพร้อม
2. เลือกแชตบอต
3. เลื่อนไปขวาสุด แล้วกดตัวเลือก "ตรวจสุขภาพใจ"
หรือจะใช้ผ่านทางเว็บไซต์ https://bit.ly/DMIND_3 ก็ได้เช่นกัน
กรมสุขภาพจิตได้เปิดเผยสถิติว่า มีคนเป็นโรคซึมเศร้ามากถึง 1.5 ล้านคน ในไทย แต่มีแค่ประมาณ 30% เท่านั้นที่เข้าถึงการรักษา คนส่วนมากไม่กล้าเข้าไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลเพราะกลัวสังคมตัดสินหรือกลัวจะถูกมองไม่ดี และนอกจากนี้ สายอาชีพทางจิตวิทยาก็มีบุคลากรไม่เพียงพออีกด้วย
หลายๆคนคงรู้จักเบอร์สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ที่ให้การปรึกษาทางโทรศัพท์ 24 ชั่วโมง เพื่อลดความทุกข์ใจของผู้เข้ารับบริการ อย่างไรก็ตาม บางคนโทรไปก็ไม่มีคนรับ นั่นเป็นเพราะว่า โทรศัพท์มีคู่สายไม่เพียงพอ
แต่รู้หรือไม่ว่าเบื้องหลังสายโทรศัพท์นั้น คนที่คอยให้คำปรึกษาก็คือนักจิตวิทยาที่มีหน้าที่ประเมินว่าผู้โทรมีอาการซึมเศร้าหรือไม่ และอยู่ในระดับไหน ซึ่งการรับการปรึกษาแต่ละครั้งก็ใช้เวลาไม่น้อย จึงมีสายรอเจ้าหน้าไม่ต่ำกว่าพันสายแต่ไม่ได้เข้ารับการปรึกษา
ด้วยบุคลากรณ์ที่มีจำกัด ยังมีคนอีกมากมายที่ยังคงรอคอยสาย และมีความเสี่ยงเป็นสภาวะซึมเศร้า บางคนอาจกำลังจะคิดสั้นแต่ก็ไม่ได้คุย และส่งตัวไปรักษาไม่ทัน
แอป DMIND เป็นแอปที่ใช้ AI ผ่านตัวการ์ตูนอวตาร์ (Avatar)ที่ชื่อว่า หมอพอดี ในการประเมินระดับความซึมเศร้า ผ่าน 3 องค์ประกอบ นั่นคือ:
1. การแปลงบทสนทนาระหว่างเรากับหมอพอดี เป็นสคริปต์
2. น้ำเสียงของผู้ใช้งานผ่านไมค์โครโฟน
3. การตรวจสีหน้าแววตาของผู้ใช้งาน
จากนั้น AI จะคำนวณออกมาเป็นคะแนนซึ่งแบ่งเป็นโซนตามสี
สีเขียว 🟢- ยังปกติ
สีเหลือง🟡- มีสภาวะซึมเศร้า เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน7วัน
สีแดง🔴- สภาวะซึมเศร้ารุนแรง เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน 24 ชม.
แอปนี้ เปิดตัว ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2565 ถูกพัฒนาจากการจับมือของ คณะแพทย์ศาสตร์ และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ บริษัท Agnos Health ซึ่งเมื่อได้ทดลองใช้จริง ตัวโปรแกรมมีความแม่นยำสูงถึง 75%
นับได้ว่า นักวิจัย นักพัฒนา และหน่วยงานต่างๆที่คอยสนับสนุนมีความสุดยอดมากๆในการคิดค้นและใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์อันสูงสุด นอกจากจะสามารถแบ่งเบาภาระงานของเจ้าหน้าที่สายสุขภาพจิตได้แล้ว ยังทำให้การตรวจคัดกรองมีความแม่นยำ และรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม
อย่างไรก็ตาม แอปนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักกันในสังคมมากเท่าที่ควร ตอนนี้คงขึ้นอยู่กับสังคมโลกออนไลน์แล้วว่าจะช่วยเผยแพร่แอปนี้ผ่านช่องทางต่างๆในโลกโซเชียลมีเดียอย่างไร ให้คนรู้จักกันมากขึ้นและสามารถนำมาใช้งานได้
ขอบคุณข้อมูลจาก
และกรมสุขภาพจิต
โฆษณา