19 ส.ค. 2023 เวลา 23:00 • ประวัติศาสตร์
ญี่ปุ่น

ญี่ปุ่น ตอนที่ 3 ยุคสัประยุทธ์

ยุคเฮอัง เกิดวรรณกรรมและพุทธแบบญี่ปุ่น
วัฒนธรรมที่เป็นรูปแบบของญี่ปุ่นโดดเด่นมากในสมัยเฮอัง ในศตวรรษที่ 9 ญี่ปุ่นยังคงรับวัฒนธรรมของราชวงศ์ถังจากแผ่นดินจีนอยู่ พุทธศาสนานิกายมิเคียว กับการเขียนรูปประโยคแบบจีนแพร่หลายมาก พอเข้าสู่ศตวรรษที่ 10 หลังจากที่ญี่ปุ่นไม่ได้ติดต่อโดยตรงกับภาคพื้นทวีปแล้ว
ได้เกิดวัฒนธรรมชนชั้นสูงที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะของญี่ปุ่นเอง วรรณกรรมที่เด่นในเวลานี้ อาทิ “โคะคินวะกะชู” เป็นหนังสือรวมกวีนิพนธ์ญี่ปุ่นเล่มแรกตามพระราชโองการของจักรพรรดิ (ในต้นศตวรรษที่ 10) “ตำนานเก็นจิ” นวนิยายเรื่องยาวที่นับว่าเก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่งโลก (ประมาณต้นศตวรรษที่ 11) และ “มะคุระโนะโซชิ” หนังสือข้างหมอน วรรณกรรมเหล่านี้เขียนด้วยตัวอักษร "คะนะ" อีกด้วย ตั้งแต่ช่วงหลังศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา
1
ตัวอักษร "คะนะ"
ในช่วงยุคเฮอังได้มีการเกิดพุทธศาสนานิกายเท็งไดขึ้น ใน ค.ศ. 806 ซึ่งได้รับอิทธิพลจากนิกายเทียนไถของจีน พระภิกษุไซโชซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งพุทธศาสนานิกายเท็งไดมีความเห็นว่าศีลปาติโมกข์นั้นเป็นของหินยานและไม่ใช่มหายานที่แท้จริง พระสงฆ์ในสำนักของไซโชนั้นจึงรับศีลของพระโพธิสัตว์ในการอุปสมบท ซึ่งการรับศีลของพระโพธิสัตว์แทนการรับศีลปาติโมกข์นั้นจะเป็นแบบอย่างให้แก่พุทธศาสนาญี่ปุ่นนิกายอื่นในอนาคต และเป็นเหตุให้พระสงฆ์ญี่ปุ่นบางนิกายสามารถมีครอบครัวได้
2
นอกจากนี้ยังมีพุทธศาสนานิกายชิงงน ก่อตั้งโดยพระภิกษุคูไก มีหลักคำสอนมาจากพระสูตรในนิกายตันตระต่างๆจากอินเดีย โดยรับอิทพลผ่านทางจีน เน้นเรื่องการสวด "มนตรา" และการฝึกจิตไปที่ "มัณฑละ" เพื่อการบรรลุโพธิจิตและบูชาพระโพธิสัตว์และเทพต่างๆโดยเฉพาะพระไวโรจนพุทธะ มีการใช้อักษรสิทธัมในการจารมันฑละ นิกายชิงงนบูชาพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ต่างๆ รวมทั้งบูชาท้าวจตุโลกบาลและเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์เช่นพระอินทร์หรือไทชากูเท็ง
พิธีโคมะ (Goma) หรือพิธีบูชาไฟ มาจากพิธีโหมกรรมของอินเดีย เป็นพิธีที่สำคัญของนิกายชิงงน เพื่อบูชาวิทยาราชอจละ (Acala) ผู้มีบทบาทในการทำลายสิ่งชั่วร้าย
ในช่วงปลายยุคเฮอังพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นเสื่อมลง นำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างพุทธศาสนานิกายต่างๆในญี่ปุ่น พุทธศาสนานิกายต่างๆทั้งในเมืองเฮอังเกียวและเมืองนาระต่างสะสมกองกำลังไว้ในชื่อของพระนักรบเพื่อสร้างฐานอำนาจและเพื่อป้องกันตนเองจากการคุกคามจากสำนักอื่น นำไปสู่การแยกตัวและการกำเนิดพุทธศาสนานิกายใหม่ๆได้แก่นิกายโจโด หรือนิกายแดนบริสุทธิ์สุขาวดี และนิกายเซ็น
ในช่วงเวลาดังกล่าวอำนาจของจักรพรรดิเริ่มสั่นคลอน จากการขึ้นมามีอำนาจของตระกูลฟูจิวาระ ที่ได้รับตำแหน่งสูงในราชสำนัก นอกจากนี้ยังได้อำนาจมาจากการไปแต่งงานกับเชื้อพระวงศ์ของจักรพรรดิด้วย จนสามารถผูกขาดกับตำแหน่งทั้งสองตลอดยุคเฮอัน คือ เซ็สโช (ผู้สำเร็จราชการเมื่อจักรพรรดิทรงพระเยาว์) คัมปากุ (ผู้สำเร็จราชการเมื่อจักรพรรดิทรงเจริญพระชนมพรรษาแล้ว) ภายหลังจากตระกูลฟูจิวาระ เรื่องอำนาจได้ 500 ปี ได้มีตระกูลนักรบใหม่เข้ามาแทนที่คือ ตระกูลไทระ
ยุทธนาวีที่ดันโนอุระ
ภายหลังมีทำสงครามกลางของตระกูลที่ทรงอำนาจ ได้แก่ ตระกูล มินะโมะโตะและไทระ ซึ่งเป็นตระกูลที่สืบทอดเชื้อสายมาจากจักรพรรดิองค์ก่อนๆทั้งสองตระกูล ตระกูลมินะโมะโตะและไทระได้ต่อสู้ในการรบ และมีความรุนแรงมากในยุคอันวุ่นวายสับสน ในที่สุดตระกูลมินะโมะโตะเป็นฝ่ายชนะสงคราม โดยได้ทำลายล้างตระกูลไทระจนพินาศในศึกดันโนอุระ (Battle of Dannoura) อันเกริกก้องและเลื่องลือ ในการรบกันที่ทะเลอินแลนด์ใน ค.ศ.1185
เป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองโดยระบอบศักดินา ภายใต้การปกครองของโชกุน หรือผู้ปกครองทางการทหารที่สืบต่อกัน โชกุนจะไม่ใช่ตำแหน่งเดียวกับจักรพรรดิ โชกุนมีตำแหน่งหมายถึงขุนศึกหรือเจ้าผู้ครองแคว้น ในช่วงเวลานี้พระจักรพรรดิไม่ได้มีอำนาจหรือกำลังจากทหาร เป็นได้แต่เพียงตัวแทนในเชิงสัญลักษณ์ หรือในนาม
ภาพวาดสงครามโอนิน เหตุการณ์ความขัดแย้งในเรื่องการสืบทอดตำแหน่งโชกุน มีนครหลวงเกียวโตอันเป็นที่ตั้งของรัฐบาลโชกุนอาชิกางะเป็นสนามรบ
ยุคเซ็นโกคุ สามก๊กฉบับญี่ปุ่น
เมื่อรัฐบาลโชกุนเสื่อมอำนาจลงจากสงครามโอนิน ทำให้ขุนศึกหรือไดเมียว(ไดเมียวจะเป็นตำแหน่งที่อยู่ภายใต้โชกุน)ตามหัวเมืองต่างๆเริ่มตั้งตนเป็นใหญ่ บางแคว้นมีซามูไรระดับล่างหรือแม้แต่ชาวบ้านตั้งตนขึ้นมามีอำนาจ และในบ้างภูมิภาคก็จะมีพระนักรบของพุทธศาสนานิกายโจโด-ชินชู เข้าร่วมในสงครามกลางเมืองนี้ด้วย
ภาพแผนที่อาณาเขตของแต่ละไดเมียว
ในช่วงสงครามนี้เรียกว่ายุคเซ็นโกคุ และบุคคลที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์แล้วต้องพูดถึงก็คือ โอดะ โนบุนางะ เล่ากันว่าวัยเด็กนั้นโนบุนางะเป็นคนที่มีนิสยแปลกประหลาด มักไม่ทำตัวอยู่ในกรอบประเพณี มีนิสัยห่ามๆจนได้ชื่อว่าเป็นจอมแสบแห่งโอวาริ แม้จะทำตัวแสบแต่ก็มีพรสวรรค์
โอดะ โนบุนางะ เกิดที่แคว้นโอวาริ
โนบุนางะเป็นผู้ที่มีความสนใจในเรื่องปืนไฟอย่างมาก เขาได้มีโอกาสเห็นศัยภาพของมันและตระหนักว่าสิ่งนี้จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสงครามในอนาคต จึงได้เริ่มทำการสั่งซื้อและสะสมปืนไฟเป็นจำนวนมาก โดยไม่เกี่ยงว่าจะต้องจ่ายมากเท่าไหร่และเริ่มทำการฝึกทหารแล้วจัดตั้งเป็นหน่วยปืนคาบศิลา
ซึ่งในช่วงเวลานั้นถือเป็นสิ่งใหม่มาก เพราะแม้ว่าไดเมียวตามหัวเมืองต่างๆจะรู้จักปืนคาบศิลาและมีการใช้ในกองทัพ แต่ก็ไม่ได้จัดตั้งให้เป็นหน่วยปืน ถือว่าเป็นข้อได้เปรียบของกองทัพโอดะ โนบุนางะ
ปืนคาบศิลาชุดของญี่ปุ่นในศตวรรษที่16
ปี ค.ศ.1573 โอดะ โนบุนางะ ทำการยึดอำนาจปลดโชกุน “อาชิคางะ โยชิอากิ” ออกจากตำแหน่ง ล้มเลิกระบอบการปกครองของโชกุน เป็นการสิ้นสุดรัฐบาลโชกุนที่มีมายาวนานถึงสองร้อยกว่าปี
1
ปี ค.ศ. 1582 “มิตสึฮิเดะ อาเคจิ” ลอบสังหาร โอดะ โนบุนางะ ที่วัดฮอนโนจิ สาเหตุจากการที่ต้องการล้างแค้น โนบุนางะที่ได้ทำการสังหารพี่น้อง และมารดาของตน ซึ่งวัดฮอนโนจิก็ถูกเผาไปพร้อมๆกับโนบุนากะ ภายหลังจากที่ มิตสึฮิเดะ อาเคจิ ตั้งต้นเป็นใหญ่ได้เพียง 13 วัน เขาก็ถูกสังหารโดย “ฮิเดโยชิ ฮาชิบะ” (หรือ โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ) ใน “สมรภูมิยามาซากิ” วันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1582 และ ฮิเดโยชิ ฮาชิบะ ผู้นี้เองที่ได้รวบรวมญี่ปุ่นเป็นหนึ่งได้
ฮิเดโยชิ โทโยโทมิ
ฮิเดโยชิ ฮาชิบะ ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของพระจักรพรรดิ หรือ “คัมปาคุ” และได้เปลี่ยนชื่อเป็น ” ฮิเดโยชิ โทโยโทมิ” ได้ทำการพัฒนาประเทศขึ้นมาอีกครั้ง โดยมีสร้างปราสาทโอซาก้า เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นช่วงเวลาที่ความพร้อมสำหรับบุกประเทศเกาหลีซึ่งตรงกับช่วงราชวงศ์โชซอนได้เริ่มขึ้นทั้ง 2 ครั้ง
ภายหลัง ฮิเดโยชิ โทโยโทมิ ตายได้เกินสงครามกลางเมืองขึ้นอีกครั้ง การรบที่ทุ่งเซกิงาฮาระ สงครามครั้งใหญ่ที่นองเลือดขั้นสุดของประเทศญี่ปุ่นเริ่มขึ้น โดยการรบครั้งนี้มีการแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ได้แก่ฝ่ายตะวันออก นำโดยพันธมิตรของโตกุกาว่า อิเอยาสึ เข้าสู้รบกับฝ่ายพันธมิตรผู้ภักดีต่อฮิเดโยชิ โทโยโทมิ นำโดย “อิชิดะ มิตสึนาริ” และพ่ายแพ้ในศึกนั้น ทำให้ มิตสึนาริ ถูกอิเอยาสึประหารชีวิต โตกุกาว่า อิเอยาสึ สถาปนาตนเป็นโชกุนและปกครองญี่ปุ่น ถือเป็นจุดสิ้นสุดของยุคเซ็นโกคุ
ละครคาบูกิ จะไม่ได้เน้นความสมจริง แต่เป็นการแสดงที่เน้นสีสันฉุดฉาด การแสดงที่อลังการ และหน้าตาที่ดุดัน
ยุคเอโดะ การปิดประเทศและวัฒนธรรมเก็นโรกุ
ยุคนี้เป็นยุคที่วัฒนธรรมของราษฎรสามัญเจริญจนถึงที่สุด ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 17 จนถึงต้นศตวรรษที่ 18 เป็นยุคของวัฒนธรรมเก็นโรกุ ซึ่งเป็นของนักรบผสมกับราษฎรสามัญ มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองใหญ่ ๆ อย่างเกียวโตหรือโอซากะ เอกลักษณ์คือละครหุ่น ละครคาบูกิ และหัตถกรรมต่าง ๆ มีศิลปินกำเนิดจากราษฎรสามัญมากมาย เช่น นักเขียนอย่างอิฮาระ ไซกากุ นักกลอนไฮกุอย่างมัตสึโอะ บาโช นักแต่งบทละครหุ่น ละครคาบูกิอย่างชิกามัตสึ มนซาเอมง
แม้ว่าจะบอกว่าเป็นการปิดประเทศแต่ก็ไม่ใช่การปิดประตูไม่รับใครเลยซักที่เดียวยังคงมีการค้าขายกับ ชาวจีน เกาหลี และชาวฮอลันดา ซึ่งโชกุนอิเอยาซุก็ได้ให้การต้อนรับอย่างดี ด้วยเหตุที่ชาวฮอลันดาและชาวอังกฤษเข้ามาทำการค้าขายเพียงอย่างเดียวไม่เผยแผ่ศาสนา ซึ่งต่างจาก ฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมัน
1
วิลเลียม อดัมส์ (William Adams) ซามูไรคนแรกที่เป็นชาวต่างชาติ
ในค.ศ. 1604 โชกุนอิเอยาซุมีคำสั่งให้วิลเลียม อดัมส์ (William Adams) ต่อเรือแบบตะวันตกให้แก่ญี่ปุ่นครั้งแรก และอนุญาตให้ชนชั้นพ่อค้าล่องเรือออกไปค้าขายยังอาณาจักรต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ เรียกว่าเรือตราแดงหรือชูอินเซ็ง ทำให้พ่อค้าชาวญี่ปุ่นเป็นคู่แข่งรายสำคัญของชาวฮอลันดาในภูมิภาค และใน ค.ศ. 1609 โอโงโชอิเอยาซุได้ออกประกาศอนุญาตให้บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์เข้ามาตั้งสถานีการค้าที่เมืองฮิราโดะ ใกล้กับเมืองนางาซากิ
นโยบายการปิดประเทศนี้ดำเนินมาเรื่อยๆจนถึง ปี ค.ศ. 1853 สหรัฐอเมริกา ภายใต้ ประธานาธิบดี มิลลาร์ด ฟิลล์มอร์ (Millard Fillmore) ได้พยายามที่จะเชื่อมสัมพันธไมตรีต่อประเทศญี่ปุ่น 3 ครั้งด้วยกันแต่ไม่เป็นผล ทำให้พลเรือจัตวาแมทธิว ซี. เพร์รี (Matthew C. Perry) นำเรือรบของสหรัฐอเมริกาจำนวนสี่ลำ
พลเรือจัตวาแมทธิว ซี. เพร์รี (Matthew C. Perry)
ที่ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า "เรือดำ" เข้ามาจอดปิดอ่าวอูรางะใกล้กับนครเอโดะหลังจากที่เจรจาให้เปิดเส้นทางการค้าไม่สำเร็จ มิฉะนั้นจะนำเรือติดอาวุธปืนใหญ่เข้าโจมตีเมืองเอโดะ รัฐบาลโชกุนจำต้องเปิดประเทศและเมืองท่าชิโมดะ (Shimoda) และฮาโกดาเตะ (Hakodate)
สหรัฐอเมริกาไม่เพียงแค่ต้องการเส้นทางค้าขายเท่านั้น แต่มีการประกาศสิทธิสภาพนอกอานาเขตด้วย เพื่อปกป้องคนของตัวเองจากกฏหมายของประเทศนั้นด้วย เมื่อมีคนของสหรัฐอเมริกาทำผิดไม่ต้องขึ้นศาลที่ญี่ปุ่น ทำให้ชาติตะวันตกได้ทยอยเข้ามาทำแบบเดียวกับสหรัฐอเมริกา
ชาลส์ เลนน็อกซ์ ริชาร์ดสัน และ ชิมาซุ ฮิซามิตสึ
จนกระทั้งเกิดกรณีของ ชาลส์ เลนน็อกซ์ ริชาร์ดสัน (Charles Lennox Richardson) ถูกสังหารที่แคว้นซัตสึมะ โดยไดเมียวชิมาซุ ฮิซามิตสึ จนกลายเป็นเหตุบานปลายทำให้รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะที่อ่อนแออยู่แล้วต้องชดใช้ค่าเสียหาย
ในปีค.ศ. 1867 โชกุนโทกูงาวะ โยชิโนบุ ประกาศสละตำแหน่งโชกุนและถวายอำนาจคืนแด่พระจักรพรรดิเมจิ เป็นการสิ้นสุดการปกครองของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะที่มีมาเป็นเวลาสองร้อยห้าสิบกว่าปี

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา