Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
•
ติดตาม
3 ก.ย. 2023 เวลา 01:00 • สิ่งแวดล้อม
"กากหมากตาฤาษี" สมุนไพรแก้หอบหืด พืชที่บ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า
กากหมากตาฤาษี ชื่อวิทยาศาสตร์ Balanophora fungosa J.R.Forst. & G.Forst. จัดอยู่ในวงศ์ขนุนดิน (BALANOPHORACEAE)
สมุนไพรกากหมากตาฤาษี มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เห็ดหิน (เลย), ว่านดอกดิน (สระบุรี), กากหมากตาฤาษี (ตราด), บัวผุด (ชุมพร), ดอกกฤษณารากไม้ (ประจวบคีรีขันธ์), กกหมากพาสี (ภาคเหนือ), ขนุนดิน (ภาคกลาง) เป็นต้น
ต้นกากหมากตาฤาษี จัดเป็นพืชเบียน เกาะอาศัยแย่งอาหารจากรากพืชชนิดอื่น มีความสูงได้ประมาณ 10-25 เซนติเมตร ลำต้นอยู่รวมกันเป็นก้อนขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน โดยลำต้นจะมีอยู่หลายสี เช่น สีน้ำตาล สีแดง สีแดงปนน้ำตาล สีเหลือง หรือสีเหลืองปนส้ม มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และทวีปออสเตรเลีย
ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยพบขึ้นในป่าดิบชื้นทั่วไป บนเขาสูง ที่ความสูง 500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล โดยมักเกาะเบียนพืชในวงศ์ LEGUMINOSAE และพืชในวงศ์ VITACEAE หรือ VITIDACEAE
สรรพคุณของกากหมากตาฤาษี ส่วนต้นกากหมากตาฤาษี มีรสฝาด แพทย์ตามชนบทจะเอาผลตากแห้ง นำมาฝนกับน้ำฝนบนฝาละมีหม้อดิน ใช้เป็นยาแก้หูเป็นน้ำหนวก แก้แผลเน่าเรื้อรังเป็นอย่างดี
ชาวบ้านในแถบตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จะนำหัวของกากหมากตาฤาษี ไปผสมกับสมุนไพรอื่น ๆ ทำเป็นยาแก้หอบหืดมานมนาน ซึ่งว่านับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าทึ่ง เพราะมีรายงานทางด้านการแพทย์ว่า ลำต้นที่มีลักษณะเป็นหัวที่ฝังอยู่ใต้ดินนำมาสกัดได้สารโคนิเฟอริน (coniferin) สามารถใช้ทำยาแก้โรคหอบหืดได้
ที่มา : อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จ.พังงา สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช)
#กากหมากฤาษี #สมุนไพร #อุทยานแห่งชาติเขาหลักลำรู่ #พังงา #กรมอุทยานแห่งชาติ
ท่องเที่ยว
สิ่งแวดล้อม
สื่อทางเลือก
2 บันทึก
5
2
2
5
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย