5 ก.ย. 2023 เวลา 21:32 • ท่องเที่ยว

แหล่งอารยธรรม บ้านโนนวัด,นครราชสีมา อายุ 6,000 ปี

แหล่งโบราณคดี "บ้านโนนวัด" เคยเป็นที่ตั้งชุมชนเกษตรกรรมโบราณ อายุราว 6,000 ปี ก่อนประวัติศาสตร์ หรือกว่า 200 ชั่วอายุคน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ยุคสัมฤทธิ์ ยุคเหล็ก จนถึงยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น ซึ่งมีประวัติศาสตร์มายาวนาน
มากกว่า ศรีเทพ นครวัด และแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
ตัวแหล่งขุดค้นตั้งอยู่ในเขตตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
สิ่งที่ขุดค้นได้จากแหล่งประวัติศาสตร์บ้านโนนวัดมีมากมาย เช่น หลุมศพ กระดูกมนุษย์ เครื่องประดับ ไหโบราณ และมีศพมนุษย์โบราณในหม้อดิน
ปัจจุบันมีการขุดค้นโครงกระดูกมนุษย์โบราณในพื้นที่เดียวกัน 635 โครง โบราณวัตถุจำนวนมากกว่า 20,000 ชิ้นภายในพื้นที่ยังได้มีการพบเครื่องปั้นดินเผาที่ยังมีความสมบรูณ์จำนวน 4,000 ชิ้น
แวดินเผา หรือ เครื่องมือทอผ้า มากกว่า 1,000 ชิ้น ฯลฯ
1
ข้อมูลเพิ่มเติม 2565
จุดเริ่มต้นของการขุดแหล่งโบราณคดี 'บ้านโนนวัด'
" โครงการศึกษาวิจัย “The Development of An Iron Age Chiefdom : Phase Twor” เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ได้รับอนุญาตจากภารกิจการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ให้เข้ามาศึกษาค้นคว้าทางโบราณคดีในประเทศ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร และมหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งดำเนินการระหว่าง พ.ศ. 2538 ถึง 2542 ในบริเวณบ้านโนนวัด ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
เพื่อศึกษาเรื่องราวของคนในประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะพัฒนาเข้าสู่อารยธรรมอย่างแท้จริงในช่วงคริสตกาล สาเหตุที่เลือกศึกษาในบริเวณนี้ เนื่องจากปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า มีอารยธรรมขอมโบราณที่เก่าแก่ คือ ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมวัน และปราสาทหินพนมรุ้ง อันเป็นถิ่นกำเนิดของกษัตริย์ที่สำคัญของราชวงศ์หนึ่งของขอมโบราณ คือ มหิธรปุระ..."
หลังจากโครงการศึกษาวิจัย : The Development of An Iron Age Chiefdom : Phase Two สิ้นสุดโครงการลง และได้ข้อมูลในปริมาณมาก ดร.ไนเจล ชาง นักโบราณคดี จากมหาวิทยาลัยเจมส์คุกประเทศออสเตรเลีย จึงสนใจเข้ามาศึกษาวิจัยการเปลี่ยนแปลงของสังคมลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน Environment Change and Society before Angkor : Ban Non Wat and the upper Mun River Catchment in Prehistory
เพื่อเป็นการค้นคว้าเพิ่มเติมในส่วนของวิถีชีวิตในรอบ 5,000 ปี การแก้ปัญหาสภาวะแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาการขาดแคลนน้ำ และปัญหาน้ำท่วม โดยเริ่มจากการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของสังคมชาวนาสมัยแรกสุดในบริเวณนี้ ต่อด้วยการเข้ามาของเทคโนโลยีการใช้โลหะเป็นครั้งแรกๆ จากภายนอก คือ การใช้ทองแดง สำริด และเหล็ก จากนั้นจึงมีการเกิดขึ้นของสังคมแบบรัฐ มีผู้นำของสังคม ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับอารยธรรมทวารวดีในภาคกลางของประเทศไทยและอายธรรมแห่งเมืองพระนครในประเทศกัมพูชาในระยะเวลาต่อมา
การขุดค้นทางโบราณคดี ณ บ้านโนนวัด ต.พลสงคราม อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา
โครงการช่วงที่ 1. The Development of An Iron Age Chiefdom : Phase Two โดย ศาสตราจารย์ชาร์ล ไฮแอม จากมหาวิทยาลัยโอทาโก นิวซีแลนด์
เมือง พระนครหรือเมืองหลวงของอาณาจักรเขมรเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรือง ยิ่งใหญ่ทางวัฒธรรมทางแถบศูนย์สูตร มีความน่าสนใจเทียบเท่ากับอาณาจักรของชนเผ่ามายาในประเทศกัวเตมาลาและ เม็กซิโก แต่ยังไม่มีนักวิชาการใดได้ศึกษาอย่างจริงจัง การศึกษาความเจริญรุ่งเรืองในอดีตของอาณาจักรใดต้องศึกษาจากจารึกและโบราณ วัตถุหรือโบราณสถานของอาณาจักรนั้น
นครวัดเป็นหลักฐานที่ดียิ่งในการแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของ อาณาจักรเขมรได้เป็นอย่างดี ในอดีตการศึกษาร่องรอย อารยธรรมของเขมรไม่สามารถดำเนินการได้ในประเทศกัมพูชาด้วยปัญหาทางการเมือง นักวิจัยจึงได้เข้ามาศึกษาแหล่งโบราณคดีเนินอุโลก และบ้านโนนวัด จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีในยุคเดียวกันซึ่งได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมขอม โดยได้รับอนุญาตจากกรมศิลปากรให้เข้ามาขุดค้นแหล่งโบราณคดีดังกล่าว....
กรุณากดอ่านรายละเอียด
ทีมนักโบราณคดีจากหลายสถาบันวิจัยในสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส นำโดย Joris Peters และคณะ ตีพิมพ์รายงานการศึกษาเมื่อเดือนมิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา เผยการค้นพบหลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่บ่งชี้ว่า ไก่ป่าถูกนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงและพัฒนาสายพันธุ์จนกลายมาเป็นไก่บ้านครั้งแรก ในช่วงรอยต่อระหว่างปลายยุคหินใหม่กับยุคสำริด เมื่อ 1,650 - 1,250 ปีก่อนคริสตกาล ในบริเวณแหล่งอารยธรรมยุคหินใหม่ที่ตั้งอยู่ในแอ่งโคราชของประเทศไทย
หลักฐานดังกล่าวคือกระดูกไก่บ้านอายุเก่าแก่ 3,670 ปี ที่พบในหลุมฝังศพของแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา
โดยหลักฐานนี้สอดคล้องกับข้อมูลที่ทราบกันอยู่เดิมแล้วว่า ไก่ป่าสีแดง (Red junglefowl) ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นบรรพบุรุษของไก่บ้านหลากสายพันธุ์ที่ผู้คนทั่วโลกเลี้ยงกันอยู่ทุกวันนี้ รายงานวิจัยว่าด้วยต้นกำเนิดของไก่บ้าน ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PNAS ได้จากการตรวจสอบอายุของซากกระดูกไก่ที่พบตามแหล่งโบราณคดีทั่วโลก 600 แห่ง ใน 89 ประเทศเสียใหม่
ทำให้ทราบว่าไก่ป่าเพิ่งถูกนำมาเลี้ยงเมื่อราว 3,600 ปีที่แล้ว ไม่ใช่เมื่อ 6,000 ปีก่อนตามที่เคยเข้าใจกัน และจากการตรวจสอบหลักฐานใหม่ ทำให้ทราบว่าหลักฐานแสดงระยะเวลาการเลี้ยงไก่ของภูมิภาคต่างๆ เช่น เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก หรือหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือแปซิฟิค ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นหลังจากนั้นทั้งสิ้น
การศึกษาดังกล่าวสอดคล้องกับการศึกษาทางพันธุศาสตร์ที่ชี้ว่า ไก่บ้านที่เลี้ยงกันทั่วโลกนั้นมีบรรพบุรุษมาจากไก่ป่าสีแดงสายพันธุ์ Gallus (Gallus gallus)ซี่งอาศัยอยู่ในบริเวณประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และไก่ป่าสีแดงสายพันธุ์ Spadiceus (Gallus gallus spadiceus) ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในตอนเหนือของไทย พม่า และจีนตะวันตกเฉียงใต้ โดยสายพันธุ์ไก่เหล่านั้นยังมีการผสมข้ามชนิดพันธุ์กับไก่อีก 3 ชนิดซึ่งมีลักษณะสัณฐานวิทยาแตกต่างกันได้แก่ ไก่ป่าสีเทา (Gallus sonneratii) พบใน อินเดียตะวันตกและใต้ ไก่ป่าศรีลังกา (Gallus lafayettii) พบเฉพาะในศรีลังกา และไก่ป่าสีเขียว (Gallus varius) พบบริเวณเกาะชวาและบาหลี
ไก่จากอารยธรรมหินใหม่ในบริเวณประเทศไทย/เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นั้นค่อยๆแพร่ไปสู่เอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ในช่วงใกล้เคียงกัน จากนั้นจึงแพร่กระจายไปสู่เอเชียกลาง เช่น อิหร่าน ตุรกี ซีเรีย จอร์แดน และอียิปต์ ก่อนเข้าไปสู่ยุโรปและแอฟริกาตะวันออก
การศึกษาพบว่า ไก่เดินทางไปถึงยุโรปรอบลุ่มน้ำเมดิเตอร์เรเนียน (สเปน ฝรั่งเศสตอนใต้ และกรีซ) 2 ระยะ คือระยะแรกเมื่อราว 600-700 ปีก่อนคริสตกาล และครั้งหลังเมื่อประมาณ 100 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนการแพร่กระจายของไก่ไปยังทวีปอเมริกานั้น ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่าถูกนำไปสู่ทวีปนั้นก่อนยุคโคลัมบัสหรือหลังจากนั้น
ไก่ในฐานะสัตว์เลี้ยงทั้งเพื่อกีฬา นันทนาการ และอาหาร ได้ปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมในแต่ละภูมิภาค และได้กลายเป็นอาหารสำคัญของมนุษย์ทั่วโลกเมื่อเริ่มการคัดเลือกพันธุ์เป็นสายพันธุ์ไก่เนื้อและไก่ไข่เมื่อราวๆ คริสตวรรษที่ 19
และเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญอีกครั้งเมื่อมีการริเริ่มการเลี้ยงไก่ในโรงเรือนแบบหนาแน่นที่มีจำนวนไก่กว่า 10,000 ตัวในสหรัฐเมื่อปี 1926 และตามมาด้วยการปรับปรุงสายพันธุ์ทั้งไก่เนื้อและไก่ไข่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการบริโภคที่มากขึ้นตามการเติบโตของประชากรโลกหลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม
ปัจจุบันไก่ที่เลี้ยงเพื่อเป็นการค้าในประเทศไทยส่วนใหญ่นำเข้าสายพันธุ์จากบริษัทในยุโรปและสหรัฐอเมริกา
#ต้นกำเนิดไก่ #แอ่งโคราช #การเลี้ยงไก่ #พันธุ์ไก่ #ไก่พื้นบ้าน #นครราชสีมา
++++
หมายเหตุ : โพสต์นี้ของนิเวศเกษตร เป็นโพสต์ที่ปรับปรุงจากโพสต์เดิมเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีการตีพิมพ์งานวิจัยของ Joris Peters และคณะ
แหล่งข้อมูล :
1. Joris Peters et al. (2022) The biocultural origins and dispersal of domestic chickensJoris
2.R. A. Lawal, O. Hanotte (2021) Domestic chicken diversity: Origin, distribution, and adaptation.
3. Carys E. Bennett et al,(2018) The broiler chicken as a signal of a human reconfigured biosphere.
โฆษณา