13 ก.ย. 2023 เวลา 13:37 • สุขภาพ

#แพ้ยาหรืออาการข้างเคียงจากยา rev.1

เวลาที่เรามีอาการผิดปกติหลังจากรับประทานยาแล้ว เราก็มักสงสัยว่าเป็นการแพ้ยาหรือไม่ เป็นสิ่งที่ผู้คนไม่แน่ใจหรือตีความผิดบ่อยๆ
วันนี้ขอเล่าแบบง่ายๆ เกี่ยวกับประเภทอาการไม่พึงประสงค์จากยา (Adverse drug reaction) มี 2 แบบ
Type A -#อาการข้างเคียงจากยา ( side effect) ปฎิกิริยาระหว่างยา
 
-เกิดจาก การออกฤทธิ์ของยา เมื่อเข้าไปในร่างกายของเรา ทำให้ #คาดเดาอาการได้
-ความรุนแรงของอาการ #ขึ้นกับขนาดยา กินมาก-เป็นมาก กินน้อย-เป็นน้อย
-ส่วนใหญ่พบตั้งแต่ในช่วงทดลองยาแล้ว แต่มีบ้างที่มาพบรายงานในภายหลัง
#ไม่จำเพาะเจาะจง สามารถเกิดได้กันทุกคน
ตัวอย่างเช่น กินยาแก้แพ้แล้วง่วง กินยาแก้ปวดกล้ามเนื้อ แล้วอาจจะแสบท้อง ปวดท้อง กินยา ขยายหลอดลม แล้วมีอาการใจสั่น
เพราะฉะนั้น อาการมักจะไม่รุนแรงมาก ถ้าหยุดยา ลดขนาดยาลง ก็จะดีขึ้น หรือบางครั้ง ร่างกายก็สามารถปรับให้ทนต่อยาได้มากขึ้น เช่นอาการง่วง มึนงงจากยา อาจจะดีขึ้นได้ หรือหายไปเองถ้าทาน ติดต่อกันสักระยะ
Type B #แพ้ยา (drug allergy )ต่างจากแบบแรก คือ
 
-ไม่สัมพันธ์กับฤทธิ์ของยา
-ความรุนแรงของอาการ #ไม่ขึ้นกับขนาดของยา เพราะฉะนั้นบางคนได้รับยาเพียงเล็กน้อย แต่ก็อาจถึงเสี่ยงถึงกับเสียชีวิตได้
#เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลจริงๆ เหมือนคนที่แพ้อาหารบางชนิด #ไม่สามารถคาดเดาอาการได้
ตัวอย่างอาการแพ้ยา เช่น ผื่นลมพิษ ผื่นคันหน้าบวม ตาบวม แพ้รุนแรง จนถึงขั้นเสียชีวิต เป็นต้น
#ถ้าสงสัยว่าแพ้ยา
1.ให้หยุดยาที่สงสัยไว้ก่อน และควรไปพบแพทย์ทันที หรือ อาจไปปรึกษาเภสัชกรใกล้บ้านให้เร็วที่สุด อย่าลืม!นำยาที่สงสัยไปด้วย
2.ถ้าไม่ทราบชื่อยา เพราะ เป็นลักษณะเม็ด ไม่ได้อยู่ในแผงยา ให้ทำดังนี้
-ถ้าซื้อจากที่ร้านขายยา ให้ไปสอบถามที่ร้านขายยา
- ถ้ารับยาจากโรงพยาบาล ให้กลับไปที่โรงพยาบาลนั้น
เพื่อที่จะทราบชื่อยา
.
3.ถ้ายังไม่สามารถไปได้ ให้ถ่ายรูป ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น บันทึกเหตุการณ์หรือช่วงเวลาที่เกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด
.
4.ถ้าคุณเป็นผู้ป่วยที่รับยาประจำกับโรงพยาบาลอยู่แล้ว ให้กลับไปที่โรงพยาบาลนั้น เนื่องจาก ทางโรงพยาบาลจะมี ประวัติการใช้ยาอยู่ จะทำให้ เภสัชกรประเมินอาการแพ้ยาได้ง่ายขึ้น
#ผู้ที่มีประวัติแพ้ยา ควรทำอย่างไรบ้าง
- ควรจดจำชื่อยาเสมอ
- ถ้าจำไม่ได้ให้พกบัตรแพ้ยา หรือถ่ายรูปเก็บเอาไว้เป็นตัวอย่าง
*บัตรแพ้ยา มีประโยชน์ในกรณีที่เราไม่สามารถสื่อสารได้
.
- อย่าลืมแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนรับยา
#ความสำคัญของการทราบชื่อยาที่แพ้ คือ
1.ช่วยป้องกันอุบัติการแพ้ยาซ้ำ
-ถ้าเราเคยแพ้ยาตัวไหนร่างกายจะสร้างเซลล์จดจำ (memory cell)ไว้ เมื่อร่างกายรับยาเดิมที่เคยแพ้ซ้ำ จะทำให้เกิดอาการได้รวดเร็วและหรืออาจจะรุนแรงกว่าเดิมได้
***มีคนเข้าใจผิด และเจอบ่อยมากที่บอกว่า เคยแพ้ยา แต่หายแล้ว
.
2. ทำให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกัน เพราะยาบางกลุ่มมีโอกาสแพ้ข้ามกัน เช่น กลุ่มเพนนิซิลิน ซึ่งมีหลายชนิดมาก อาจมีการแพ้ข้ามกันได้
เพราะฉะนั้นโปรดอย่าหงุดหงิดเลย เวลาที่แพทย์หรือเภสัชกรถามประวัติแพ้ยา ให้ความร่วมมือสักนิด เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองนะ😀😊
.
.
เครดิตภาพจาก Freepik
โฆษณา